Page 50 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 50

3-40 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา

         วตั ถปุ ระสงคก์ ารวจิ ยั ท่ี 2: เพ่ือเปรียบเทียบปัจจัยที่เอ้ือต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ปัจจัยต่าง ๆ
  ระหว่างกลุ่มนักเรียนท่ีมีผลการประเมินสูงกว่าค่าเฉล่ียระดับนานาชาติและกลุ่มนักเรียนท่ีมีผลการ
  ประเมนิ ตำ่� กวา่ คา่ เฉลยี่ ระดบั นานาชาติ ปจั จยั ทนี่ ำ� มาเปรยี บเทยี บ ไดแ้ ก่ การเหน็ คณุ คา่ ของวทิ ยาศาสตร์
  ความสนใจในวิทยาศาสตร์ ความสุขในการเรียนวิทยาศาสตร์ ความเชื่อมั่นเกี่ยวกับสมรรถภาพในการ
  เรียนวิทยาศาสตร์ มโนทัศน์เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ และเวลาที่ใช้ในการศึกษาวิทยาศาสตร์

         การวิเคราะห์ข้อมูลส�ำหรับวัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบ
  หลายตัวแปร (multivariate analysis of variance) เพื่อศึกษาว่าปัจจัยต่าง ๆ ที่เก่ียวข้องกับความ
  สามารถทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนท่ีมีความสามารถทางวิทยาศาสตร์ท่ีต่�ำกว่าและสูงกว่าค่าเฉล่ีย
  นานาชาติ (HGROUP) มีความแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร

         วัตถุประสงค์การวิจัยที่ 3: เพื่อศึกษาปัจจัยนักเรียน ปัจจัยครอบครัว และปัจจัยโรงเรียนที่
  สัมพันธ์กับความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติ

         คำ� ถามวจิ ยั ทเี่ กย่ี วขอ้ งกบั วตั ถปุ ระสงคข์ อ้ นี้ คอื ปจั จยั เออ้ื หนนุ ตอ่ การเรยี นวทิ ยาศาสตรป์ จั จยั
  อะไรบ้างท่ีสามารถท�ำนายความน่าจะเป็นในการได้คะแนนวิทยาศาสตร์สูงกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติ การ
  วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตอบค�ำถามวิจัยนี้ใช้การวิเคราะห์ลอจิสติกรีเกรสชันแบบพหุระดับ (multilevel
  logistic regression analysis) (Raudenbush & Bryk, 2002) ผวู้ จิ ยั ใชโ้ ปรแกรม HLM 6 (Rauden-
  bush, Bryk, & Congdon, 2004)

         วัตถุประสงค์การวิจัยที่ 4: เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบข้อจ�ำกัดของทรัพยากรทางการศึกษา
  ของโรงเรียน

         ข้อจ�ำกัดของทรัพยากรทางการศึกษาซึ่งเป็นผลกระทบของความไม่พอเพียงของทรัพยากรต่อ
  คุณภาพการสอนของโรงเรียน การวิเคราะห์องค์ประกอบของข้อจ�ำกัดของทรัพยากรทางการศึกษามี
  จุดประสงค์เพ่ือศึกษาว่าโรงเรียนมีข้อจ�ำกัดด้านใดบ้างท่ีโรงเรียนเห็นว่าท�ำให้คุณภาพการศึกษาของ
  โรงเรียนลงลด ตัวแปรที่ใช้วิเคราะห์ประกอบด้วยข้อรายการจ�ำนวน 13 รายการ ซ่ึงได้มาจากการ
  ประเมินของผู้บริหารโรงเรียน

         การวเิ คราะหอ์ งคป์ ระกอบนใี้ ชโ้ ปรแกรม SAS มกี ารหมนุ แกนแบบใหอ้ งคป์ ระกอบสมั พนั ธก์ นั
  เพราะเมื่อพิจารณาจากตัวแปรที่ใช้แล้ว ตัวแปรมีลักษณะคล้าย ๆ กัน และองค์ประกอบท่ีสกัดได้ควร
  มีความสัมพันธ์กันเพราะมีองค์ประกอบร่วมกัน คือ งบประมาณการศึกษา ดังนั้นผู้วิจัยคาดว่า
  องค์ประกอบท่ีสกัดได้น่าจะมีความสัมพันธ์กัน ในการน้ีผู้วิจัยเลือกใช้วิธีหมุนแกนแบบโพรแมกซ์
  (promax) เพื่อให้องค์ประกอบสัมพันธ์กัน องค์ประกอบท่ีสกัดได้จะน�ำไปใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลขั้น
  ต่อไป เพ่ือศึกษาว่าองค์ประกอบแต่ละด้านมีความสัมพันธ์กับความสามารถทางวิทยาศาสตร์ของ
  นักเรียนหรือไม่ อย่างไร และองค์ประกอบท่ีสกัดได้มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการสอนของครูหรือไม่
  อย่างไร
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55