Page 27 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 27

การออกแบบการวิจัย 3-17

       1.	 การออกแบบการวิจัยต้องตอบค�ำถามวิจัยได้ชัดเจน
       2.	มีการควบคุมปัจจัย หรือตัวแปรแทรกซ้อน หรือตัวแปรอิสระที่ไม่ใช่ตัวแปรท่ีน�ำมาศึกษาในการ
วิจัยด้วยวิธีการที่เหมาะสม
       3.	ความสามารถในการสรุปอ้างอิง (generalizability) หมายถึง ความสามารถในการสรุปผล
การวิจัยไปสู่กลุ่มตัวอย่างกลุ่มอ่ืน ๆ หรือบริบทอ่ืน ๆ ได้อย่างกว้างขวาง
       4.	มีความตรงภายในและความตรงภายนอก (internal and external validity) การประเมินความ
ตรงภายใน คือ การประเมินว่าตัวแปรทดลองมีผลเกิดขึ้นต่อตัวแปรตามจริงหรือไม่ ส่วนความตรงภายนอก
หมายถึง ความสามารถในการสรุปผลการวิจัยไปสู่ประชากรกลุ่มอื่น ๆ เช่น หากพบว่าวิธีการสอนโดยใช้บท
เรียนส�ำเร็จรูปดีกว่าการสอนแบบบรรยาย ประเด็นท่ีต้องพิจารณาในด้านความตรงภายนอก คือ วิธีการสอน
โดยใช้บทเรียนส�ำเร็จรูปดีกว่าการสอนแบบบรรยายในทุกโรงเรียน ท้ังโรงเรียนขนาดกลาง เล็ก ใหญ่หรือไม่
ถ้าผลการวิจัยบอกได้ ก็อาจจะบ่งชี้ว่าการวิจัยนั้นมีความตรงภายนอก
       กล่าวโดยสรุป คุณภาพของการออกแบบการวิจัย พิจารณาได้จากหลักฐานที่แสดงว่าการออกแบบ
การวิจัยสามารถตอบค�ำถามของการวิจัยได้ดีเพียงใด ซึ่งเกี่ยวข้องกับการควบคุมตัวแปรแทรกซ้อนให้คงที่
หรือไม่ให้ส่งผลต่อการวิจัย การเลือกกลุ่มตัวอย่าง เคร่ืองมือวิจัยท่ีมีคุณภาพ และวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล โดย
ตอ้ งมคี วามสอดคลอ้ งกบั ขอ้ จ�ำกัด และทรพั ยากรทใ่ี ชใ้ นการวจิ ยั การออกแบบการวจิ ยั ทดี่ จี ะสง่ ผลใหม้ คี วาม
ตรงภายในและความตรงภายนอก

              หลงั จากศกึ ษาเนอื้ หาสาระเรื่องที่ 3.1.3 แลว้ โปรดปฏิบตั ิกจิ กรรม 3.1.3
                      ในแนวการศึกษาหน่วยที่ 3 ตอนที่ 3.1 เร่ืองท่ี 3.1.3
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32