Page 39 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 39
การออกแบบการวิจัย 3-29
กับว่านักวิจัยมีความสามารถในการรวบรวมรายชื่อประชากรเป้าหมายได้ถูกต้องหรือไม่ ซึ่งนักวิจัยบางคน
อาจจะหารายชอื่ ไดไ้ มค่ รบ แตบ่ างคนอาจนำ� รายชอื่ อนื่ ๆ ทไี่ มเ่ กยี่ วขอ้ งมารวมกนั ซง่ึ ลว้ นทำ� ใหก้ ารสมุ่ ตวั อยา่ ง
ได้ตัวอย่างไม่เป็นตัวแทนประชากรท่ีแท้จริง เมื่อได้กรอบการสุ่มแล้ว นักวิจัยจึงเลือกกลุ่มตัวอย่างจากกรอบ
การสุ่มต่อไป วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างที่นิยมใช้มีดังต่อไปนี้
2.1 การสมุ่ กลุม่ ตัวอยา่ งโดยใชค้ วามนา่ จะเป็น
2.1.1 การสุม่ ตัวอย่างโดยใชก้ ารสุ่มอยา่ งง่าย (simple random sampling) หมายถึง การเลือก
ตัวอย่างจ�ำนวน n จากประชากรท่ีต้องการศึกษา ในการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายนั้น ทุกหน่วยมีโอกาสในการ
ถกู เลอื กเทา่ กนั การเลอื กวธิ กี ารสมุ่ ตวั อยา่ งแบบนต้ี อ้ งมรี ายชอ่ื สมาชกิ ของประชากร (sampling frame) แลว้
เลือกตัวอย่างโดยการสุ่มให้มีจ�ำนวนท่ีต้องการ วิธีการท่ีใช้มาก เช่น การจับฉลาก การสุ่มโดยให้คอมพิวเตอร์
ช่วยเลือกแบบสุ่ม และการสุ่มตัวอย่างจากตารางเลขสุ่ม
2.1.2 การสุ่มตวั อยา่ งแบบแบง่ ชั้น (stratified random sampling) ในการเลือกการสุ่มตัวอย่าง
แบบแบ่งชั้น ประชากรจะถูกแบ่งออกเป็นช้ัน (strata) หลาย ๆ ชั้นจากน้ันจึงเลือกตัวอย่างอย่างสุ่มจาก
ช้นั ตา่ ง ๆ ใหไ้ ด้จำ� นวนทีต่ ้องการ ตัวอยา่ งเช่น ถา้ เลือกโรงเรียนมาทำ� การศกึ ษาวจิ ยั โดยใชโ้ รงเรียนเป็นหน่วย
ในการวิเคราะห์ ตัวแปรท่ีใช้ในการแบ่งช้ันอาจเป็นขนาดโรงเรียน (เล็ก กลาง ใหญ่) และท่ีต้ังของโรงเรียน
(นอกเมือง และในเมือง) ดังนั้นประชากรโรงเรียนจะแบ่งออกเป็น 6 ช้ัน ดังกรอบที่เป็นสีเทาในตารางท่ี 3.4
ต่อไปนี้ จากน้ันจึงสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างให้ได้ครบจ�ำนวน
ตารางที่ 3.4 ตวั อยา่ งการออกแบบการเลอื กตวั อย่างดว้ ยการสมุ่ ตัวอยา่ งแบบแบง่ ชัน้
ท่ตี ้ัง ขนาดโรงเรยี น รวม
เล็ก กลาง ใหญ่
นอกเมือง
ในเมือง
รวม
2.1.3 การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (cluster random sampling) ในการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม
(cluster) ประชากรของการวิจัยแต่ละหน่วยจะถูกยุบรวมกันให้เป็นหน่วยการสุ่มหลาย ๆ หน่วย (clusters)
โดยส่วนใหญ่การสุ่มแบบนี้ใช้เม่ือนักวิจัยไม่มีรายชื่อสมาชิกของประชากรทุกหน่วย จึงไม่สามารถใช้การสุ่ม
อย่างง่ายได้ เช่น นักวิจัยต้องการสอบถามปริมาณเวลาที่ครูในกรุงเทพมหานครใช้เตรียมการสอน แต่นักวิจัย
ไม่ทราบรายชื่อของครูทุกคน แต่มีรายช่ือของโรงเรียนในทุกเขต นักวิจัยอาจเลือกเขตในกรุงเทพฯ มาจ�ำนวน
10 เขต แล้วให้ครูทุกคนใน 10 เขต ตอบแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ได้เรียกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ได้มาจาก
การสุ่มแบบกลุ่ม นอกจากนี้ การสุ่มตัวอย่างแบบนี้จะใช้เมื่อนักวิจัยมีงบประมาณจ�ำกัด หรือต้องการศึกษา