Page 42 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 42
3-32 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
2.2.2 การเลอื กตวั อยา่ งแบบเจาะจง (purposive sampling) เป็นการใช้วิจารณญาณของนักวิจัย
ในการเลือกผู้ที่จะให้ข้อมูลท่ีต้องการ ซึ่งนักวิจัยต้องอาศัยข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ แล้วพิจารณาว่าผู้ใดควร
เป็นตัวอย่างในการวิจัยนั้น ไม่ใช่คิดเพียงแค่ว่ากลุ่มตัวอย่างนั้นหาได้สะดวก แต่ต้องพิจารณาให้รอบคอบว่า
คนที่ถูกเลือกจะให้ข้อมูลที่ต้องการได้หรือไม่ เช่น ถ้านักวิจัยต้องการทราบว่าการจัดการเรียนการสอนด้วย
การใชอ้ เี ลริ น์ นงิ่ (e-learning) มปี ญั หาและอปุ สรรคอะไรบา้ ง และกลมุ่ ตวั อยา่ งทต่ี อ้ งการควรเปน็ ครทู จ่ี ดั การ
เรียนการสอนด้วยการใช้อีเลิร์นนิ่ง และนักวิจัยไม่มีข้อมูลว่าครูคนใดบ้างจัดการเรียนการสอนแบบน้ี แต่ถ้า
นักวิจัยได้สืบค้นและทราบข้อมูลจากครูคนหน่ึงว่ามีกลุ่มครูที่รวมตัวกันด้านการจัดเรียนการสอนด้วยสื่อ
อิเล็กทรอนิกส์อยู่กลุ่มหนึ่ง ดังนั้นนักวิจัยจะพิจารณาว่าครูกลุ่มนี้ควรเป็นผู้ให้ข้อมูลได้หรือไม่ ถ้าพิจารณา
แล้วเห็นว่าเหมาะสม ก็จะเลือกครูกลุ่มนี้มาสอบถามปัญหา การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบนี้ใช้มากในการวิจัย
เชิงคุณภาพ
2.2.3 การเลอื กกลมุ่ ตวั อยา่ งแบบโควตา้ (quota sampling) เป็นการเลือกกลมุ่ ตัวอย่างจากกลุ่ม
ต่าง ๆ ท่ีคิดว่าเป็นกลุ่มที่เป็นตัวแทนในประชากร เช่น การเลือกจากกลุ่มนักเรียนชาย และกลุ่มนักเรียนหญิง
ให้สอดคล้องกับสัดส่วนในประชากรชายและหญิง การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบนี้คล้ายกับการเลือกกลุ่ม
ตวั อยา่ งแบบแบ่งชัน้ เช่น การใช้เพศเปน็ เกณฑ์ในการแบง่ กลมุ่ แต่มคี วามแตกต่างท่สี �ำคญั คือ การเลอื กกลุม่
ตัวอย่างแบบโควต้าเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้การสุ่ม เช่น การเลือกอย่างง่าย หรือแบบเจาะจง ให้ได้ครบ
ตามสัดส่วน แต่การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งช้ันใช้หลักของการสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างให้ครบตามสัดส่วน
2.2.4 การเลอื กตวั อยา่ งแบบลกู โซ่ (snowball sampling) เป็นการเลือกตัวอย่างในสถานการณ์
ท่ีผู้วิจัยไม่ทราบรายชื่อและจ�ำนวนของประชากร โดยเฉพาะกลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็นกลุ่มท่ีค่อนข้างปิดตัว เช่น
กลุ่มผู้ติดยาเสพติด กลุ่มนักพนัน เป็นต้น การเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยเทคนิคนี้ คือ เริ่มต้นด้วยกลุ่มตัวอย่าง
จ�ำนวนเล็ก ๆ ก่อน แล้วจึงให้กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเล็กน้ันช่วยกันระบุตัวอย่างคนอ่ืน ๆ ที่พวกเขารู้จัก หรือ
คุ้นเคย เพิ่มเติมจนได้กลุ่มตัวอย่างที่ใหญ่ขึ้น
3. การกำ� หนดขนาดกลุ่มตวั อย่าง
การวิจัยเชิงพรรณนา มีหลักในการค�ำนวณกลุ่มตัวอย่างดังนี้
3.1 ศึกษาจากประชากร การศึกษาจากประชากรเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากสมาชิกทุกคนใน
ประชากร และใช้ประชากรเป็นกลุ่มตัวอย่าง การวิจัยท่ีเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากรมักเป็นงานวิจัยที่มี
ประชากรจ�ำนวนน้อย ไม่เกิน 200 คน
3.2 ใช้กลุ่มตัวอย่างเท่ากับกลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยท่ีผ่านมาท่ีมีลักษณะเหมือนกัน
3.3 ใช้ตารางการสุ่ม ตารางการสุ่มที่นิยม เช่น ตารางการสุ่มของยามาเน และเครชช่ี มอร์แกน
ท้ังสองตารางเป็นการค�ำนวณจากการสุ่มอย่างง่าย
3.4 ใช้สูตรค�ำนวณ