Page 38 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 38
3-28 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
จากนั้นจึงใช้ค่า αg และ BY ของแต่ละชั้นเป็นตัวแปรตามส�ำหรับวิเคราะห์การถดถอย
ในระดับช้ันเรียนต่อไป โดยก�ำหนดให้ทั้งสองค่าเป็นอิทธิพลก�ำหนด (fixed effects) คือ เป็นค่าคงท่ีภายใน
แต่ละห้องเรียน และไม่มีความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าระหว่างห้องเรียน
2) วิเคราะห์ระดับช้ันเรียน (macro level analysis) โดยศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง
Zg กับ αg และ BY ท่ีได้จากการวิเคราะห์ระดับนักเรียน โดยการวิเคราะห์ถดถอยมีรูปแบบดังนี้
αg = α0 + BαZg + δ0g
และ
BY = B0 + BBZg + δ1g
เมือ่ Zg แทน ว ุฒิการศึกษาของครู ต่�ำกว่าถึงระดับปริญญาตรี (0) และสูงกว่า
ระดับปริญญาตรี (1)
Zg แทน เงนิ เดือนครู ในห้องเรียนท่ี g
α0 แทน ผลสมั ฤทธ์ิทางการเรียนเฉลี่ยของนักเรียน
Bα แทน ความแตกตา่ ง ACH ของนักเรียนทีค่ รวู ุฒิการศึกษาตา่ งกนั
B0 แทน ค ่าเฉล่ียของอัตราการพัฒนาของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเมื่อครู
มีวุฒิการศึกษาต่างกนั
BB แทน ค วามแตกตา่ งของอตั ราการพฒั นาการของผลสมั ฤทธทิ์ างการเรยี น
เมอ่ื ครมู ีวุฒิการศกึ ษาต่างกัน
δ0g แทน unique effect
δ1g แทน unique effect
การวิเคราะห์พหุระดับมีความซับซ้อน นักวิจัยต้องอาศัยความรู้ด้านการวิเคราะห์การถดถอย
การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม โปรแกรมท่ีสามารถใช้วิเคราะห์พหุระดับ
ได้ เช่น SPSS, HLM, LISREL, M-plus และ ML-Win
2. การเลือกกลุม่ ตัวอย่าง
การเลือกกลุ่มตัวอย่างมีความส�ำคัญมากต่อการวิจัยเชิงพรรณนา เพราะผลการวิจัยท่ีดีมาจากกลุ่ม
ตัวอย่างท่ีเป็นตัวแทนของประชากรเป้าหมายท่ีต้องการศึกษา การที่จะได้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนน้ัน
กิจกรรมแรกที่นักวิจัยควรท�ำ คือ การก�ำหนดกรอบการสุ่ม (sampling frame) ซึ่งหมายถึง รายช่ือของ
ประชากรท่ีต้องการศึกษา กรอบการสุ่มอาจครอบคลุมประชากรเป้าหมายที่ต้องการศึกษาหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่