Page 90 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 90

3-80 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา

            6.3	การวเิ คราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยวธิ ีการเชงิ คณุ ภาพ ซ่ึงต้องเปล่ียนข้อมูลเชิงปริมาณให้
อยู่ในรูปของข้อมูลเชิงคุณภาพ เช่น การจัดประเภทข้อมูล หรือการแบ่งข้อมูลออกเป็นกลุ่ม ๆ ตามค่าของ
ขอ้ มลู เชงิ ปรมิ าณ เชน่ การเปลย่ี นผลการตอบแบบสอบถามเกย่ี วกบั ความสนใจในศลิ ปะทม่ี คี ำ� ถามแบบมาตร
ประมาณค่า ต้ังแต่ 1 ถึง 5 แล้วเปล่ียนคะแนนที่วัดเป็นระดับของความสนใจในศิลปะ เช่น ความสนใจระดับ
มาก ปานกลาง และน้อย

            6.4	การใชว้ ิธีการสังเกตจดั กลมุ่ คน หรือบรบิ ทต่าง ๆ ท่ีก�ำลังศึกษาออกเป็นประเภท ๆ แล้ว
เปรียบเทียบประเภทต่าง ๆ ด้วยวิธีการเชิงปริมาณ Caracelli & Green (1993) เรียกวิธีการนี้ว่า topology
development ตัวอย่างเช่น การที่นักวิจัยสังเกตการสอนของครูแล้วบันทึกพฤติกรรมของครูและจ�ำแนกครู
ออกเป็นกลุ่มที่จัดการเรียนการสอนได้ดี และกลุ่มท่ีจัดการเรียนการสอนไม่ดี จากน้ันให้ครูท้ังสองกลุ่มตอบ
แบบสอบถามเกี่ยวกับความผูกพันต่ออาชีพครู เพื่อน�ำผลการตอบแบบสอบถามมาเปรียบเทียบกันด้วยวิธี
การเชิงปริมาณ เช่น การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วยสถิติ t-test หรือการวิเคราะห์จ�ำแนก (discriminant
analysis) เปน็ ตน้ โดยสถติ สิ ำ� หรบั การวเิ คราะหข์ อ้ มลู เชงิ ปรมิ าณทเ่ี ลอื กใชไ้ ดม้ อี กี มากมาย เชน่ การวเิ คราะห์
ความแปรปรวน (ANOVA) การวิเคราะห์การถดถอย (regression) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบหลาย
ตัวแปร (MANOVA) หรือโมเดลสมการโครงสร้าง (structural equation modeling) เป็นต้น การเลือกใช้
สถิติเชิงปริมาณเหล่านี้ข้ึนอยู่กับวัตถุประสงค์ของการวิจัย การออกแบบการวิจัย และข้อมูลที่มี

            6.5	การใช้การวเิ คราะหเ์ นื้อหา (content analysis) เพ่ือสร้างกลุ่มของคุณลักษณะของตัวแปร
ของบุคคล การจัดกลุ่มสถานการณ์ท่ีศึกษา แล้วใช้การวิเคราะห์เชิงปริมาณยืนยันผลการวิเคราะห์เนื้อหา
ตัวอย่างเช่น การใช้การวิเคราะห์เนื้อหาจัดกลุ่มตัวแปร หรือสถานการณ์ต่าง ๆ ท่ีเหมือนกันไว้กลุ่มเดียวกัน
จากน้ันเก็บรวบรวมข้อมูลเก่ียวกับกลุ่มของตัวแปรท่ีจัดกลุ่มไว้ แล้วใช้สถิติยืนยันว่าตัวแปรเหล่าน้ันอยู่กลุ่ม
เดยี วกนั การวเิ คราะหค์ วามตรงเชงิ โครงสรา้ ง (construct validity) ดว้ ยการวเิ คราะหอ์ งคป์ ระกอบเชงิ ยนื ยนั
(confirmatory factor analysis) ก็จัดอยู่ภายใต้การวิเคราะห์ข้อมูลรูปแบบนี้ โดยข้ันตอนของการจัดกลุ่ม
ตวั แปรทกี่ �ำหนดดว้ ยการวเิ คราะหเ์ นอื้ หานน้ั เราเรยี กวา่ ขนั้ การระบอุ งคป์ ระกอบ (construct identification)

            6.6	การใช้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณจัดกลุ่มคน หรือบริบทต่าง ๆ ที่ก�ำลังศึกษาออก
เป็นประเภท ๆ แล้วท�ำการเปรียบเทียบกลุ่มต่าง ๆ ด้วยข้อมูลเชิงคุณภาพ ตัวอย่างเช่น การใช้การวิเคราะห์
ถดถอย (regression analysis) วิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพโรงเรียน (y) แล้วใช้ regression
residual จัดกลุ่มประเภทของโรงเรียนออกเป็นกลุ่มท่ีมีคุณภาพ (regression residual มีค่าสูงและเป็น
บวก) และกลุ่มที่ยังมีคุณภาพไม่ดี (regression residual มีค่าต�่ำและเป็นลบ) หลังจากน้ันจึงเลือกโรงเรียน
ท่ีมีคุณภาพ และคุณภาพไม่ดีมาจ�ำนวนหนึ่ง แล้วท�ำการศึกษาด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพว่าโรงเรียนท้ังสอง
กลุ่มต่างกันในมิติอะไรบ้าง

            6.7	การใช้การวิเคราะห์เชิงปริมาณจัดกลุ่มประเภทของตัวแปรหรือประเด็นที่ศึกษา แล้วใช้
การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพยืนยันผลการวิเคราะห์การจัดกลุ่ม ตัวอย่างเช่น การใช้การวิเคราะห์
องค์ประกอบ (exploratory factor analysis) จัดกลุ่มตัวแปรเก่ียวกับการจัดการเรียนการสอนของ
ครูออกเป็นกลุ่ม ๆ เช่น ผลการวิเคราะห์พบว่ามี 3 กลุ่ม หรือ 4 องค์ประกอบ คือ การจัดกิจกรรมการสอน
   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95