Page 79 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 79
การออกแบบการวิจัย 3-69
ความคิดเห็นซ่ึงกันและกันอย่างกว้างขวางของผู้เข้าร่วมการสนทนากันเองกับผู้วิจัย การถกประเด็น
สนทนามีความอิสระในการแสดงความคิดเห็นตลอดจนการโต้แย้ง ผู้วิจัยจึงได้จัดสนทนากลุ่มโดยมี
เป้าหมายเพ่ือ 1) ตรวจสอบการด�ำเนินงานในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา และ 2) เพื่อ
ตรวจสอบผลท่ีเกิดข้ึนจากการด�ำเนินงานในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน การจัดกระท�ำข้อมูล ผู้วิจัย
น�ำข้อมูลที่ได้จากขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูล มาท�ำการลดทอนข้อมูลตรวจสอบข้อมูล วิเคราะห์
ข้อมูล โดยกระบวนการท้ัง 3 กระบวนการนี้จะท�ำควบคู่กันไปกับกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูล และ
ขั้นตอนสุดท้ายน�ำข้อมูลที่ได้มาเขียนรายงานการวิจัย 1) การลดทอนข้อมูล (data reduction) การลด
ทอนข้อมูล หมายถึง วิธีการ “เลือกเฟ้นหาจุดท่ีน่าสนใจ อันจะท�ำให้เข้าใจง่ายสรุปย่อ ปรับข้อมูลดิบที่
เกบ็ จากสนาม” การปรบั ลดทอนขอ้ มลู ดบิ นนั้ นกั วจิ ยั ทำ� อยตู่ ลอดเวลาตงั้ แตก่ ารเลอื กสนาม การตดั สนิ ใจ
ว่าจะเก็บข้อมูลอะไรท่ีจะแสดงแนวคิดและในช่วงการเก็บข้อมูลก็กระท�ำเช่นเดียวกัน คือ การลงรหัส
การทดสอบแนวคิด รวมเป็นกลุ่มแบ่งเป็นส่วน ๆ เขียนข้อสรุปช่ัวคราว และแปลงข้อมูลอยู่ตลอดเวลา
จนกระท่ังเขียนรายงานเสร็จ นักวิจัยเป็นผู้ตัดสินใจว่าข้อมูลกลุ่มไหนจะลงรหัส กลุ่มไหนจะใช้สรุป
กลุ่มไหนไม่ใช้เพราะซ้�ำกับกลุ่มก่อน และ 2) การตรวจสอบข้อมูล ผู้วิจัยท�ำการตรวจสอบข้อมูลโดย
พิจารณาถึงความพอเพียง ความถูกต้อง และความน่าเช่ือถือ โดยการตรวจสอบแบบสามเส้า (trian-
gulation) คือ เก็บข้อมูลจากหลาย ๆ ฝ่าย หรือหลาย ๆ วิธีในการเก็บรวบรวมข้อมูลในเร่ืองเดียวกัน
โดยสอบถามจากผใู้ หข้ อ้ มลู เชน่ ครผู สู้ อน ผบู้ รหิ าร ผปู้ กครอง และนกั เรยี นในประเดน็ เดยี วกนั พรอ้ ม
กับการสงั เกตพฤติกรรมปฏสิ มั พนั ธ์ของกลุม่ ผูใ้ หข้ ้อมูลเหล่านี้ จนกระทั่งได้ความคิดเห็นในเรือ่ งน้ัน ๆ
ออกมาตามท่ีคนในสังคมรู้สึก
การด�ำเนินการวิจัย
ผู้วิจัยใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (participant observation) การสัมภาษณ์แบบไม่เป็น
ทางการ (informal interview) และแบบเจาะลึก (in-depth interview) การวิเคราะห์เอกสาร
(documentary analysis) และการสนทนากลุ่ม (focus group discussion) โดยผู้วิจัยท�ำการเก็บ
ข้อมูลภาคสนามด้วยตนเอง ซ่ึงแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ
ระยะท่ีหน่ึง เป็นการศึกษาก่อนลงภาคสนามเพื่อก�ำหนดกรอบในการสังเกต การวิเคราะห์
เอกสาร และแนวค�ำถามท่ีใช้ในการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูล
ผู้วิจัยได้ท�ำการศึกษาก่อนลงภาคสนาม โดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยท่ีเกี่ยวข้อง การ
ขอค�ำปรึกษาจากอาจารย์ท่ีปรึกษา ผู้เช่ียวชาญ ผู้ให้ความรู้ในประเด็นการวิจัย และผู้มีประสบการณ์
การวิจัยในระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งช่วยให้ผู้วิจัยสามารถมองปัญหาวิจัยได้ชัดเจนข้ึน ตลอดจน
การเลือกกรณีศึกษาและการเลือกผู้ให้ข้อมูล โดยมีรายละเอียดดังน้ี
1. การศึกษาเอกสารและงานวิจยั ท่ีเก่ียวขอ้ ง (documentary research) ผู้วิจัยศึกษาเอกสาร
และงานวิจัยที่เก่ียวข้องกับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน และการวิจัยเชิงคุณภาพแบบ
กรณีศึกษา เพ่ือก�ำหนดกรอบแนวคิดในการสังเกต การสัมภาษณ์ และการวิเคราะห์เอกสาร