Page 47 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 47
การออกแบบการวิจัย 3-37
tion for Economic Co-operation and Development [OECD], 2007) นอกจากน้ี ยังมีการเก็บ
รวบรวมข้อมูลเชิงบริบทด้านต่าง ๆ เก่ียวกับการเรียนสอนวิทยาศาสตร์ของครู รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ
เก่ียวกับนักเรียน ครอบครัว และโรงเรียนด้วย
นกั เรยี นทเ่ี ขา้ รว่ มโครงการประเมนิ ในครง้ั น้ี มจี ำ� นวนรวมทงั้ สนิ้ 398,750 คน จาก 56 ประเทศ
ทั่วโลก โดยจ�ำแนกออกเปน็ ประเทศสมาชิก OECD จำ� นวน 30 ประเทศ ประเทศท่ไี มใ่ ช่สมาชกิ OECD
จ�ำนวน 26 ประเทศ ส�ำหรับประเทศไทยซึ่งไม่เป็นสมาชิก OECD มีนักเรียนจ�ำนวน 6,192 คน จาก
212 โรงเรียนทั่วประเทศ เข้าร่วมการประเมินความสามารถทางวิทยาศาสตร์ในครั้งน้ี ผู้วิจัยเลือกใช้
ฐานข้อมูลนี้เพราะการประเมินในปี พ.ศ. 2549 เน้นการประเมินความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ของ
นักเรียน ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัยคร้ังน้ี นอกจากนี้ ข้อมูลการประเมิน PISA ปี พ.ศ.
2549 เป็นข้อมูลระดับนานาชาติท่ีได้เผยแพร่ล่าสุด มีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ดี เป็นระบบ ครอบคลุม
ประชากรของประเทศต่าง ๆ และมีข้อมูล/ตัวแปรส�ำคัญ ๆ หลายตัวท่ีสามารถนำ� มาวิเคราะห์เพื่อให้ได้
ข้อมูลส�ำหรับเป็นแนวทางในการพัฒนานักเรียนและการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ของประเทศได้เป็น
อย่างดี
คุณภาพของการสร้างเคร่ืองมือ การเก็บรวบรวมข้อมูล และคุณภาพของการวัดตัวแปรมี
คุณภาพดี รายงานด้านคุณภาพของการเก็บรวบรวมข้อมูลและคุณภาพของตัวแปรมีรายละเอียดอยู่
รายงานด้านวิธีวิทยาการวิจัย (Organization for Economic Co-operation and Development,
2009) กล่าวโดยสรุป การด�ำเนินโครงการประเมินประกอบด้วยคณะกรรมการหลายชุด เช่น
คณะกรรมการออกแบบ สรา้ งและตรวจสอบคณุ ภาพเครอ่ื งมอื คณะกรรมการออกแบบการเกบ็ รวบรวม
ข้อมูล คณะกรรมการเก็บรวบรวมข้อมูล คณะกรรมการการวิเคราะห์และก�ำหนดสเกลของตัวแปร การ
ด�ำเนินดังกล่าว มีกฎ และระเบียบท่ีผู้ที่เกี่ยวข้องในแต่ละขั้นตอนของแต่ละประเทศท่ีเข้าร่วมโครงการ
ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพ่ือให้ข้อมูลท่ีได้มีความเหมาะสมและยุติธรรม คุณภาพของการเก็บ
รวบรวมข้อมูลได้รับการตรวจสอบและรับรองโดยคณะกรรมการด�ำเนินงานของ OECD
ตัวแปรทใ่ี ชเ้ ลือกใช้
ตวั แปรระดบั นกั เรยี นและครอบครัว ประกอบด้วย
1. ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ หมายถึง ความสามารถท่ีจะใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์
และกระบวนการวิทยาศาสตร์ในการเข้าใจธรรมชาติรอบตัวและตัดสินใจแก้ปัญหา ตัวแปรนี้มีค่าความ
เท่ียงเท่ากับ .88
2. ความสามารถทางวิทยาศาสตร์ที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติ (HGROUP) เป็นตัวแปรที่มี
สองค่า คือ 1 และ 0 เม่ือ 1 คือ นักเรียนที่มีความสามารถทางวิทยาศาสตร์สูงกว่าค่าเฉล่ียนานาชาติ
และ 0 คือ นักเรียนท่ีมีความสามารถทางวิทยาศาสตร์ต่�ำกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติ เมื่อค่าเฉลี่ยระดับ
นานาชาติเท่ากับ 500