Page 30 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 30
3-20 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
การพัฒนาตัวชี้วัด และการพัฒนาเครื่องมือวัด เช่น การต้ังค�ำถามวิจัยว่า การท่ีจะประเมินว่าโรงเรียนที่พร้อม
จะด�ำเนินงานตามอ�ำนาจได้รับจากการกระจายอ�ำนาจจากส่วนกลางเป็นโรงเรียนท่ีมีลักษณะอย่างไร หรือการ
ต้ังค�ำถามวิจัยว่าการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนมีองค์ประกอบอะไรบ้าง และการวัดทักษะการคิดแก้ปัญหา
ของนักเรียนควรจะวัดองค์ประกอบของการคิดด้านใดบ้าง การวิจัยประเภทน้ีส่วนใหญ่ใช้การวิเคราะห์
องค์ประกอบ (factor analysis)
4. ค�ำถามวิจัยเก่ียวกับความสัมพันธ์ (questions of relationship) ค�ำถามวิจัยประเภทนี้มุ่งศึกษา
ความสัมพันธ์ของตัวแปรว่าสัมพันธ์กันมากน้อยเพียงใด เช่น การตั้งค�ำถามวิจัยว่าคะแนนสอบโอเน็ตวิชา
ต่าง ๆ ของโรงเรียนสัมพันธ์กับคะแนนการประเมินคุณภาพโรงเรียนของสมศ. หรือไม่ อย่างไร หรือค�ำถาม
วิจัยว่า ความก้าวหน้าทางวิชาชีพของครูสัมพันธ์กับคะแนนสอบของนักเรียนหรือไม่ อย่างไร หรือความ
สัมพันธ์ของการศึกษาของครูกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โปรดระลึกอยู่เสมอว่า ผลการศึกษา
ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรนั้น ไม่สามารถน�ำผลการวิจัยไปสรุปถึงความเป็นสาเหตุผลลัพธ์ของตัวแปร
(causal relationship) ได้ ถึงแม้ว่าจะพบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสูง เพราะว่าความสัมพันธ์ไม่สามารถ
บอกความเป็นสาเหตุได้อย่างเพียงพอ เช่น ถ้าพบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างความก้าวหน้าทางวิชาชีพของครู
กับคะแนนสอบของนักเรียนสูง นักวิจัยไม่อาจน�ำไปสรุปได้ว่าความก้าวหน้าทางวิชาชีพของครูท�ำให้นักเรียน
มีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนสูง หรือผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนส่งผลให้ครูมีความก้าวหน้าทางวิชาชีพ การศึกษา
ที่สามารถบอกความเป็นสาเหตุ-ผลลัพธ์ท่ีดีที่สุด คือ การวิจัยเชิงทดลอง
5. ค�ำถามวิจัยเก่ยี วกับการเปรียบเทียบ-อธิบาย (descriptive-comparative questions) ค�ำถามวิจัย
ประเภทน้ีมุ่งอธิบายความแตกต่างของกลุ่มตัวอย่างกลุ่มย่อย (subgroups) ในประชากรกลุ่มใหญ่ เช่น การ
ศึกษาเปรียบเทียบว่านักเรียนชายและหญิงมีความสนใจด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่างกันหรือไม่ ครู
ท่ีท�ำวิจัยและครูที่ไม่ท�ำวิจัยมีทักษะการสอนต่างกันหรือไม่ ครูที่มีวิทยฐานะต่างกันจัดการเรียนการสอนมี
คุณภาพต่างกันหรือไม่ เป็นต้น การเปรียบเทียบเช่นน้ีใช้ตัวแปรท่ีไม่ใช่ตัวแปรทดลองเป็นการจัดกลุ่ม
และเปรียบเทียบ หรือตัวแปรท่ีมีอยู่ในสังคมแล้ว โดยส่วนใหญ่งานวิจัยประเภทนี้เป็นการเปรียบเทียบความ
แตกตา่ งของกลมุ่ ทจี่ ำ� แนกตามภมู หิ ลงั แตไ่ มใ่ ชก่ ารเปรยี บเทยี บตามรปู แบบการวจิ ยั เชงิ ทดลอง อยา่ งไรกต็ าม
การวจิ ยั ประเภทนกี้ ม็ จี ดุ มงุ่ หมายเพอ่ื หาความสมั พนั ธเ์ ชงิ สาเหตขุ องตวั แปรทศี่ กึ ษา ดงั นนั้ นกั วจิ ยั ทจี่ ะทำ� การ
วิจยั เพอื่ เปรียบเทยี บเชน่ นจี้ งึ ตอ้ งพยายามทำ� ใหต้ วั แปรแทรกซอ้ นมผี ลต่อการศกึ ษานอ้ ยที่สดุ เพอ่ื ใหส้ ามารถ
ตอบค�ำถามเชิงสาเหตุได้
การตงั้ คำ� ถามวจิ ยั เหลา่ นเี้ ปน็ จดุ เรมิ่ ตน้ ของการออกแบบการวจิ ยั ทต่ี อ้ งออกแบบอยา่ งเหมาะสมเพอ่ื
ให้สามารถท�ำการวิจัยและได้ผลการวิจัยท่ีสามารถตอบค�ำถามวิจัยได้
หลงั จากศึกษาเนอื้ หาสาระเรอ่ื งที่ 3.2.1 แลว้ โปรดปฏบิ ัติกจิ กรรม 3.2.1
ในแนวการศกึ ษาหน่วยที่ 3 ตอนท่ี 3.2 เรอื่ งท่ี 3.2.1