Page 57 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 57
การออกแบบการวิจัย 3-47
1.1 การออกแบบท่ีมีกลุ่มควบคุม และวัดก่อน-หลังทดลอง (the pretest-posttest control group
design)
R OO13 X OO24
R
รปู แบบการทดลองแบบนม้ี กี ลมุ่ ทดลอง (experimental group) และกลมุ่ ควบคมุ (control group)
และมีการท�ำการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง (random selection) และก�ำหนดกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลองอย่างสุ่ม
(random assignment) ดังน้ันกลุ่มท้ังสองกลุ่มจึงมีความเท่าเทียมกันด้วยกระบวนการสุ่ม รูปแบบการ
ทดลองแบบนี้ ถือว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของการทดลองท่ีแท้จริง (true experimental design)
การตรวจสอบว่า X มีผลต่อตัวแปรตามหรือไม่ ท�ำได้โดย
1) การเปรียบเทียบค่าเฉล่ียของคะแนนการเปล่ียนแปลง (gain score) ของกลุ่มทดลอง
และกลุ่มควบคุมด้วยสถิติ t-test โดยคะแนนพัฒนาการของกลุ่มทดลอง คือ O2 — O1 และคะแนนการ
เปล่ียนแปลงของกลุ่มควบคุม คือ O4 — O3
2) การเปรียบเทียบค่าเฉล่ียของคะแนนพัฒนาการ (gain score) ของกลุ่มทดลองและกลุ่ม
ควบคุม โดยมีการควบคุมคะแนนก่อนทดลอง สถิติที่ใช้คือ การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (Analysis of
Covariance: ANCOVA)
การวิเคราะห์ข้อมูลข้างต้นจะใช้ได้ดีเม่ือมีการสุ่มเท่านั้น แต่บางครั้งการวิจัยทางการศึกษาเลือก
นักเรียนทั้งห้องเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยไม่ได้ใช้การสุ่มแต่อย่างใด เพราะมีความเป็นไปได้ใน
การทดลองมากกว่า ในกรณีนี้ แคมเบล และสแตนเลย์ (Campbell & Stanley, 1966) เสนอให้ใช้หน่วย
การวิเคราะห์เป็นห้องเรียน แทนท่ีจะเป็นนักเรียนหรือระดับบุคคล และด�ำเนินการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วย
การใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (Analysis of Covariance: ANCOVA) และใช้ค่าเฉลี่ยคะแนน
ก่อนทดลองเป็นตัวแปรร่วม (covariate)
1.2 การออกแบบแบบสกี่ ลุ่มของโซโลมอน (the Solomon four-group design)
R O1 X O2
R O3 O4
R X O5
R O6
รูปแบบนี้เป็นรูปแบบท่ีสองของรูปแบบการทดลองแท้จริง โดยการด�ำเนินการวิจัยทั้งหมด 4 กลุ่ม
คือ กลุ่มทดลอง 2 กลุ่ม และกลุ่มควบคุม 2 กลุ่ม ซ่ึงจะช่วยให้บอกถึงความเป็นสาเหตุ-ผลลัพธ์ได้ดีข้ึน