Page 74 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 74

3-64 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา

            2)	เรอ่ื งทตี่ อ้ งการศกึ ษามที ฤษฎรี องรบั นอ้ ย หรอื ขาดทฤษฎที จ่ี ะชนี้ ำ� ทางในการศกึ ษา การวจิ ยั
เชิงคุณภาพจึงเป็นจุดเร่ิมต้นที่ดีท่ีจะสร้างทฤษฎีใหม่ หรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ เช่น ผลการวิจัยเชิงปริมาณ
พบว่า นักเรียนเรียนวิทยาศาสตร์ได้น้อยลงกว่าปกติ เมื่อครูสอนโดยใช้การสอนแบบสืบสอบ ซึ่งขัดแย้งกับ
แนวคิดการสอนวิทยาศาสตร์ นักวิจัยอาจใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อหาข้อมูลมาอธิบายผลการค้นพบจาก
การวิจัยเชิงปริมาณ

       หมายเหตุ ประเด็นค�ำถามวิจัยของการวิจัยเชิงคุณภาพไม่ต่างจากการวิจัยรูปแบบอื่น ๆ คือ การมุ่ง
อธิบายปรากฏการณ์ การเปรียบเทียบ และการวิเคราะห์สาเหตุ-ผลลัพธ์ ที่แตกต่างไปจากการวิจัยอื่น ๆ คือ
วิธีการท่ีใช้แตกต่างจากงานวิจัยอื่น กล่าวคือ การวิจัยน้ีเน้นวิธีการเชิงคุณภาพท้ังในด้านการเก็บรวบรวม
ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการแปลผลข้อมูลท่ีได้มา

              หลงั จากศกึ ษาเน้ือหาสาระเรอ่ื งที่ 3.4.1 แลว้ โปรดปฏบิ ตั ิกจิ กรรม 3.4.1
                      ในแนวการศกึ ษาหน่วยท่ี 3 ตอนที่ 3.4 เรอื่ งท่ี 3.4.1

เร่อื งที่ 3.4.2	 การออกแบบการวจิ ยั เชงิ คณุ ภาพ

       การออกแบบการวิจัยเชิงคุณภาพเริ่มจากการก�ำหนดค�ำถามวิจัย ค�ำถามวิจัยเชิงคุณภาพส่วนใหญ่
เป็นค�ำถามท่ีซับซ้อน วิธีการที่จะได้ข้อมูลมาต้องใช้วิธีการเชิงคุณภาพ การใช้วิธีการเชิงปริมาณจะได้ข้อมูล
ไม่ครบถ้วนเพียงพอ ซึ่งโดยส่วนมากผู้วิจัยต้ังค�ำถามวิจัยเชิงปริมาณ เม่ือยังขาดทฤษฎีหรือข้อมูลที่เพียงพอ
ส�ำหรับการท�ำวิจัยเชิงปริมาณ หลังจากนั้นจึงระบุวัตถุประสงค์ของการวิจัย ซ่ึงควรสอดคล้องกับค�ำถามวิจัย
และมีความชัดเจนเพียงพอที่จะท�ำวิจัยได้ ข้ันตอนต่อไป คือ การเลือกวิธีการวิจัย การก�ำหนดกลุ่มตัวอย่าง
การเตรียมตวั ท�ำงานภาคสนาม การตรวจสอบความถูกตอ้ งของผลการศึกษา และแนวทางการวิเคราะห์ขอ้ มลู

1.	 การเลือกวิธีการหรอื รปู แบบการวจิ ยั

       รปู แบบการวจิ ยั เชงิ คณุ ภาพทเ่ี หมาะสมกบั คำ� ถามวจิ ยั และวตั ถปุ ระสงคข์ องการวจิ ยั เพอ่ื ใหส้ ามารถ
ตอบค�ำถามวิจัยได้ถูกต้อง รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพมีหลายรูปแบบ รูปแบบท่ีส�ำคัญและใช้กันมาก
มี 4 อย่าง คือ

       1.1	การศกึ ษาปรากฏการณศ์ าสตร์ (Phenomenology) การศึกษาปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เพ่ืออธิบาย
เหตุการณ์ สถานการณ์ ประสบการณ์ หรือแนวคิดของบุคคลในปรากฏการณ์หนึ่ง ๆ การศึกษาว่าการปฏิรูป
การศึกษาส่งผลต่อแนวคิดและการปฏิบัติของครูอย่างไร และการเปลี่ยนแปลงของครูท่ีเกิดจากผลของ
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79