Page 17 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 17
การออกแบบการวิจัย 3-7
แมคมินแลน และชูเมคเกอร์ (McMillan & Shumaker, 1997, p. 33) กล่าวว่า การออกแบบ
การวิจัย (research design) หมายถึง แผนและโครงสร้างของการศึกษาวิจัยท่ีก�ำหนดขึ้นเพื่อให้มีหลักฐาน
มาตอบค�ำถามวิจัยได้ การออกแบบการวิจัยมุ่งอธิบายกระบวนการศึกษาวิจัย กลุ่มตัวอย่าง และวิธีการ
รวบรวมข้อมูล (จากใคร ภายใต้สถานการณ์อะไร)
กลา่ วโดยสรปุ การออกแบบการวจิ ยั หมายถึง การกำ� หนดโครงสร้างตา่ ง ๆ ของการวจิ ัย (structure
of research) หรือองค์ประกอบของการวิจัย คือ ค�ำถามวิจัย สมมติฐานการวิจัย ตัวแปรที่จะศึกษา
กลุ่มตัวอย่าง การวัด/เคร่ืองมือการเก็บข้อมูล และแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลให้สอดคล้องกันและเพียงพอ
เพื่อให้นักวิจัยได้ข้อมูลหรือผลการศึกษามาตอบค�ำถามวิจัยได้อย่างชัดเจนและมีประสิทธิภาพ
โดยทั่วไปองค์ประกอบหรือโครงสร้างท่ีควรระบุในการออกแบบการวิจัย ได้แก่ ค�ำถามวิจัย
วัตถุประสงค์ของการท�ำวิจัย กรอบแนวคิดของการวิจัย และผลการวิจัยท่ีคาดว่าจะได้รับจากการท�ำวิจัย การ
ออกแบบการวิจัยมีความสัมพันธ์อย่างมากกับค�ำถามวิจัย เพราะค�ำถามวิจัยจะเป็นสิ่งที่ท�ำให้นักวิจัยคิดและ
เลือกแนวทางการท�ำวิจัย โดยมีหลักการว่านักวิจัยต้องออกแบบการวิจัย และกระบวนการวิจัยให้สามารถ
ตอบคำ� ถามวจิ ยั ไดอ้ ยา่ งเหมาะสม การตง้ั คำ� ถามวจิ ยั ตา่ งกนั อาจจะออกแบบการวจิ ยั ตา่ งกนั ถงึ แมว้ า่ จะศกึ ษา
ในประเด็นเดียวกัน ดังนั้นจะเห็นว่าในบางคร้ังการอธิบายเร่ืองการออกแบบการวิจัยมักจะเร่ิมต้นที่การต้ัง
ค�ำถามวิจัยก่อน จากน้ันจึงเสนอวิธีการออกแบบการวิจัยท่ีสอดคล้องกับค�ำถามวิจัยต่อไป
ในการออกแบบการวิจัย ส่ิงท่ีนักวิจัยควรยึดถือ คือ หลักของการใช้เหตุผลในการคิดและการ
ท�ำวิจัยในแต่ละข้ันตอนของกระบวนการวิจัย เพราะองค์ประกอบหรือแผนการวิจัยท่ีนักวิจัยก�ำหนดข้ึนจาก
การออกแบบการวิจัยต้องมีความสัมพันธ์กันตามหลักตรรกะ หรือมีความสัมพันธ์กันตามหลักของเหตุผล
หากนักวิจัยก�ำหนดองค์ประกอบที่ไม่เกี่ยวข้องกันมาเป็นแนวทางการท�ำวิจัย จะท�ำให้ไม่สามารถได้ข้อมูลมา
ตอบค�ำถามวิจัยได้ถูกต้อง ผลการวิจัยที่มาจากสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกัน ก็ย่อมท�ำให้ไม่สามารถน�ำไปเชื่อมโยงกัน
ได้อย่างมีเหตุผลด้วยเช่นกัน เช่น หากนักวิจัยต้องการศึกษาผลของนวัตกรรมที่ช่วยส่งเสริมการอ่านออก
เขียนได้ของนักเรียน และตั้งค�ำถามวิจัยว่า นวัตกรรมท่ีพัฒนาข้ึนสามารถแก้ไขปัญหาการอ่านของนักเรียน
ได้หรือไม่ ในการนี้ นักวิจัยควรมีกลุ่มตัวอย่างท้ังที่เป็นกลุ่มทดลองท่ีได้รับนวัตกรรม กับกลุ่มควบคุมซ่ึง
เปน็ กลมุ่ ทไ่ี มไ่ ดร้ บั นวตั กรรม จงึ จะทำ� ใหท้ ราบไดว้ า่ นวตั กรรมทใี่ ชม้ ปี ระโยชนม์ ากนอ้ ยแคไ่ หน การทอ่ี อกแบบ
การวิจัยโดยไม่มีกลุ่มควบคุมจะให้นักวิจัยสรุปผลการวิจัยไม่ชัดเจนว่านวัตกรรมที่สร้างขึ้นมีคุณภาพแค่ไหน
การออกแบบการวิจัยที่ดีจะท�ำให้ได้ผลการวิจัยท่ีมีคุณค่า ถูกต้อง ช่วยให้นักวิจัยพัฒนาองค์-
ความรู้ที่ได้จากการท�ำวิจัยได้มากขึ้น ซึ่งจะเกิดประโยชน์ต่อท้ังแวดวงวิชาการและสังคมต่อไป
2. วัตถปุ ระสงค์ของการออกแบบการวจิ ยั
วัตถุประสงค์หลักของการออกแบบการวิจัย คือ เพื่อให้นักวิจัยสามารถตอบค�ำถามวิจัยที่ก�ำหนด
ข้ึนได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม เคอลิงเจอร์ และลี (2000, p. 450) อธิบายเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของ
การออกแบบการวิจัยไว้อย่างละเอียด โดยกล่าวว่า การออกแบบการวิจัยมีวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมาย
พ้ืนฐานส�ำคัญ 2 ประการ คือ