Page 76 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 76
3-66 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
และวถิ ีชีวิตของคนในชมุ ชน เพอ่ื ใหส้ ามารถปรับตัวเข้ากับคนในชุมชนได้ และสามารถทราบไดว้ า่ ผทู้ ี่ให้ขอ้ มูล
ส�ำคัญ (key informant) เป็นใคร
3.2 ขั้นแนะน�ำตัว ประกอบด้วยการบอกวัตถุประสงค์ของการวิจัยอย่างตรงไปตรงมา (ถ้าสามารถ
ท�ำได้ โดยไม่ส่งผลต่อการได้ข้อมูลที่ถูกต้อง) สาเหตุท่ีเลือกสนามน้ี ข้อมูลที่ได้จะน�ำไปท�ำอะไร ผลที่เขาจะ
ได้จากการวิจัย และขอเวลาในการให้ข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูล
3.3 ขนั้ สรา้ งความสมั พนั ธ์ อาจใช้วิธีการร่วมกิจกรรมของชุมชนอย่างเต็มใจ เพื่อสร้างความคุ้นเคย
กับชาวบ้าน แต่ต้องระวังไม่ให้เกิดความล�ำเอียงในการเก็บรวบรวมข้อมูล และการตีความหมายข้อมูล
3.4 ข้ันเริ่มท�ำงาน ประกอบด้วยการท�ำแผนที่ท้ังด้านกายภาพของชุมชน แผนท่ีเชิงประชากร เช่น
จ�ำนวนครัวเรือน จ�ำนวนสมาชิก และแผนท่ีสังคม เช่น เครือญาติ กิจกรรมทางสังคม การปกครอง แผนท่ี
เวลา เช่น เวลาที่กิจกรรมในชุมชนเกิดข้ึนเป็นประจ�ำ นอกจากน้ีต้องด�ำเนินการเลือกตัวอย่างเพื่อเลือกว่าจะ
ไปพบใครก่อน ข้อมูลที่ต้องการคืออะไร วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคืออะไร
4. การตรวจสอบความถกู ต้องของผลการศึกษา
การตีความหมายข้อมูลวิจัยเชิงคุณภาพมีความเป็นอัตนัยสูง เพราะต้องอาศัยการตีความของ
นักวิจัย ซึ่งอาจมีความคลาดเคลื่อนเน่ืองจากอคติของนักวิจัยด้วย หรือเป็นเพราะกลุ่มตัวอย่างตอบข้อมูลไม่
ชัดเจน ตีความยาก โดยทั่วไปการวิจัยเชิงคุณภาพมักเก็บข้อมูลหลาย ๆ แหล่งเพ่ือยืนยันข้อค้นพบจากการ
วิจัย และลดความคลาดเคลื่อนจากการตีความของนักวิจัย ในการนี้ นักวิจัยต้องวางแผนว่าจะใช้ข้อมูลจาก
แหล่งใดบ้าง หรือกลุ่มใดบ้าง การวางแผนเหล่านี้มีลักษณะเป็นพลวัต อาจมีการปรับเปลี่ยนได้ในขณะท�ำการ
วิจัย กล่าวคือ เม่ือมีข้อมูลไม่ชัดเจนต่อการสรุปผลการวิจัย หรือไม่เพียงพอท่ีจะสรุปความ นักวิจัยอาจเก็บ
รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มท่ีต้องการได้ข้อมูลเพ่ิมเติมได้ ซ่ึงการจะตัดสินใจว่าควรเก็บข้อมูลเพิ่มเติมหรือไม่
ข้ึนอยู่กับประสบการณ์ของนักวิจัย กระบวนการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล เรียกว่าการตรวจสอบ
สามเส้า (triangulation) ซึ่งประกอบด้วย การตรวจสอบสามเส้าด้านข้อมูล (data triangulation) โดย
พิจารณาคุณภาพของข้อมูลจากเวลาท่ีได้ข้อมูล สถานท่ี และผู้ให้ข้อมูล การตรวจสอบสามเส้าด้านผู้วิจัย
(investigator triangulation) คือ การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล เม่ือใช้นักวิจัยหลายคนเก็บข้อมูล
เดียวกัน การตรวจสอบสามเส้าด้านทฤษฎี (theory triangulation) คือ การตรวจสอบว่าถ้าเปลี่ยนแนวคิด
ทฤษฎีต่างไปจากเดิมจะท�ำให้ตีความข้อมูลต่างกันหรือไม่ และการตรวจสอบสามเส้าด้านวิธีการเก็บรวบรวม
ข้อมูล (methodological triangulation) คือ การใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลแตกต่างกัน เพ่ือใช้ตรวจสอบ
ในเรื่องเดียวกัน