Page 56 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 56
3-46 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
ตัวแปรแทรกซ้อนให้หมดไป ซ่ึงอาจท�ำได้หลายวิธี เช่น การสุ่มกลุ่มตัวอย่างเข้าสู่การทดลอง (random
assignment) การจับคู่ (matching) การน�ำตัวแปรแทรกซ้อนท่ีส�ำคัญมาศึกษา และการควบคุมทางสถิติ
(statistical control)
เพื่อใหน้ ักวจิ ัยดำ� เนินการวิจยั ไดต้ ามหลกั max min con การท�ำวจิ ัยเชงิ ทดลองควรใชห้ ลกั การของ
การสุ่ม (randomization) ซึ่งประกอบด้วย
1. การเลือกกลุ่มตัวอย่าง หรือสมาชิกของการทดลองด้วยวิธีการสุ่ม (random selection) ให้ได้
จ�ำนวนท่ีต้องการ
2. เลือกทรีตเมนต์ให้แต่ละกลุ่มด้วยวิธีการสุ่ม (random assignment)
แต่ถ้าไม่สามารถด�ำเนินการสุ่มได้ก็ต้องใช้วิธีการจับคู่ (matching) วิธีการใดวิธีการหนึ่งจากจ�ำนวน
หลายวิธีที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น
หลงั จากศึกษาเน้อื หาสาระเรอ่ื งท่ี 3.3.2 แล้ว โปรดปฏบิ ัติกิจกรรม 3.3.2
ในแนวการศึกษาหน่วยที่ 3 ตอนที่ 3.3 เรอื่ งท่ี 3.3.2
เรอ่ื งท่ี 3.3.3 การออกแบบการวจิ ยั เชงิ ทดลองและการวจิ ยั กงึ่ ทดลอง
การออกแบบการวิจัยเชิงทดลองท่ีจะเสนอต่อไปน้ี ประกอบด้วยการเลือกรูปแบบการทดลองให้
สอดคล้องกับค�ำถามวิจัย การเลือกกลุ่มตัวอย่าง ซ่ึงทั้งสองมีส่วนส�ำคัญต่อคุณภาพของการวิจัย ส่วนเร่ือง
การออกแบบเคร่ืองมือวัดนั้น นักศึกษาสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากเอกสารเกี่ยวกับการสร้างเครื่องมือวิจัย
หรือการสร้างเครื่องมือส�ำหรับการประเมิน ซ่ึงใช้หลักการเดียวกัน มีวิธีการพัฒนาเคร่ืองมือท่ีคล้ายกัน
และมีเป้าหมายเดียวกัน คือ การใช้เคร่ืองมือวัดที่มีคุณภาพในด้านความตรง (validity) และความเที่ยง
(reliability) โดยท่ัวไปเคร่ืองมือวิจัยส�ำหรับการวิจัยเชิงทดลองทางการศึกษาส่วนใหญ่เป็นแบบทดสอบ
ส�ำหรับวัดความรู้ของนักเรียนก่อน/หลังจากได้รับการทดลอง
1. การเลือกรปู แบบการทดลอง
การอธิบายประเภทของการออกแบบการวิจัยเชิงทดลองต่อไปน้ีอาศัยรูปแบบท่ีแคมเบล และ
สแตนเลย์ (Campbell & Stanley, 1966) อธิบายไว้ โดยใช้สัญลักษณ์ O แทนการเก็บข้อมูลหรือการวัด
X แทนการท�ำการทดลอง และ R แทนการเลือกทรีตเมนต์ให้กลุ่มด้วยวิธีการสุ่ม (random assignment)
รูปแบบของการวิจัยเชิงทดลองมีดังนี้