Page 36 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 36
3-26 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
การวิเคราะห์ข้อมูลเช่นน้ีสอดคล้องกับความเป็นจริงมากกว่าการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ เพราะค่าเฉลี่ย
และความสัมพันธ์ของตัวแปรของโรงเรียนต่าง ๆ อาจมีความแตกต่างกัน เมื่อโรงเรียนมีความแตกต่างกัน
แนวคิดนี้สอดคล้องกับบริบทของการศึกษาที่ยังมีความเหลื่อมล้�ำในการจัดการศึกษา ดังนั้นวิธีการวิเคราะห์
พหุระดับจึงมีประโยชน์ในการวิจัย และการประเมินประสิทธิภาพของการจัดการศึกษามาก และเป็นวิธีการ
ส�ำคัญวิธีการหนึ่งในการประเมินนโยบายการศึกษา เช่น การประเมินมูลค่าเพิ่มของการจัดการศึกษา (value-
added model) ซึ่งเป็นโมเดลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของการจัดการศึกษาประเภทหน่ึง
แนวคิดของการวิเคราะห์พหุระดับสรุปย่อ ๆ ได้ดังตัวอย่างต่อไปนี้ ถ้านักวิจัยต้องการศึกษา
ปัจจัยที่สัมพันธ์กับผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนของนักเรียน ตัวแปรตามที่ต้องการวิเคราะห์ คือ ผลสัมฤทธ์ิ
ทางการเรียน ซึ่งอาจเป็นคะแนนสอบโอเน็ต (O-NET) หรือคะแนนผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนวิชาใดก็ได้ และ
ปัจจัยท่ีส่งผลต่อคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนคนหนึ่ง ๆ มีทั้งปัจจัยของนักเรียนเอง และ
ปจั จยั ช้ันเรียนด้วย ปจั จยั ระดบั นักเรยี นอาจเปน็ ไอคิว และสถานภาพทางเศรษฐกจิ ของครอบครัว ส่วนปัจจัย
ระดับช้ันเรียนอาจเป็นการศึกษาและประสบการณ์ท�ำงานของครู เป็นต้น แนวคิดน้ีถือว่าการท่ีนักเรียนมี
ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนสูงหรือต่�ำมาจากปัจจัยของนักเรียนและปัจจัยของครู ค�ำตอบท่ีว่าท�ำไมจึงต้อง
วิเคราะห์พหุระดับแสดงในภาพท่ี 3.6 ซึ่งแสดงผลการวิเคราะห์การถดถอยของค่าเฉลี่ยคะแนนผลสัมฤทธ์ิ
ทางการเรียนของห้องเรียน 1,000 ห้อง โดยมีตัวแปรท�ำนาย คือ ไอคิว (iqvc) จะเห็นว่าค่าคงท่ี (intercept)
และค่าความชันของแต่ละห้องเรียนไม่เหมือนกัน สะท้อนว่า ค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนของแต่ละ
หอ้ งเรยี นไมเ่ หมอื นกนั และความสมั พนั ธข์ องผลสมั ฤทธทิ์ างการเรยี นและไอควิ แตกตา่ งกนั ระหวา่ งหอ้ งเรยี น
การจะถือว่าค่าเฉล่ียและความสัมพันธ์ของผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนและไอคิวของทุกห้องเรียนเหมือนกันจึง
ไม่เหมาะสม ถ้านักวิจัยสนใจว่าปัจจัยของนักเรียน และปัจจัยของห้องเรียนอะไรบ้างท่ีสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียน ผู้วิจัยจะก�ำหนดให้ปัจจัยนักเรียนเป็นปัจจัยระดับที่หน่ึง และปัจจัยของครูเป็นปัจจัยระดับที่
สอง การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์การถดถอยโดยถือว่าปัจจัยนักเรียนและปัจจัยครูอยู่ระดับเดียวกัน
หรืออยู่ในสมการถดถอยเดียวกัน จะให้ผลการวิเคราะห์ที่ไม่ถูกต้อง และไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง แต่
อย่างไรก็ตาม ดัชนีทใี่ ชใ้ นการตรวจสอบวา่ สมควรจะวเิ คราะหข์ อ้ มลู ดว้ ยการวเิ คราะหพ์ หรุ ะดบั หรอื ไม่ คอื สห
สมั พนั ธภ์ ายในชน้ั (intraclass correlation: ICC) ICC ควรมีค่าต้ังแต่ 0.2 ข้ึนไปจึงเหมาะสมท่ีจะวิเคราะห์
พหุระดับ