Page 85 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 85
การออกแบบการวิจัย 3-75
เรือ่ งที่ 3.5.1 ความหมาย ลกั ษณะของการวจิ ยั แบบผสม และค�ำถาม
วจิ ยั แบบผสม
1. ความหมายของการวิจยั แบบผสม
การวิจัยแบบผสม (mixed methods) เป็นการบูรณาการใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative
research method) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research method) เข้าด้วยกัน เพื่อท�ำให้ได้
ผลการวิจัยท่ีมีความลึกซึ้งมากข้ึน ช่วยยืนยันผลการวิจัย และท�ำให้ตอบค�ำถามวิจัยได้ถูกต้อง ครอบคลุม
ในการวจิ ยั แบบผสมนนั้ การเกบ็ ขอ้ มลู เชงิ ปรมิ าณและขอ้ มลู เชงิ คณุ ภาพท�ำไดท้ งั้ แบบพรอ้ มกนั (concurrent
หรือ simultaneous) คือ การน�ำมารวมกัน หรือแบบต่อเน่ืองกันก็ได้ (sequential) เช่น น�ำข้อมูลประเภท
หนึ่งไปสร้างข้อมูลประเภทหน่ึง ข้ึนอยู่กับวัตถุประสงค์ของการวิจัย ถ้าเป็นการเก็บข้อมูลแบบต่อเนื่องกัน ก็
ต้องก�ำหนดว่าจะใช้วิธีการใดก่อน-หลัง ซ่ึงข้ึนกับการออกแบบการวิจัยของนักวิจัย ดังน้ัน เม่ือต้องใช้การวิจัย
แบบผสม นักวิจัยต้องก�ำหนดว่าข้อมูลประเภทใดควรเก็บก่อน ข้อมูลใดควรเก็บทีหลัง
เพราะเหตุว่า ล�ำดับข้ันตอนการเก็บข้อมูลในการวิจัยแบบผสมมีความส�ำคัญ Cresswell (2003)
จึงเสนอว่า ก่อนการใช้การวิจัยแบบผสม นักวิจัยต้องพิจารณาประเด็นต่อไปน้ี
1. ควรท�ำวิจัยเชิงปริมาณ และวิจัยเชิงคุณภาพพร้อมกันหรือไม่ หรือควรท�ำแยกกัน
2. ควรท�ำการวิจัยแบบใดก่อน แบบใดควรท�ำทีหลัง
3. จะบูรณาการการวิจัยทั้งสองแบบในขั้นตอนใดของการวิจัย
4. จะใช้กรอบทฤษฎีเพ่ือเป็นแนวทางการวิจัยหรือไม่
2. ลักษณะของการวิจยั เชิงผสม
2.1 การเลอื กลำ� ดบั ขน้ั ตอนการใชก้ ารวจิ ยั เชงิ ปรมิ าณ และการวจิ ยั เชงิ คณุ ภาพ จากท่ีได้กล่าวมาแล้ว
ว่าการวิจัยแบบผสมใช้ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพร่วมกัน การบูรณาการการใช้การวิจัย
ท้ังสองแบบอาจสรุปได้ดังโมเดลของ Stecker, McLeroy, Goodman, Bird, และ McCormick (1992)
จ�ำนวน 4 โมเดล ดังต่อไปนี้
โมเดล 1: การวิจัยเชิงคุณภาพใช้ในการสร้างเคร่ืองมือวัดส�ำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการท�ำวิจัย
เชิงคุณภาพ เพื่อให้ทราบประเด็นในการท�ำเครื่องมือส�ำหรับการวิจัยเชิงปริมาณต่อไป โมเดลการวิจัยแบบน้ี
ใช้เม่ือยังไม่มีทฤษฎีที่ชัดเจนส�ำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ