Page 40 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 40

3-30 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา

ทั้งอิทธิพลของหน่วยการสุ่มแรก (primary unit) เช่น เขต และหน่วยการสุ่มท่ีสอง (secondary unit)
เช่น ครู

            2.1.4	 การสุ่มตัวอย่างแบบหลายข้ันตอน (multistage random sampling) การเลือกตัวอย่าง
หลายข้ันตอนมีประโยชน์มากเม่ือประชากรมีจ�ำนวนมาก และอยู่ต่างภูมิภาคกัน เช่น ประเทศไทยมีโรงเรียน
ประมาณ 30,000 โรงเรียน ถ้าสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายอาจได้โรงเรียนกระจายไปทุกพ้ืนที่ ซึ่งส่วนหนึ่งก็เป็นส่วน
ดีที่ได้กลุ่มตัวอย่างท่ีกระจายไปทุกพื้นท่ี แต่หากนักวิจัยต้องเดินทางไปสัมภาษณ์ครูในโรงเรียนที่สุ่มได้ให้
ครบ อาจเกิดปัญหาเรื่องระยะทางและเวลาในการเดินทางไปสัมภาษณ์ เพราะโรงเรียนแต่ละแห่งอยู่ไกลกัน
มาก และงบประมาณท่ีใช้อาจสูงมาก ท�ำให้การเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างล�ำบากมาก วิธีการที่ช่วย
ให้การเก็บข้อมูลง่ายข้ึน อาจใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ซึ่งเป็นการผสมผสานการสุ่มแบบกลุ่ม
(cluster sampling) และการสุ่มตัวอย่างแบบสุ่ม (random sampling) เข้าด้วยกัน ตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการ
สุ่มเลือกโรงเรียนเพ่ือสอบถามการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในสถานศึกษา นักวิจัยอาจด�ำเนินการสุ่มโดยเริ่มจาก
1) การสุ่มเลือกจังหวัด มา 5 จังหวัด โดยถือว่าเป็นการใช้การสุ่มแบบกลุ่ม 2) สุ่มเลือกอ�ำเภอจากจังหวัดท่ี
สุ่มมา จังหวัดละ 3 อ�ำเภอ โดยใช้การสุ่มแบบกลุ่ม รวมได้ 15 อ�ำเภอ และ 3) เลือกโรงเรียนจากอ�ำเภอที่สุ่ม
เลือกไว้ โดยใช้การเลือกอย่างสุ่มให้ได้จ�ำนวนที่ต้องการ

            2.1.5	 การสมุ่ ตวั อยา่ งแบบเชงิ ระบบ (systematic random sampling) ถือว่าเป็นวิธีการหน่ึงของ
การสุ่มแบบกลุ่ม เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยเลือกทุกคนที่อยู่ล�ำดับที่ k จากรายช่ือของประชากรที่มีอยู่
เช่น การเลือกนักเรียนคนที่ 4 เรือ่ ยไปตามล�ำดบั การสุ่มตัวอย่างแบบน้เี ร่มิ จาก 1) ก�ำหนดขนาดกลมุ่ ตวั อยา่ ง
2) หารายช่ือสมาชิกของประชากรแล้วน�ำมาเรียงล�ำดับ 3) ค�ำนวณล�ำดับที่ (k) ที่จะเลือกกลุ่มตัวอย่างจาก
รายชื่อที่มี โดยค�ำนวณจาก “จ�ำนวนประชากรหารด้วยจ�ำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ต้องการ” 4) สุ่มเลือก
กลุ่มตัวอย่างคนแรกท่ีจะเป็นจุดแรกที่จะเริ่มเลือกกลุ่มตัวอย่าง และ 5) นับและเลือกกลุ่มตัวอย่างทุกคนที่
มีล�ำดับ k ตามล�ำดับ เร่ือยไปจนครบจ�ำนวนตัวอย่างที่ต้องการ

            ตัวอย่างเช่น ถ้ามีนักเรียน 20 คน ต้องการเลือกมาสัมภาษณ์ 4 คน และเรียงรายช่ือของ
นักเรียนตามคะแนนโอเน็ตจากมากไปน้อย ดังตารางที่ 3.5 เมื่อต้องการเลือกนักเรียน 4 คน ดังนั้นต้องเลือก
นักเรียนทุกคนที่อยู่ล�ำดับที่ 20/4 = 5 ถ้าสุ่มเลือกคนเริ่มต้นเป็นคนที่ 2 ดังน้ันคนท่ีจะถูกเลือกเป็นคนถัดไป
คือ คนท่ี 7, 12 และ 17 ตามล�ำดับ ดังนั้น นักเรียนที่เลือกได้จึงประกอบด้วย วารุณี จักรพันธ์ ภูริ และมาลินี

                         ตารางที่ 3.5 ตวั อยา่ งการสุม่ ตัวอย่างแบบเชงิ ระบบ

ล�ำดบั ที่          ชือ่                    คะแนนสอบ O-NET  กลุ่มตัวอย่าง
  1                                                90           วารุณี
  2         สมปอง                                  90
  3         วารุณี                                 87
            วิชา
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45