Page 80 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 80

3-70 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา

         2.	 การเตรยี มตวั เขา้ สสู่ นามวจิ ยั ของผวู้ จิ ยั ผู้วิจัยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสังเกต
  แบบมสี ว่ นรว่ มและไมม่ สี ่วนร่วม การสมั ภาษณ์อยา่ งเปน็ ทางการและการสัมภาษณอ์ ยา่ งไม่เปน็ ทางการ
  การสนทนากลุ่ม และการวิเคราะห์เอกสาร การท�ำความเข้าใจวิธีการ ข้ันตอนและประเด็นในการเก็บ
  รวบรวมข้อมูล เตรียมรายละเอียดต่าง ๆ ในการด�ำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล เช่น แบบบันทึกการ
  สัมภาษณ์ แบบบันทึกเอกสาร แบบบันทึกการสังเกต เป็นต้น จากนั้นจัดเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บ
  รวบรวมข้อมูลภาคสนาม ได้แก่ สมุดบันทึก เครื่องบันทึกเสียง คอมพิวเตอร์พกพา (computer note-
  book) กล้องถ่ายรูป และของท่ีระลึกท่ีจะมอบให้แก่โรงเรียน ส�ำหรับบริบทที่ใช้ในการวิจัย ผู้วิจัยได้
  ติดต่อประสานงานกับทางโรงเรียนเพื่อขอความร่วมมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล

         3.	 การเลือกกรณีศึกษา ผู้วิจัยได้ขอค�ำปรึกษาในการคัดเลือกกรณีศึกษาจากศึกษานิเทศก์ใน
  พื้นที่ของกรณีศึกษาเอง เนื่องจากเป็นผู้ท่ีมีบทบาทหน้าท่ีในการดูแลโรงเรียนในสังกัด และได้ท�ำการ
  คัดเลือกกรณีศึกษาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) ได้กรณีศึกษาคือ โรงเรียน
  ในเมืองวิทยา (นามสมมติ) เป็นโรงเรียนในระดับประถมศึกษา สังกัดส�ำนักงานเขตพื้นท่ีการศึกษา
  พิษณุโลก เขต 1 และโรงเรียนทอฝันวิทยา (นามสมมติ) เป็นโรงเรียนในระดับประถมศึกษา สังกัด
  ส�ำนักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 4 โดยก�ำหนดเกณฑ์ในการคัดเลือก

              1)	 เป็นโรงเรียนท่ีอยู่ในโครงการโรงเรียนเพ่ือนเด็ก
              2)	 เป็นโรงเรียนท่ีได้รับการยอมรับจากเขตพ้ืนที่การศึกษาว่ามีการปฏิบัติที่ดีในการ
  ด�ำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
              3)	เป็นโรงเรียนท่ีมีบุคลากรในโรงเรียนให้ความร่วมมือ เต็มใจและให้ความช่วยเหลือ
  ในการเก็บข้อมูล
         ระยะทสี่ อง เป็นการศึกษาภาคสนาม โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงท่ี 1 เป็นการเก็บข้อมูล
  ในบริบทโรงเรียนที่ 1 เป็นเวลา 4 สัปดาห์ เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพท่ัวไปของพื้นท่ีกรณีศึกษา
  ได้แก่ สภาพท่ัวไปของชุมชนที่บริบทต้ังอยู่ สภาพทั่วไปของโรงเรียน ครู นักเรียน การจัดการเรียน
  การสอน การด�ำเนินงานต่าง ๆ ของโรงเรียน ปฏิบัติงานการด�ำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
  ผลการใช้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในการพัฒนาผู้เรียน และช่วงท่ี 2 เป็นการเก็บข้อมูลในบริบท
  โรงเรียนท่ี 2 เป็นเวลา 4 สัปดาห์ เช่นเดียวกับบริบทที่ 1
         ในการเข้าสู่สนามเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยเดินทางไปส�ำรวจสถานที่ตั้งของโรงเรียนและ
  เส้นทางในการเก็บข้อมูลด้วยตนเองท้ังสองโรงเรียนก่อนเข้าสู่สนามจริง เพื่อความสะดวกในการเก็บ
  รวบรวมข้อมูลและสร้างความสัมพันธ์กับผู้ให้ข้อมูลในเบ้ืองต้น โดยผู้วิจัยเลือกเก็บข้อมูลที่โรงเรียน
  ในเมืองวิทยา อ�ำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลกก่อน เนื่องจากผู้วิจัยมีความสะดวกในการเก็บข้อมูล
  ประกอบกับผู้วิจัยมีภูมิล�ำเนาอยู่ในจังหวัดพิษณุโลกอยู่แล้ว แล้วจึงด�ำเนินการเก็บข้อมูลวิจัยในกรณี
  ศึกษาที่ 2 คือโรงเรียนทอฝันวิทยา อ�ำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้ระยะเวลาในการด�ำเนินการ
  เก็บข้อมูลโรงเรียนละ 4 สัปดาห์ การสร้างความสัมพันธ์กับผู้ให้ข้อมูล ผู้บริหารสถานศึกษา การสร้าง
  ความสัมพันธ์กับผู้บริหารสถานศึกษาน้ัน ผู้วิจัยได้ประสานงานกับผู้บริหารสถานศึกษาโดยตรงตั้งแต่
   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85