Page 46 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 46
3-36 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
วัตถปุ ระสงคข์ องการวจิ ัย
1. เพอื่ เปรยี บเทยี บปจั จยั ตา่ ง ๆ ของนกั เรยี นทมี่ ผี ลการประเมนิ สงู กวา่ คา่ เฉลยี่ ระดบั นานาชาติ
และนักเรียนที่มีผลการประเมินต่�ำกว่าค่าเฉล่ียระดับนานาชาติ ปัจจัยท่ีน�ำมาเปรียบเทียบ
ได้แก่ จ�ำนวนเวลาที่ใช้ศึกษาวิทยาศาสตร์ การเห็นคุณค่าของวิทยาศาสตร์ ความสนใจใน
วิทยาศาสตร์ ความสุขในการเรียนวิทยาศาสตร์ ความเชื่อม่ันเก่ียวกับสมรรถภาพในการ
เรียนวิทยาศาสตร์ มโนทัศน์เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ความมั่งคั่งและปัจจัยทาง
เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของครอบครัว
2. เพื่อเปรียบเทียบจ�ำนวนเวลาที่ใช้ศึกษาวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ความสามารถทาง
วิทยาศาสตร์ การให้คุณค่ากับวิทยาศาสตร์ ความสนใจในวิทยาศาสตร์ ความสนุกสนาน
ในการเรียนวิทยาศาสตร์ ความเช่ือมั่นเกี่ยวกับสมรรถภาพในการเรียนวิทยาศาสตร์ และ
มโนทัศน์เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ของนักเรียนไทย ตามต�ำแหน่งที่ต้ังของโรงเรียน ขนาด
โรงเรียน ความมั่งคั่งของครอบครัวและปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของ
ครอบครัว
3. เพ่ือหาองค์ประกอบข้อจ�ำกัดด้านทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนที่ท�ำให้คุณภาพ
การจัดการศึกษาของโรงเรียนลดลง
4. เพื่อประเมินผลขององค์ประกอบของการจัดการเรียนการสอนของครูและองค์ประกอบ
เกี่ยวกับข้อจ�ำกัดด้านทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนต่อความสามารถทาง
วิทยาศาสตร์ของนักเรียน
5. เพ่ือศึกษาว่าการประกันคุณภาพการศึกษา เทคโนโลยีการศึกษา ปัจจัยโรงเรียน และ
องค์ประกอบข้อจ�ำกัดด้านทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนส่งผลต่อคุณภาพการเรียน
การสอนวิทยาศาสตร์ของครูในองค์ประกอบใดบ้าง อย่างไร
วิธดี �ำเนนิ การวิจยั
ข้อมูลท่ีใช้ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงส�ำรวจเพ่ือศึกษาคุณภาพการสอนวิทยาศาสตร์ของครู
และปัจจัยท่ีสัมพันธ์และส่งเสริมการสอนและเรียนวิทยาศาสตร์ของไทย การวิจัยครั้งนี้ใช้ข้อมูลทุติย-
ภูมิ (secondary data) ข้อมูลท่ีใช้ คือผลการประเมินความสามารถทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนจาก
โครงการ PISA ท่ีได้ด�ำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลประเมินในปี พ.ศ. 2549 โครงการประเมินน้ีเป็น
โครงการประเมินระดับนานาชาติของนักเรียนอายุ 15 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มนักเรียนท่ีได้รับการศึกษาภาค
บังคับของประเทศต่าง ๆ การประเมินในปีน้ีเน้นการประเมินความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และการใช้
ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เพื่อแก้ไขปัญหาและตัดสินใจในชีวิตประจ�ำวันด้วยการใช้ความรู้และ
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นทักษะท่ีจ�ำเป็นต่อการใช้ชีวิตในสังคมในอนาคตข้างหน้า ความรู้
ทางวิทยาศาสตร์ท่ี PISA ประเมิน ประกอบด้วยทักษะสามอย่าง คือ ทักษะการระบุประเด็นปัญหา
ทกั ษะการอธบิ ายเหตกุ ารณต์ า่ ง ๆ อยา่ งวทิ ยาศาสตร์ และการใชห้ ลักฐานทางวิทยาศาสตร์ (Organiza-