Page 22 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 22
3-12 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
2. การจับคู่โดยใช้การแจกแจงความถ่ี (the frequency distribution matching method) วิธีการน้ี
ตอ้ งการกลมุ่ ทม่ี กี ารแจกแจงของตวั แปรเหมอื นกนั เชน่ กลมุ่ สองกลมุ่ ทม่ี กี ารแจกแจงของคะแนน IQ เหมอื น
กัน ในการนี้จะต้องเลือกกลุ่มตัวอย่างที่ท�ำให้แต่ละกลุ่มมีค่าเฉล่ีย ส่วนเบ่ียงเบนมาตรฐาน ความโด่ง และ
ความเบ้ ใกล้เคียงกัน กลุ่มตัวอย่างที่ไม่ท�ำให้การกระจายของตัวแปรเหมือนกันจะไม่น�ำมาวิเคราะห์ข้อมูล
ส�ำหรับวิธีการน้ี ส่วนใหญ่จะพิจารณาการแจกแจงของตัวแปรเดียว หากมีตัวแปรมากขึ้นจะท�ำได้ยากข้ึน
3. การจับคู่โดยท�ำใหต้ ัวแปรคงท่ี (matching by holding variable constant) ในการเปรียบเทียบ
วิธีสอน หากนักวิจัยพบว่ามีตัวแปรแทรกซ้อน เช่น ประสบการณ์การสอนของครู ที่อาจส่งผลต่อตัวแปรตาม
คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรยี น ถา้ ไม่ควบคมุ ตวั แปรประสบการณก์ ารสอนของครู จะท�ำให้ผลการวิจยั ไม่ชัดเจน
ในประเด็นว่าคะแนนของนักเรียนท่ีแตกต่างกันเป็นผลมาจากวิธีสอน หรือประสบการณ์การสอนของครู
ดังนั้นถ้านักวิจัยทราบแต่แรกแล้วว่าตัวแปรนี้เป็นตัวแปรแทรกซ้อน นักวิจัยอาจควบคุมโดยเลือกเฉพาะครู
ท่ีมีประสบการณ์การสอนเท่ากัน เช่น 5 ปี มาศึกษา วิธีการแบบนี้เรียกว่า การจับคู่โดยท�ำให้ตัวแปรคงที่
ในกรณีเช่นนี้ ตัวแปรประสบการณ์การสอนของครูจะส่งผลต่อกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมเท่ากัน ซึ่งเรา
ถือว่าเป็นค่าคงท่ี
4. การจับคู่โดยการน�ำตัวแปรแทรกซ้อนมาศึกษาด้วย (matching by incorporating nuisance
variables into research design) วธิ กี ารทำ� ใหก้ ลมุ่ เทา่ เทยี มกนั อกี วธิ กี ารหนง่ึ คอื การนำ� เอาตวั แปรแทรกซอ้ น
น้ันมาเป็นตัวแปรอิสระด้วย นอกเหนือจากตัวแปรอิสระท่ีนักวิจัยต้องการศึกษา เช่น ในการวิจัยเปรียบเทียบ
วิธีการสอนสองแบบ ถ้าพบว่าตัวแปร IQ มีผลต่อคะแนนหลังเรียน (posttest) แต่ผู้วิจัยไม่สามารถท�ำให้
กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมเท่าเทียมกันด้วยวิธีการอ่ืน ดังนั้นผู้วิจัยอาจท�ำการวัด IQ ของนักเรียนท้ังสอง
กลุ่มแล้วน�ำคะแนน IQ มาเป็นตัวแปรอิสระในการวิเคราะห์ข้อมูล เทคนิคทางสถิติท่ีช่วยในการวิเคราะห์
ขอ้ มูลเชน่ น้ี ไดแ้ ก่ การวิเคราะหค์ วามแปรปรวนรว่ ม (ANCOVA) และการวิเคราะหก์ ารถดถอย (regression
analysis) เป็นต้น โดยใช้ตัวแปร IQ เป็นตัวแปรร่วม (covariate) วิธีการสอนเป็นตัวแปรอิสระ และคะแนน
หลังเรียนเป็นตัวแปรตาม
5. การควบคมุ โดยใชห้ นว่ ยตวั อยา่ งคนเดมิ (participant as own control) ในบางกรณีท่ีไม่สามารถ
จับคู่กลุ่มตัวอย่างที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกันได้ นักวิจัยอาจท�ำการวิจัยโดยใช้กลุ่มตัวอย่างคนเดียว และให้
กลุ่มตวั อย่างคนเดิมนี้ไดร้ บั เงอ่ื นไขของการวจิ ัยทุกเงือ่ นไขท่ีนกั วิจัยออกแบบ ดงั นน้ั ตวั แปรแทรกซ้อนจึงเกิด
ข้ึนน้อยมาก เพราะเป็นการใช้กลุ่มตัวอย่างคนเดียวกันในทุกเง่ือนไข การวิจัยแบบนี้มีใช้จ�ำนวนมาก เช่น การ
วิจัยทางจิตวิทยาท่ีศึกษาปฏิสัมพันธ์ของคนกับเครื่องจักร แต่การควบคุมแบบนี้ใช้ไม่ได้กับงานวิจัยอย่างอ่ืน
ท่ีกลุ่มตัวอย่างมีการพัฒนาจากการเข้ารับการทดลองหน่ึง ซึ่งอาจจะส่งผลต่อผลของการทดลองอ่ืนได้ เช่น
การวิจัยทางการศึกษาที่นักเรียนจะเกิดการเรียนรู้ ซ่ึงจะส่งผลต่อการทดลองในเงื่อนไขอื่น ดังนั้นการจะเลือก
ใช้วิธีการนี้จึงต้องพิจารณาประเด็นเช่นน้ีด้วย