Page 26 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 26
3-16 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
เรื่องท่ี 3.1.3 การตรวจสอบคณุ ภาพของการออกแบบการวจิ ัย
หลังจากที่นักวิจัยก�ำหนดค�ำถามวิจัยได้แล้ว นักวิจัยต้องมีการคัดเลือกรูปแบบการวิจัยท่ีเหมาะสม
กับค�ำถามวิจัยและข้อจ�ำกัดของการท�ำวิจัย Hedrick, Bickman, และ Rog (1993) อธิบายหลักของการ
ตรวจสอบคุณภาพการออกแบบการวิจัย โดยอีกนัยหน่ึงถือว่าเป็นหลักในการคัดเลือกรูปแบบการวิจัยให้
เหมาะสมกับการวิจัยท่ีก�ำลังจะด�ำเนินการ โดยประกอบด้วยหลักการ 3 ด้าน คือ หลักของความน่าเชื่อถือ
(credibility) หลักของความมีประโยชน์ (usefulness) และหลักของความเป็นไปได้ (feasibility) โดยการ
ออกแบบการวิจัยที่ดี นักวิจัยควรค�ำนึงถึงประเด็น 3 ด้าน ซึ่งมีรายละเอียดต่อไปนี้
1. ความนา่ เชอื่ ถอื (credibility) หมายถึง ระดับของความเหมาะสม (validity) ของการท�ำวิจัย และ
ระดับที่การออกแบบการวิจัยนั้นเอื้อให้นักวิจัยสามารถสรุปผลการวิจัยได้อย่างเพียงพอ เหมาะสม และ
สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย
2. ความมีประโยชน์ (usefulness) หมายถึง ระดับที่การออกแบบการวิจัยน้ันช่วยให้สามารถตอบ
ค�ำถามวิจัยได้อย่างเหมาะสม
3. ความเป็นไปได้ (feasibility) หมายถึง การออกแบบการวิจัยและแผนการท�ำวิจัยมีความ
เหมาะสมกับข้อจ�ำกัดด้านเวลา และทรัพยากรในการท�ำวิจัย
สว่ นฟลคิ (Flick, 2007) กลา่ ววา่ การทจี่ ะประเมนิ วา่ การวจิ ยั ใด ๆ ไดอ้ อกแบบการวจิ ยั อยา่ งเหมาะสม
หรือไม่ ให้พิจารณาจากประเด็นดังต่อไปน้ี
1. การก�ำหนดจุดเน้นในการท�ำวิจัยอย่างชัดเจน (clear focus) ซึ่งการก�ำหนดจุดเน้นนี้รวมไปถึง
การมีค�ำถามวิจัยท่ีชัดเจน
2. การออกแบบการวจิ ยั ทด่ี จี ะชว่ ยใหผ้ วู้ จิ ยั สามารถบรหิ ารการวจิ ยั ในดา้ นทรพั ยากรส�ำหรบั การวจิ ยั
และเวลาได้อย่างเหมาะสม
3. การออกแบบการวิจัยท่ีดีต้องระบุวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง และวิธีการที่ใช้ในการวิจัยไว้อย่าง
ชัดเจน
4. การออกแบบการวิจัยที่ดีต้องมีการเช่ือมโยงให้เห็นกรอบทฤษฎี และมาจากการศึกษางานวิจัยที่
เก่ียวข้อง
5. การออกแบบการวิจัยท่ีดีต้องสะท้อนให้เห็นแนวทางการสรุปอ้างอิงผลการวิจัย และระบุผู้ใช้
ผลการวิจัย
6. การออกแบบการวิจัยท่ีดีต้องมีความยืดหยุ่น สามารถเปล่ียนแปลงได้หากได้ข้อมูลท่ีเหมาะสม
กว่า และการออกแบบการวิจัยที่ดีต้องเหมาะสมกับเงื่อนไขที่ศึกษา
เคอร์ลิงเจอร์ และลี (Kerlinger & Lee, 2000) กล่าวถึงเกณฑ์ของการออกแบบการวิจัยท่ีดีไว้
4 ประการ ดังน้ี