Page 60 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 60
3-50 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
แทรกซ้อนเป็นตวั แปรอสิ ระตวั แปรหนึง่ ในการวจิ ัย การวเิ คราะหข์ ้อมูลจะใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนรว่ ม
(ANCOVA) เพ่ือควบคุมตัวแปรแทรกซ้อนให้มีผลเท่ากัน ๆ ทุกกลุ่ม จึงสามารถศึกษาผลของตัวแปรอิสระ
ที่ต้องการศึกษาได้ชัดเจน
2. การออกแบบการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental research design)
การวิจัยก่ึงเชิงทดลองมีจุดประสงค์เหมือนกับการวิจัยเชิงทดลอง คือ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์
เชิงสาเหตุ-ผลลัพธ์ของตัวแปร แต่การวิจัยก่ึงทดลองไม่สามารถด�ำเนินการกระบวนการสุ่มได้ เน่ืองจากมี
ขอ้ จำ� กดั ในการสมุ่ ทไ่ี มส่ ามารถเลอื กกลมุ่ ตวั อยา่ งดว้ ยวธิ กี ารสมุ่ อยา่ งสมบรู ณไ์ ด้ ถงึ แมว้ า่ การวจิ ยั เชงิ ทดลอง
จะเป็นวิธีการท่ีเหมาะสมที่สุดต่อการสรุปผลการวิจัยในเชิงสาเหตุ-ผลลัพธ์ แต่การท�ำวิจัยเชิงทดลองในสาขา
สังคมศาสตร์ และพฤติกรรมศาสตร์ เป็นเรื่องที่ท�ำได้ยาก เพราะมีปัญหาด้านจริยธรรมของการวิจัย และการ
ไม่สามารถสุ่มกลุ่มตัวอย่างได้อย่างสุ่มโดยสมบูรณ์ ในการนี้นักวิจัยจะออกแบบการวิจัยที่เรียกว่าการวิจัยท่ี
ไม่ใช่วิจัยเชิงทดลอง แต่มีจุดมุ่งหมายเพ่ือหาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ งานวิจัยเหล่าน้ีมีความส�ำคัญมากใน
ปัจจุบันในทางการศึกษา และการวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิภาพของนโยบาย โครงการ และการแทรกแซง
(intervention) เพื่อแก้ไขปัญหา การออกแบบการวิจัยท่ีส�ำคัญในกลุ่มนี้ เรียกว่า การวิจัยกึ่งทดลอง
(quasi experiments) มีรูปแบบที่ส�ำคัญ ดังนี้
2.1 รปู แบบทดสอบกอ่ น-หลงั (pretest-posttest design) รูปแบบนี้มีการทดสอบก่อนและหลังเรียน
แต่ใช้กลุ่มทดลองกลุ่มเดียวโดยไม่มีกลุ่มควบคุม กล่าวคือ เม่ือท�ำการทดสอบก่อนเรียนแล้ว (O1) มีการ
ทดลอง (X) หลังจากนั้นจึงมีการวัดคร้ังท่ีสอง (O2)
O1 X O2
ตามรูปแบบการทดลองนี้ ถ้าพบวา่ ผลการวดั ก่อนและหลังทดลองแตกต่างกัน ผูว้ จิ ยั จะสรุปวา่ ความ
แตกต่างท่ีพบเป็นผลมาจากการทดลอง แต่การสรุปผลการวิจัยอาจไม่ถูกต้องก็ได้ เพราะไม่มีการสุ่ม และ
ไม่มีกลุ่มควบคุมส�ำหรับเปรียบเทียบ ปัจจัยที่อาจท�ำให้การสรุปผลการวิจัยผิดพลาด เช่น การทดสอบก่อน
และหลังเรียนเว้นระยะห่างมาก และในระหว่างน้ันกลุ่มตัวอย่างอาจประสบ หรือได้ท�ำบางส่ิงบางอย่างท่ีอาจ
ช่วยท�ำให้เกิดความแตกต่างในการวัด แคมเบล และสแตนเลย์ เรียกปัจจัยชนิดน้ีว่า เหตุการณ์แทรก
(history) นอกจากน้ีความแตกต่างของ O1 — O2 อาจเป็นผลมาจากการท่ีกลุ่มตัวอย่างเปล่ียนแปลงไปเพราะ
เวลาเปลี่ยนไป การเปล่ียนแปลงเช่นน้ีอาจเป็นการเปลี่ยนแปลงทางจิตวิทยา หรือทางกายภาพที่อาจท�ำให้
ส่งผลต่อการวัด O2 ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและชีวภาพของกลุ่มตัวอย่าง
(maturation) นอกจากน้ี หากนักวิจัยใช้เคร่ืองมือคนละอย่างกันส�ำหรับวัด O1 และ O2 อาจเป็นไปได้ว่า
ความแตกต่างของ O1 — O2 อาจเกิดจากเครื่องมือท่ีไม่เหมือนกัน ปรากฏการณ์น้ีเรียกว่า เคร่ืองมือและวิธี
การวัดบกพร่อง (instrumentation)