Page 35 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 35
การออกแบบการวิจัย 3-25
ตัวแปรต้น คือตัวแปรท่ีส่งผลไปยังตัวแปรตาม สังเกตได้จากลูกศรในโมเดล ตัวแปรที่มีลูกศรชี้ออกเป็น
ตัวแปรต้น ตัวแปรลูกศรชี้เข้าเป็นตัวแปรตาม แต่ลูกศรสองหัวแสดงถึงความสัมพันธ์ของตัวแปร
การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุสามารถตรวจสอบได้ท้ังความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในโมเดล และ
ความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ซึ่งดูได้จากสถิติสอบ เช่น ไคสแควร์ (χ2) ท่ีมีค่าต่�ำ ๆ
และไม่มีนัยส�ำคัญทางสถิติ เป็นต้น
Hours online 0.004
per week
0.008
InLteenrngetht uosfe 0.119* Frequency of 0.373** Online Buying
online shopping Intention
Perceived Risks 0.250*
Innovativeness 0.227 * p < 0.05
(DSI) ** p < 0.01
ภาพที่ 3.5 ตวั อย่างการวเิ คราะห์ปจั จยั ท่ีสง่ ผลตอ่ การซอ้ื สนิ ค้าทางออนไลน์
1.3.4 การวเิ คราะหค์ วามสมั พนั ธด์ ว้ ยสถติ นิ นั พาราเมตรกิ เป็นการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของ
ตัวแปรที่ไม่อาศัยข้อตกลงเบ้ืองต้นเก่ียวกับการแจกแจงของตัวแปร และมักใช้สถิตินันพาราเมตริกความ
สัมพันธ์เมื่อตัวแปรที่น�ำมาศึกษาความสัมพันธ์เป็นตัวแปรระดับนามบัญญัติ เช่น การวิเคราะห์ความสัมพันธ์
แบบไคสแควร์ระหว่างเพศกับการเลือกเรียนครู และความสัมพันธ์แบบอันดับท่ีของสเปียร์แมน เช่น ความ
สัมพันธ์ของอันดับท่ีของโรงเรียนเรียงตามคะแนนการประเมินของสมศ. กับจ�ำนวนครูในโรงเรียน เป็นต้น
1.3.5 การวเิ คราะหพ์ หรุ ะดบั (multilevel analysis) เป็นเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ
ขั้นสูง ซ่ึงมีรากฐานมาจากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบการถดถอยพหุคูณ แต่มีหลักการท่ีแตกต่าง
จากการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ คือค่าเฉล่ียและค่าความชันในสมการการถดถอยแบบพหุคูณแบบพหุ
ระดับจะไม่เท่ากันทุกหน่วยของการวิเคราะห์ระดับมหภาค (macro level) แต่ค่าเหล่าน้ีมีความแตกต่างไป
ตามหน่วยการวิเคราะห์ระดับมหภาค เช่น ค่าเฉลี่ยและค่าความชันแตกต่างไปตามห้องเรียน หรือโรงเรียน