Page 59 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 59

การออกแบบการวิจัย 3-49

       1.4		การออกแบบการวิจัยแบบแฟคทอเรียล (factorial design) รูปแบบการวิจัยเชิงทดลองแบบนี้
คือ รูปแบบท่ี 1.1 และ 1.3 เมื่อตัวแปรอิสระมากกว่า 1 ตัว ตัวอย่างเช่น ถ้าใช้รูปแบบท่ี 1.3 ในการเปรียบ
ซเทึ่งียเปบ็นวิธกีสลอุ่มนคสวาบมคแุมบ)บแ(ลBะ1น=ักวสิจอัยนคโิดดวย่าใคชว้เกามมสBน2ใจ=ขอสงอนนักแเบรียบนใชม้ใีผบลงาตน่อคแะลแะนBน3สอ=บสขออนงนแับกเบรบียรนรดย้วายย
ดังนั้นจึงน�ำนักเรียนมาแบ่งออกเป็นกลุ่มตามระดับความสนใจเรียนของนักเรียน (มี 3 ระดับ คือ สูง กลาง
ต่�ำ) แล้วท�ำการทดลองและได้ข้อมูลการทดลอง ดังภาพท่ี 3.7 ต่อไปน้ี

                                   ความสนใจของนักเรียน                      คา่ เฉล่ยี ใน
                                                                            แนวแถว
สอนโดยใช้เกม (B1)       สูง (A1)   ตำ่� (A2)            กลาง (A3)           Y1. = 12
สอนแบบใช้ใบงาน (B2)                                                         Y2. = 12
สอนแบบบรรยาย (B3)         12         13                    14               Y3. = 12
ค่าเฉลี่ยในแนวคอลัมน์     16          9                    15               Y.. = 11
                          17          8                    13
                       Y11 = 15    Y12 = 10             Y13 = 14

                          6          11                    12
                          8           8                    10
                          10          8                    8
                        Y21 = 8    Y22 = 9              Y23 = 10

                          6          11                    12
                          8           8                    10
                          10          8                    8
                        Y31 = 8    Y32 = 9              Y33 = 10

                       Y.1 = 11.5  Y.2 = 9.5            Y.3 = 12

                       ภาพที่ 3.7 ตัวอยา่ งการออกแบบการวิจยั แบบแฟคทอเรียล

       การออกแบบการวิจัยเช่นน้ี เรียกว่า รูปแบบ 3 × 3 (3 ตัวแรก คือ ระดับของตัวแปรอิสระที่ 1 คือ
B1, B2 และ B3 และ 3 ตัวหลัง คือ ระดับของตัวแปรอิสระตัวท่ี 2 คือ A1, A2 และ A3) การทดลองที่ใช้
รูปแบบการทดลองแบบ factorial จะสามารถศึกษาอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ (interaction) ของตัวแปรอิสระ
ต่าง ๆ ได้ และสถิติวิเคราะห์ท่ีใช้อาจเป็นการวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA)

       การออกแบบการวิจัยท่ีมีตัวแปรอิสระหลายตัวเช่นนี้ สามารถประยุกต์ไปใช้ในการขจัดความคลาด
เคล่ือนจากตัวแปรแทรกซ้อน โดยน�ำตัวแปรแทรกซ้อนเข้ามาศึกษาร่วมกับตัวแปรทดลอง โดยให้ตัวแปร
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64