Page 31 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 31
การออกแบบการวิจัย 3-21
เร่ืองที่ 3.2.2 การออกแบบการวจิ ยั เชิงพรรณนา
จากค�ำถามวิจัยเชิงพรรณนาท่ีกล่าวมาข้างต้น เมื่อน�ำมาจัดเป็นประเภท ๆ อาจจะท�ำให้สามารถ
จำ� แนกประเภทของการวจิ ยั เชงิ พรรณนาออกเปน็ 3 ประเภทตา่ ง ๆ เชน่ การวจิ ยั เชงิ ประวตั ศิ าสตร์ (historical
research) การวิจัยเชิงส�ำรวจ (survey research) และการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ (correlational study)
นักวิจัยต้องเลือกประเภทของการวิจัยให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และค�ำถามวิจัย เพื่อให้สามารถได้
ข้อสรุปผลการวิจัยที่ถูกต้อง และตรงตามค�ำถามวิจัย
1. การเลอื กประเภทของการวจิ ัยเชงิ พรรณนา
1.1 การวจิ ยั เชงิ ประวตั ศิ าสตร์ เป็นวิธีการศึกษาอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับส่ิงท่ีเกิดข้ึนในอดีต โดยใช้
ข้อมูลจากอดีตมาแปลความหมาย บรรยายสภาพและข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น และท�ำนายเหตุการณ์ในอนาคต
กระบวนการที่ศึกษามีลักษณะเด่นที่เน้นการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลในอดีตเพื่อให้มองเห็นความ
สมั พนั ธข์ องคน เหตกุ ารณ์ เวลา และสถานที่ โดยมเี ปา้ หมายเพอ่ื ใหเ้ ขา้ ใจอดตี และปจั จบุ นั การวจิ ยั ประเภทน้ี
จึงข้ึนอยู่กับการตีความอย่างละเอียดลออของนักวิจัย ไม่ใช่แค่เพียงการเรียบเรียงเหตุการณ์ท่ีเกิดขึ้นในอดีต
ตามล�ำดับเวลาเท่าน้ัน ตัวอย่างของการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ คือ การศึกษาเปรียบเทียบการเลิกทาสของไทย
และอเมริกา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคนไทยในสมัยที่ยังไม่มีโรงเรียน การเปลี่ยนชนชั้นทางสังคมของ
คนไทยหลังการเลิกทาส หรือการศึกษาประสบการณ์ในวัยเด็กท่ีมีต่อพฤติกรรมการอ่านของนักเรียนระดับ
ประถมศึกษา เป็นต้น การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์มีคุณค่าในการช่วยให้เกิดความกระจ่างของเหตุการณ์
ในอดีตและปัจจุบัน สามารถท�ำนายภาพแนวโน้มและเหตุการณ์ในอนาคตได้
1.2 การวิจัยเชิงส�ำรวจ เป็นการวิจัยท่ีมีการค้นคว้าหาข้อเท็จจริงเก่ียวกับสภาพการณ์ และความ
สัมพันธ์ของตัวแปร หรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ โดยเน้นท่ีการศึกษาสภาพการณ์ท่ีเป็นอยู่ในปัจจุบันขณะท�ำการ
ศึกษา และค�ำถามในเชิงวิจัยจะเป็นลักษณะ “อะไร?” มากกว่า “ท�ำไมจึงเป็นเช่นนั้น” การวิจัยเชิงส�ำรวจไม่มี
การจดั กระทำ� กบั ตวั แปร แตเ่ ปน็ การรวบรวมขอ้ เทจ็ จรงิ เชน่ การสำ� รวจสภาพปจั จบุ นั ของโรงเรยี น การสำ� รวจ
การใช้ประโยชน์ห้องเรียนในโรงเรียน เป็นต้น การวิจัยเชิงส�ำรวจไม่จ�ำเป็นจะต้องมีค�ำว่า “การส�ำรวจ”
น�ำหน้าเสมอไป อาจเป็นเรื่องเกี่ยวกับทัศนคติ ความรู้สึก การรับรู้ พฤติกรรมท่ีแสดงออก หรือบทบาทของ
กลุ่มคนก็ได้ ลักษณะส�ำคัญอยู่ท่ีวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่ท�ำเพื่อพิจารณาว่าตัวแปรทางจิตวิทยาหรือ
สังคมวิทยาน้ัน ๆ มีความสัมพันธ์เก่ียวข้องกันอย่างไร
1.3 การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ (correlational study) เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ของตัวแปรต้ังแต่
2 ตัวข้ึนไป โดยไม่มีการจัดกระท�ำกับตัวแปรที่ศึกษา ตัวอย่างเช่น ความสัมพันธ์ของจ�ำนวนหน่วยกิตที่
นักศึกษาครูเรยี นในระดับอุดมศึกษากบั ผลการสอนเมื่อสอนในโรงเรยี น ความสัมพนั ธท์ ี่ตรวจสอบมีทัง้ ขนาด
และทิศทาง ซึ่งถ้ามีความสัมพันธ์กันในปริมาณสูงและทางบวก (r = .80 ขึ้นไป) แสดงว่าจ�ำนวนวิชาท่ีเรียน
มีความสัมพันธ์กับผลการสอนมาก