Page 61 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 61
การออกแบบการวิจัย 3-51
ดังนั้นจะเห็นว่ารูปแบบการทดลองแบบนี้ยังไม่ดีพอท่ีจะบอกความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ-ผลลัพธ์ หาก
นักวิจัยใช้รูปแบบการทดลองนี้ นักวิจัยต้องควบคุมปัจจัยต่าง ๆ ให้ได้ และต้องมีหลักฐานที่แสดงว่าปัจจัย
ท่ีอาจลดความถูกต้องของผลการวิจัยไม่ส่งผล เช่น เหตุการณ์แทรก (history) การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ
และชีวภาพของกลุ่มตัวอย่าง (maturation) หรือเคร่ืองมือและวิธีการวัดบกพร่อง (instrumentation)
ไม่ส่งผลต่อการวิจัย เพราะนักวิจัยได้ควบคุมดีแล้ว
2.2 การออกแบบท่ีมีกลมุ่ ควบคุมแต่ไม่มีการสมุ่ (the static-group comparison)
X O1
O2
รูปแบบน้ีมีกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม แต่ไม่มีการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มทดลองได้รับการทดลอง
และมีการวัดหลังการทดลองครั้งเดียว กลุ่มควบคุมไม่ได้รับทรีตเมนต์ แต่มีการวัดเช่นเดียวกับกลุ่มทดลอง
การเปรียบเทียบความแตกต่างของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม (O1 — O2) เป็นการเปรียบเทียบเพื่อศึกษา
ผลของการทดลอง X อยา่ งไรกต็ าม การสรปุ ผลการทดลองอาจไมช่ ดั เจน เพราะกลมุ่ ทดลองและกลมุ่ ควบคมุ
อาจต่างกัน เพราะถูกเลือกมาต่างกัน ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า ความล�ำเอียงในการเลือกกลุ่มตัวอย่าง (selec-
tion) นอกจากน้ีหากกลุ่มตัวอย่างของทั้งสองกลุ่มสูญหายไป อาจท�ำให้ทั้งสองกลุ่มแตกต่างกันในขณะ
ท่ีท�ำการวัดหลังการทดลอง ปรากฏการณ์น้ีเรียกว่า กลุ่มตัวอย่างสูญหาย (mortality)
2.3 การใช้กลุ่มที่ไม่เหมือนกัน (non-equivalent groups) ในการวิจัยที่ไม่ใช่การวิจัยเชิงทดลองท่ี
นักวิจัยต้องการเปรียบเทียบตัวแปรตามของกลุ่มต่าง ๆ เช่น การเปรียบเทียบความสามารถในการจัดการ
ศึกษาของโรงเรียนรัฐบาล และโรงเรียนเอกชน ถึงแม้นักวิจัยจะได้พยายามท�ำให้กลุ่มต่าง ๆ ท่ีน�ำมาเปรียบ
เทียบกันมีความเหมือนกันให้มากท่ีสุด แต่นักวิจัยอาจท�ำได้ไม่สมบูรณ์ เพราะไม่ได้ใช้วิธีการสุ่มเลือกกลุ่ม
ตัวอย่าง ดังน้ันกลุ่มท่ีน�ำมาศึกษาอาจมีความแตกต่างกัน หรือเป็นกลุ่มท่ีไม่เหมือนกัน ความแตกต่างของ
กลุ่มที่น�ำมาเปรียบเทียบอาจเกิดมาจากตัวแปรภูมิหลัง ส่ิงน้ีเป็นปัจจัยส�ำคัญท่ีท�ำให้การวิจัยท่ีไม่ใช่การวิจัย
เชิงทดลองมจี ดุ อ่อนในการสรปุ ความสมั พนั ธ์เชิงสาเหตุ เพราะความแตกต่างทเ่ี กิดขน้ึ ในตัวแปรตามของกลมุ่
ท่ีศึกษาอาจเกิดจากความแตกต่างของปัจจัยที่นักวิจัยศึกษา เช่น ประเภทของโรงเรียน แต่ปัจจัยอ่ืน ๆ ก็อาจ
ส่งผลได้เช่นกัน เพราะนักวิจัยไม่ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างอย่างสุ่ม การท�ำการเปรียบเทียบตัวแปรตามใน
กลุ่มตัวอย่างที่มีความแตกต่างกัน ถือว่ามีความคลาดเคล่ือนจากการเลือกกลุ่มตัวอย่าง (selection bias)
เกิดข้ึน ในกรณีน้ี Rosenbaum และ Runbin (1983) เสนอวิธีการแก้ไขปัญหาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างที่
มีตัวแปรแทรกซ้อนเท่ากันมาท�ำการเปรียบเทียบ เรียกว่า วิธีการใช้จับคู่ โดยใช้ความน่าจะเป็น (propensity
score matching technique) โดยการน�ำตัวแปรแทรกซ้อน (X) มาเป็นตัวแปรท�ำนายความเป็นสมาชิก
กลุ่มโดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยแบบโลจิสติก (logistic regression) เช่น ถ้าต้องการเปรียบเทียบ
คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนนอกเมืองและในเมือง โดยก�ำหนดให้กลุ่มท่ีสนใจ เช่น กลุ่มโรงเรียนในเมือง
มีรหัสเป็น 1 กลุ่มที่เป็นกลุ่มเปรียบเทียบ เช่น กลุ่มโรงเรียนนอกเมือง มีรหัสเป็น 0 การใช้วิธีการจับคู่