Page 45 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 45
การออกแบบการวิจัย 3-35
4. การออกแบบพฒั นาเคร่ืองมือและวธิ กี ารเก็บรวบรวมขอ้ มลู
เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลส�ำหรับการวิจัยเชิงพรรณนามีมากมาย เช่น แบบทดสอบ แบบสอบถาม
แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบตรวจสอบรายการ ฯลฯ การพัฒนาเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลต้องให้มี
ความตรง และความเท่ียง ซ่ึงเป็นดัชนีวัดคุณภาพของเครื่องมือวิจัย กระบวนการพัฒนาเครื่องมือต้องใช้
กระบวนการท่ีมีมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับ เพ่ือให้เครื่องมือมีคุณภาพ ประเด็นส�ำคัญที่นักวิจัยต้องใส่ใจใน
การพัฒนาเคร่ืองมือ คือ การใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ตรงประเด็น สั้นและกระชับ เพื่อลดความคลาดเคล่ือนใน
การวัด และให้ผู้ตอบตอบได้อย่างง่าย ๆ ไม่ต้องเดาความหมายค�ำ หรือประโยคท่ีไม่ชัดเจน
ในบางครั้ง นักวิจัยสามารถน�ำเคร่ืองมือมาตรฐาน หรือเคร่ืองมือท่ีผู้อ่ืนสร้างไว้มาใช้ก็ได้ แต่นักวิจัย
ต้องพิจารณาว่าจะต้องลดหรือเพิ่มค�ำถามบางค�ำถามหรือไม่ เพราะค�ำถามท่ีผู้อื่นสร้างไว้อาจยังไม่ตรงกับ
บริบทที่นักวิจัยก�ำลังศึกษา นอกจากนี้ต้องมีการประเมินความคลาดเคลื่อนในการวัดอีกคร้ัง เพราะความ
เที่ยงของเคร่ืองมือแปรเปลี่ยนไปตามกลุ่มตัวอย่าง
นอกจากนี้นักวิจัยต้องเลือกวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลว่าจะใช้วิธีการอะไรจึงจะได้ข้อมูลที่เหมาะสม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลมีมากมาย เช่น การทดสอบ การสัมภาษณ์ การส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์
การประชุมกลุ่ม (focus group) การส�ำรวจทางอินเทอร์เน็ต เป็นต้น นักวิจัยต้องพิจารณาเลือกวิธีการที่
เหมาะสม และสอดคล้องกับทรัพยากรของการวิจัย
หลังจากศึกษาเน้อื หาสาระเร่ืองท่ี 3.2.2 แล้ว โปรดปฏิบัตกิ ิจกรรม 3.2.2
ในแนวการศกึ ษาหนว่ ยท่ี 3 ตอนที่ 3.2 เร่ืองที่ 3.2.2
เร่ืองท่ี 3.2.3 ตวั อย่างการออกแบบการวจิ ัยเชิงพรรณนา
ตัวอย่างการออกแบบการวิจัยเชิงพรรณนาที่น�ำมาเสนอ คือ งานวิจัยของสังวรณ์ งัดกระโทก (2552)
เรื่อง คุณภาพการสอนวิทยาศาสตร์และความสามารถทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนไทย: ข้อค้นพบและ
ข้อเสนอทางนโยบายจากการประเมินนักเรียนระดับนานาชาติ ซึ่งเป็นงานวิจัยท่ีได้รับรางวัลงานวิจัยระดับดี
จากส�ำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประจ�ำปี พ.ศ. 2552 ซ่ึงมีรายละเอียดดังน้ี