Page 82 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 82

3-72 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา

  การสังเกตแบบมีส่วนร่วม ได้ท�ำการสังเกตการท�ำหน้าที่ของครูประจ�ำชั้น การจัดกิจกรรมกลุ่มก่อนเข้า
  ช้ันเรียน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การประชุมครู การประชุมคณะกรรมการนักเรียน โดยผู้
  วิจัยใช้กรอบการสังเกตของ Loftland (1971) 6 หน่วย ได้แก่ (1) การกระท�ำ (acts) คือ พฤติกรรม
  ของคนที่อยู่ในพื้นท่ีของกรณีศึกษาแสดงออกในเรื่องต่าง ๆ เช่น การพูดคุย การซักถาม พฤติกรรม
  การสอนของครู พฤติกรรมนักเรียน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารกับครู (2) กิจกรรม (activities) คือ
  พฤติกรรมของคนที่อยู่ในพื้นท่ีของกรณีศึกษาที่เป็นขั้นตอนในการงาน การกระท�ำของคนหลาย ๆ
  คนที่แสดงความส�ำคัญและเก่ียวข้อง ซึ่งเป็นพฤติกรรมท่ีมีกระบวนการ มีข้ันตอน แบบแผน
  (3) ความหมาย (meaning) คือ ผู้วิจัยสังเกตการให้ความหมายของการกระท�ำหรือกิจกรรม โดยค�ำ
  พูดท่ีแสดงออกของกลุ่มผู้ให้ข้อมูล เช่น การรู้จักนักเรียนของครูประจ�ำช้ัน การแก้ไขและส่งเสริม
  นักเรียน (4) ความสัมพันธ์ (relation) คือ ความเก่ียวข้องระหว่างคนในพ้ืนท่ีกรณีศึกษา เช่น ความ
  สัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้บริหาร ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูผู้สอนกับนักเรียนในระหว่างการเรียนการสอน
  (5) การมีส่วนร่วมในกิจกรรม (participation) คือ การพิจารณาบทบาทของผู้ให้ข้อมูลท่ีแสดงบทบาท
  ในโรงเรียน เช่น การเข้าร่วมประชุม การท�ำงานตามท่ีได้รับมอบหมาย การติดตามนักเรียน และ
  (6) สถานที่ (setting) คือ สถานการณ์และสภาพท่ีเกิดข้ึนภายในโรงเรียนและห้องเรียนของครูที่เป็น
  ผู้ให้ข้อมูล เช่น การจัดการเรียนการสอน บรรยากาศในช้ันเรียน

         ส�ำหรับการสัมภาษณ์ ผู้วิจัยใช้การสัมภาษณ์ครูและผู้บริหารแบบไม่เป็นทางการ เน้นการพูด
  คุยอย่างเป็นกันเอง มีลักษณะดังนี้ 1) การสัมภาษณ์แบบเปิดกว้างไม่จ�ำกัดค�ำตอบ ให้ผู้ให้ข้อมูลตอบ
  อย่างอิสระ 2) การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกเพ่ือให้ข้อมูลท่ีผู้วิจัยสนใจเป็นพิเศษ และ 3) การสัมภาษณ์
  แบบตะล่อมกล่อมเกลา เป็นการสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ค�ำถาม เพื่อให้ผู้ให้
  ข้อมูลเปิดเผยข้อมูลให้มากที่สุด

         การวิเคราะห์เอกสาร (documentary analysis) ผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์เอกสารต่าง ๆ ท่ี
  รวบรวมมาได้น�ำมาจัดหมวดหมูเ่ พือ่ ใช้ประกอบขอ้ มลู ท่ไี ด้จากการสมั ภาษณแ์ ละการสงั เกต รวมท้ังการ
  วิเคราะห์เพื่อสรุปข้อมูล

         ระยะทส่ี ่ี ตรวจสอบข้อมูลการด�ำเนินงานช่วยเหลือนักเรียนจากนักเรียนและครูท่ีปรึกษาโดย
  ใช้เทคนิคการสนทนากลุ่ม

  การวเิ คราะหข์ อ้ มลู

         ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลหลากหลายวิธี มีการศึกษาอย่างเป็นกระบวนการต่อเนื่อง ท�ำให้
  วิเคราะห์ข้อมูลได้ท�ำควบคู่กันทั้งกระบวนการ การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูล 4 ลักษณะ ดังน้ี
  1) การวิเคราะห์เน้ือหา (content analysis) โดยน�ำเอกสารและข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์แล้วจัด
  ระบบข้อมูลที่วิเคราะห์ได้ก่อนน�ำมาสังเคราะห์ แล้วน�ำเสนอในรูปแบบของการบรรยาย 2) การจ�ำแนก
  ขอ้ มลู (typological analysis) โดยใชก้ ารจำ� แนกแบบใชแ้ นวคดิ ทฤษฎแี ละไมใ่ ชท่ ฤษฎี คอื การจำ� แนก
  ข้อมูลที่จะวิเคราะห์ตามความเหมาะสมกับข้อมูล 3) การเปรียบเทียบข้อมูล (constant comparative
   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87