Page 54 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 54

3-44 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา

เร่อื งท่ี 3.3.1	 คำ� ถามวิจยั เชงิ ทดลอง

       การวิจัยเชิงทดลอง (experimental research) เป็นการวิจัยที่มุ่งศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ
(causal effect) ของตัวแปรสองตัว หรือมากกว่าสองตัว ตัวแปรส�ำคัญในการวิจัยเชิงทดลองประกอบด้วย
ตัวแปรทดลอง (x) หรือตัวแปรอิสระ (independent variable) และตัวแปรตาม (dependent variable)
หรือตัวแปร y ตัวแปรทดลองเป็นตัวแปรท่ีนักวิจัยท�ำการเปลี่ยนแปลงหรือจัดกระท�ำ (manipulate) เพื่อ
ศึกษาว่าการจัดกระท�ำนั้นท�ำให้ตัวแปรตามเปลี่ยนแปลงหรือไม่ อย่างไร การวิจัยเชิงทดลองถือว่าเป็นวิธีการ
ที่สามารถช่วยให้นักวิจัยสรุปผลการวิจัยในรูปของสาเหตุ-ผลลัพธ์ได้ดีกว่าการวิจัยรูปแบบอื่น ๆ และถือเป็น
มาตรฐานของการบอกความเป็นสาเหตุ (golden standard for causal inference)

       ดังนั้น ค�ำถามวิจัยเชิงทดลอง จึงเป็นค�ำถามท่ีต้องการศึกษาผลของตัวแปรอิสระต่อตัวแปรตาม
Meltzolf (1998) กล่าวว่าค�ำถามวิจัยท่ีเป็นการวิจัยทดลอง แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังน้ี

       1. 	ค�ำถามวิจัยเก่ียวกับสาเหตุ-ผลลัพธ์ (causal question) เป็นค�ำถามที่ต้องการศึกษาว่าตัวแปร x
ส่งผลต่อ y หรือไม่ เช่น การดูรายการโทรทัศน์ท่ีมีเนื้อหารุนแรงส่งผลท�ำให้เด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าวหรือไม่
หรือการปฏิรูปการศึกษาส่งผลให้คุณภาพการศึกษาดีขึ้นหรือไม่ การตั้งค�ำถามวิจัยเกี่ยวกับสาเหตุ-ผลลัพธ์
เช่นน้ี ต้องใช้การวิจัยท่ีเป็นการวิจัยทดลองเพื่อท�ำการศึกษาผลของตัวแปรอิสระ เพ่ือให้สามารถสรุปผลการ
วิจัยในเชิงสาเหตุของตัวแปรต่าง ๆ ได้ถูกต้อง

       2.	 คำ� ถามวจิ ยั เกยี่ วกบั การเปรยี บเทยี บขนาดของสาเหต-ุ ผลลพั ธ์ (causal-comparative questions)
เป็นค�ำถามวิจัยท่ีมุ่งศึกษาว่าวิธีการหรือทรีตเมนต์ตั้งแต่สองวิธีขึ้นไปส่งผลต่อตัวแปรตามต่างกันหรือไม่ เช่น
การท�ำการทดลองเพ่ือเปรียบเทียบวิธีการสอนสองวิธีว่าวิธีใดดีกว่ากัน จะเห็นว่า การวิจัยในลักษณะนี้จะ
ท�ำการเปรียบเทียบทรีตเมนต์สองอย่างขึ้นไป ไม่ใช่เพียงแค่การเปรียบเทียบกับกลุ่มท่ีไม่ได้รับทรีตเมนต์
เท่านั้น เพ่ือให้มีข้อมูลว่าทรีตเมนต์มีประสิทธิภาพจริงหรือไม่

       3.	 ค�ำถามวิจัยเกี่ยวกับการเปรียบเทียบเชิงสาเหตุ-ผลลัพธ์ท่ีมีปฏิสัมพันธ์ (causal-comparative
interaction questions) เป็นค�ำถามวิจัยที่ศึกษาว่าผลของตัวแปรตั้งแต่สองตัวข้ึนไปต่อตัวแปรตามต่างกันใน
บางเงื่อนไขหรือไม่ เช่น การสอนด้วยเกมดีกว่าการสอนแบบบรรยายในกลุ่มนักเรียนชาย ไม่ใช่กลุ่มนักเรียน
หญงิ หรอื ไม่ การศกึ ษาแบบนม้ี ตี วั แปรอสิ ระมากกวา่ หนงึ่ ตวั ทำ� ใหส้ ามารถศกึ ษาปฏสิ มั พนั ธข์ องตวั แปรอสิ ระ
ได้ ท�ำให้การอธิบายความเป็นสาเหตุละเอียดและลึกซึ้งมากขึ้น

       การที่นักวิจัยตั้งค�ำถามเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของตัวแปรในรูปความสัมพันธ์เชิงสาเหตุเหล่าน้ี จะ
นำ� สกู่ ารออกแบบการวจิ ยั ทสี่ ามารถทำ� การเปรยี บเทยี บใหเ้ หน็ ผลของตวั แปรอสิ ระตอ่ ตวั แปรตาม และสามารถ
ตอบค�ำถามของความสัมพันธ์เชิงสาเหตุได้ ซ่ึงถ้านักวิจัยสามารถท�ำการทดลองได้ก็จะเป็นการออกแบบการ
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59