Page 73 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 73

การออกแบบการวิจัย 3-63

เรอ่ื งท่ี 3.4.1	 ค�ำถามวจิ ัยเชงิ คุณภาพ

       การวจิ ยั เชงิ คณุ ภาพ คอื วธิ กี ารหาความรโู้ ดยการพจิ ารณาปรากฏการณข์ องสงั คมจากสภาพแวดลอ้ ม
ตามความเป็นจริงในทุกมิติ เพื่อพิจารณาหาความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์กับสภาพแวดล้อมน้ัน การวิจัย
ชนิดน้ีเป็นการแสวงหาความรู้ โดยจะเน้นความส�ำคัญของข้อมูลด้านความรู้สึกนึกคิด การให้ความหมายหรือ
คุณค่าแก่ส่ิงต่าง ๆ ตลอดจนค่านิยมและอุดมการณ์ของบุคคลท่ีเก่ียวข้องกับปรากฏการณ์นั้น ๆ นอกเหนือ
จากข้อมูลเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพมักเป็นการศึกษาติดตามระยะยาว และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบ
ตีความสร้างข้อสรุปแบบอุปนัยเป็นหลัก จุดมุ่งหมายของการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ การเข้าใจความเป็นจริง
ของสังคมทุกมิติ โดยประเด็นท่ีการวิจัยเชิงคุณภาพต้องการศึกษา คือ การเข้าใจพฤติกรรมทางสังคมของ
มนุษย์ แบบแผนทางสังคมที่มีผลต่อพฤติกรรมของมนุษย์ นอกจากน้ีการวิจัยเชิงคุณภาพยังมุ่งศึกษา
ความหมายของส่ิงต่าง ๆ ท่ีสังคมร่วมกันก�ำหนดข้ึน (สุภางค์ จันทวานิช, 2543)

       สุภางค์ จันทวานิช (2543) อธิบายว่าการวิจัยเชิงคุณภาพมีลักษณะดังน้ี
       1.	เน้นการมองปรากฏการณ์ให้เห็นภาพรวม โดยการมองจากหลายแง่มุม หรือใช้แนวคิดทฤษฎีที่
หลากหลาย เพื่อให้เข้าใจปรากฏการณ์ต่าง ๆ อย่างสมบูรณ์
       2.	เป็นการศึกษาติดตามระยะยาวและเจาะลึก เพ่ือให้เข้าใจความเปล่ียนแปลงของปรากฏการณ์ท่ี
มีความเป็นพลวัต จึงใช้เวลาในการศึกษานานเพ่ือศึกษาข้อมูลเชิงลึก จนได้ข้อมูลที่เจาะลึก ลึกซึ้ง และมอง
ได้หลายแง่มุม
       3.	ศึกษาปรากฏการณ์ในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ เพ่ือให้มองเห็นบริบททางสังคม และ
วัฒนธรรมตามความเป็นจริง ไม่มีการควบคุม และทดลอง ส่วนใหญ่เป็นการวิจัยภาคสนาม
       4.	ค�ำนึงความเป็นมนุษย์ของผู้ถูกวิจัย ด้วยการให้ความเคารพผู้ถูกวิจัย มีการสร้างความสนิทสนม
และความไว้เนื้อเชื่อใจ ไม่มีการเปิดเผยข้อมูลของผู้ถูกวิจัยให้เกิดความเสียหาย
       5.	ใชก้ ารพรรณนาและการวิเคราะหแ์ บบอปุ นัย โดยตอ้ งมีการบรรยายสภาพขอ้ มลู เก่ยี วกับลักษณะ
ที่ตั้ง สภาพลมฟ้าอากาศ การด�ำเนินชีวิตในด้านต่าง ๆ เช่น การท�ำมาหากิน ความเชื่อ ขนบธรรมเนียม
ประเพณี เพ่ือให้เข้าใจปรากฏการณ์ดีข้ึน ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลจะใช้การสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย คือการน�ำ
ข้อมูลเชิงรูปธรรมหลาย ๆ อย่าง มาสรุปเป็นข้อสรุปเชิงนามธรรมโดยพิจารณาจากลักษณะร่วมท่ีพบ
       การตั้งค�ำถามวิจัยเชิงคุณภาพมาจากความสนใจของนักวิจัย นักวิจัยอาจมีจุดเริ่มต้นที่ต่างกัน
บางคนมีค�ำถามวิจัยจากประสบการณ์ส่วนตัว บางคนได้มาจากการท�ำงาน เป็นต้น โดยท่ัวไปค�ำถามวิจัยท่ี
เหมาะสมที่จะใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพศึกษา คือ

            1)	คำ� ถามวจิ ัยทม่ี ีความซบั ซอ้ น ไมส่ ามารถใช้แบบแผนการวิจยั แบบดั้งเดิมศกึ ษา ค�ำถามวิจยั
ประเภทนี้เก่ียวกับความรู้สึกนึกคิดของคน ดังน้ัน วิธีการเชิงคุณภาพจะให้ข้อมูลตรงกับความต้องการของ
นักวิจัยมากกว่าการวิจัยเชิงปริมาณ ตัวอย่างค�ำถามวิจัยเชิงคุณภาพ เช่น ทัศนคติของนักเรียนเกี่ยวกับ
โลกาภิวัตน์ และโลกาภิวัตน์มีผลต่อการแสวงหาความรู้ของนักเรียนอย่างไร
   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78