Page 69 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 69

การออกแบบการวิจัย 3-59
       2.	 ความตรงภายนอก การวจิ ัยเชงิ ทดลองถา้ จะมคี วามตรงภายนอกกต็ อ่ เมือ่ ผลการวิจยั นั้นสามารถ
สรุปอ้างอิงไปยังประชากรได้ หรือขยายผลการวิจัยไปยังบริบทหรือขอบเขตอ่ืน ๆ ได้ ซึ่งขอบเขตที่ต้องการ
สรุปอ้างอิงไปถึง คือ ปัจจัยที่เก่ียวข้องกับการทดลอง การวัด ประชากร และเครื่องมือต่าง ๆ ในระดับที่กว้าง
มากข้ึน
       ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตรงภายใน
       1)	เหตกุ ารณแ์ ทรก (history) หมายถึง การท่ีกลุ่มตัวอย่างได้รับส่ิงต่าง ๆ ระหว่างการทดลองท่ีมีผล
ให้มีค่าของตัวแปรตามเปล่ียนไป หรือเป็นเหตุการณ์ท่ีแทรกเข้ามาท�ำให้ผลการวิจัยบิดเบือน
       2)	การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและชีวภาพของกลุ่มตัวอย่าง (maturation) หมายถึง การท่ีกลุ่ม
ตัวอย่างมีการเปล่ียนแปลงไปตามวัย หรือมีการเปล่ียนแปลงทางจิตวิทยา ชีวภาพ และทางร่างกาย การ
เปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจส่งผลต่อผลการทดลองด้วย
       3)	การทดสอบ (testing) หมายถึง การวัดคร้ังหน่ึง ๆ ส่งผลต่อคะแนนการวัดครั้งต่อไป
       4)	เครือ่ งมือและวิธีการวัด (instrumentation) หมายถึง การที่เครื่องมือการวัดมีการเปลี่ยนแปลง
ไป (เฉพาะกรณีที่มีการวัดหลายครั้ง) เช่น สเกลของเคร่ืองมือเปล่ียน ไม่เหมือนเดิม
       5)	การถดถอยทางสถติ ิ (statistical regression) หมายถึง การท่ีกลุ่มตัวอย่างบางคนมีแนวโน้มที่จะ
มีคะแนนเปลี่ยนไปสู่ค่าเฉล่ียของกลุ่มเม่ือมีการวัดหลายคร้ัง ปัญหานี้มักจะเกิดข้ึนกับกลุ่มตัวอย่างท่ีเลือก
มาจากคนที่ได้คะแนนสูงหรือต่�ำมากในข้ันตอนการเลือกกลุ่มตัวอย่าง
       6)	ความลำ� เอยี งในการเลอื กกลมุ่ ตวั อยา่ ง (selection) หมายถงึ การเลอื กกลมุ่ ตวั อยา่ งในกลมุ่ ควบคมุ
และกลุ่มทดลองได้แตกต่างกัน
       7)	กลุ่มตัวอย่างสูญหาย (mortality) หมายถึง การท่ีกลุ่มตัวอย่างไม่อยู่ในการทดลองอีกต่อไป
ซ่ึงอาจเกิดจากสาเหตุหลายประการ เช่น การปฏิเสธที่จะเข้าร่วมวิจัยต่อไป การเสียชีวิต หรือการย้ายถ่ิน
       8)	ปฏิสัมพันธ์ของการเลือกและวุฒิภาวะ และอ่ืน ๆ (selection-maturation interaction, etc)
หมายถึง การออกแบบการวิจัยท่ีอาจส่งผลต่อผลการวิจัย
       Cook และ Campbell (1979) สรุปปัจจัยส�ำคัญที่มีผลต่อความตรงภายนอกของการวิจัย
ซึ่งประกอบด้วย
       1.	 ปฏิสัมพนั ธข์ องการเลือกกล่มุ ตัวอยา่ งและตัวแปรทดลอง (interaction of selection and treat-
ments) การใช้ทรีตเมนต์กับกลุ่มตัวอย่างท่ีต่างกันอาจได้ผลการวิจัยท่ีไม่ต่างกันท�ำให้ความตรงภายนอกลด
ลง วิธีควรปฏิบัติในการทดลองเพ่ือหลีกเลี่ยงปัญหานี้ คือ การจัดบรรยากาศของการทดลองให้สบาย ผู้เข้า
ร่วมการทดลองมีความเต็มใจ ไม่มีการบังคับ และปลอดจากภาระงาน
       2.	 ปฏิสัมพันธ์ของบริบทและตัวแปรทดลอง (interaction of setting and treatments) การใช้
ทรีตเมนต์กับกลุ่มตัวอย่างในบริบทท่ีต่างกัน เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล หรือโรงงาน อาจจะได้ผลไม่เท่ากัน
แนวทางการแก้ไขปัญหา คือ การท�ำวิจัยให้ครอบคลุมทุกบริบท และมีการประสานงานเพ่ือขอความร่วมมือ
ในการวิจัยกับหน่วยงานท่ีเกี่ยวข้อง
       3.	 ปฏิสัมพันธ์ของเหตุการณ์แทรกและตัวแปรทดลอง (interaction of history and treatments)
การใช้ทรีตเมนต์กับกลุ่มตัวอย่างในวันและเวลาบางอย่าง อาจท�ำให้มีปัญหาในการสรุปผลการวิจัยไปยังวัน
   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74