Page 62 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 62

3-52 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา

โดยใช้ความน่าจะเป็น เริ่มต้นจากการน�ำตัวแปรแทรกซ้อน ซึ่งเป็นตัวแปรที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา เช่น
ตัวแปรภูมิหลังของโรงเรียน ประกอบด้วย จ�ำนวนงบประมาณที่ได้รับ จ�ำนวนครูต่อนักเรียน จ�ำนวน
คอมพวิ เตอร์ วฒุ กิ ารศกึ ษาของครแู ละผบู้ รหิ าร และความสามารถในการบรหิ ารการศกึ ษาของผบู้ รหิ าร ไปทำ� นาย
ตวั แปรดัมมี่ประเภทโรงเรียน (1 = โรงเรียนในเมือง, 0 = โรงเรียนนอกเมือง) ดังสมการต่อไปนี้

log  (  Pr(y                                =  1  ⏐  x)  )  =  α + βX
        Pr(y                                =  0  ⏐  x)

       เม่อื วิเคราะหข์ ้อมลู นด้ี ว้ ยการถดถอยแบบโลจิสติกสแ์ ล้ว กลุ่มตัวอย่างทุกคนจะมคี า่ ความน่าจะเป็น
(propensity) ของการเป็นสมาชิกของโรงเรียนในเมือง ถึงแม้ว่าโรงเรียนบางโรงเรียนจะอยู่นอกเมืองก็ตาม
แต่ก็มีความน่าจะเป็นท่ีจะอยู่ในเมืองซึ่งเป็นค่าท�ำนายที่ได้มาจากการใช้ตัวแปรแทรกซ้อนท�ำนาย โรงเรียนใด
ก็ตามที่มีตัวแปรแทรกซ้อนเหมือนกันก็น่าจะมีความน่าจะเป็นเท่ากัน จากหลักการน้ีจึงน�ำค่าความน่าจะเป็น
ไปเลือกโรงเรียนในเมือง และนอกเมือง ท่ีเป็นโรงเรียนท่ีมีความน่าจะเป็นใกล้เคียงกันมาท�ำการเปรียบเทียบ
คุณภาพการศึกษา เช่น การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนโอเน็ต (O-NET) วิธีการเลือกกลุ่มที่น�ำมาเปรียบ
เทียบดว้ ยวิธีการเช่นนี้จะชว่ ยลดอทิ ธิพลของตัวแปรแทรกซอ้ นได้ เพราะเป็นการเปรยี บเทียบกลมุ่ ท่มี ีภูมิหลัง
ใกล้เคียงกัน

       การใช้วิธีการนี้มีข้อดีอย่างมากตรงที่สามารถน�ำตัวแปรแทรกซ้อนหลาย ๆ ตัวมาควบคุม ซึ่งเป็น
ข้อดีท่ีเด่นกว่าการจับคู่ท่ีเสนอโดยเคอร์ลิงเจอร์ และลี แต่ท้ังน้ี การคัดเลือกตัวแปรแทรกซ้อนต้องเลือก
ตวั แปรทสี่ มั พนั ธก์ บั ตวั แปรตาม จงึ จะเกดิ ประโยชนด์ า้ นการลดความคลาดเคลอ่ื นจากตวั แปรแทรกซอ้ น การ
ใช้ตัวแปรที่ไม่สัมพันธ์กับตัวแปรตามมาวิเคราะห์จะไม่ช่วยลดความคลาดเคล่ือนในการสรุปผล เทคนิคน้ีมี
การน�ำไปใช้กันมากทั้งด้านการวิจัยทางการศึกษา นิเทศศาสตร์ การสาธารณสุข เศรษฐศาสตร์ และรัฐศาสตร์
(Brookman, 2009)

       2.4 	การออกแบบโดยใช้ความไม่ต่อเน่ืองของเส้นการถดถอย (regression-disconnutity design)
เปน็ เทคนิคหน่งึ ของการวจิ ัยก่งึ ทดลอง ทอ่ี ยู่ในประเภทของการวิจยั แบบทดสอบก่อน-ทดสอบหลงั (pre-test
post-test design) โดยด�ำเนินการเร่ิมจากการแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดย
ใช้คะแนนจากการวัดก่อนทดลอง เช่น คะแนนความรู้ก่อนทดลอง (pre-test) เป็นเกณฑ์ในการแบ่งกลุ่ม
ทดลองและกลุ่มควบคุม เช่น การวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาการอ่านหนังสือไม่ออกของนักเรียน อาจเลือกนักเรียน
มาจำ� นวนหนงึ่ แลว้ ทดสอบกอ่ นเรยี น นกั เรยี นทไี่ ดค้ ะแนนนอ้ ยกวา่ 60% กำ� หนดใหเ้ ปน็ กลมุ่ ทดลอง นกั เรยี น
ท่ีได้คะแนนมากกว่า 60% ให้เป็นกลุ่มควบคุม โดยถือว่าคะแนน 60% เป็นจุดตัด (cut-off point) จากนั้น
จึงท�ำการทดลอง แล้ววัดคะแนนหลังทดลอง (post-test) ถ้าพล็อตกราฟคะแนนหลังทดลองระหว่างกลุ่ม
ทดลองและกลุ่มควบคุม จะได้ดังภาพท่ี 3.8 ซึ่งจะเห็นว่าแนวโน้มของกลุ่มทดลองมีคะแนนหลังทดลองสูง
กว่า และ ณ ต�ำแหน่งของจุดตัด มีความแตกต่างของเส้นการถดถอยระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม
ความแตกต่างของคะแนนหลังเรียนของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ณ จุดท่ีมีคะแนนก่อนทดลองเท่ากัน
เป็นดัชนีวัดประสิทธิผล (effect) ของการทดลอง
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67