Page 89 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 89

การออกแบบการวิจัย 3-79

            1.5		เพื่อยืนยันผลการวิจัย
            1.6		เพื่อชดเชยจุดอ่อนของวิธีการใดวิธีการหนึ่ง
            1.7		เพื่อให้ผลวิจัยครอบคลุมปรากฏการณ์ท่ีศึกษา
       2.	 การระบกุ รอบทฤษฎี การระบุกรอบทฤษฎสี ำ� หรบั การวิจัยแบบผสมอาจท�ำได้ในสว่ นของการวจิ ัย
เชิงปริมาณ ส่วนในขั้นตอนการท�ำวิจัยเชิงคุณภาพอาจไม่จ�ำเป็นต้องมีกรอบทฤษฎี เพราะการท�ำวิจัยเชิง
คุณภาพใช้ในกรณีที่กรอบทฤษฎียังไม่ชัดเจน แต่เม่ือได้ข้อมูลจากการวิจัยเชิงคุณภาพมาแล้วนักวิจัยต้อง
อธิบายให้ได้ว่าการที่บุคคลคิดหรือท�ำพฤติกรรมใด ๆ น้ัน อธิบายได้ด้วยทฤษฎีอะไร
       3.	 การก�ำหนดปัญหาวิจัย ค�ำถามวิจัยเชิงปริมาณส่วนใหญ่เป็นค�ำถามที่สนใจการเปรียบเทียบใน
เชิงปริมาณ และต้องการอธิบายให้ชัดเจน การก�ำหนดปัญหาวิจัยส�ำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพส่วนใหญ่เป็น
ค�ำถามวิจัยที่ต้องใช้การผสมผสานวิธีการเชิงปริมาณ และคุณภาพในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้ได้ข้อมูลมา
ตอบค�ำถามวิจัย
       4.	 การเลอื กกลมุ่ ตวั อยา่ ง การเลือกกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยแบบผสมใช้ท้ังการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบ
ใช้ความน่าจะเป็น และวิธีการเลือกอย่างเจาะจง กลุ่มตัวอย่างส�ำหรับการวิจัยเชิงปริมาณต้องมีจ�ำนวนมาก
อย่างน้อย 50 คน ส่วนกลุ่มตัวอย่างจากการเลือกแบบเจาะจงมีจ�ำนวน 30 คน หรือน้อยกว่า (Plano Clark
& Creswell, 2008, p. 207)
       5.	 การเลอื กวธิ กี ารวจิ ยั นกั วจิ ยั ตอ้ งพจิ ารณาว่าจะเน้นการวิจยั เชงิ ปรมิ าณ หรอื คุณภาพ หรอื จะผสม
กันในขั้นตอนใด ซึ่งต้องเลือกให้สอดคล้องกับปัญหาวิจัย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เหมาะสมกับการวิจัย
       6.	 วธิ กี ารวเิ คราะหข์ อ้ มูล วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยแบบผสม มี 4 แบบใหญ่ ๆ คือ
            6.1	การวเิ คราะหร์ ว่ มกนั แบบคขู่ นานกนั (parallel mixed analysis) วิธีการนี้รู้จักกันในชื่อของ
การวิเคราะห์สามเส้าของแหล่งข้อมูล (triangulation) ซ่ึงเป็นวิธีการท่ีใช้กันมากท่ีสุดในการวิจัยแบบผสม
(Tashakkori & Teddlie, 2009) ในสาขาสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ ข้อมูลเชิงปริมาณ เช่น เมื่อมี
ข้อมูลจากแบบสอบถาม หรือการทดลอง นักวิจัยมักจะวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการเชิงปริมาณ เช่น ความถ่ี
ร้อยละ และค่าเฉลี่ย เป็นต้น ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการสัมภาษณ์ การประชุมกลุ่ม หรือข้อมูลจาก
แบบสอบถามปลายเปิด มักจะวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์เน้ือหา อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ข้อมูลอาจ
ด�ำเนินการวิเคราะห์ด้วยวิธีการเชิงปริมาณ และวิธีการเชิงคุณภาพพร้อม ๆ กันก็ได้ เช่น ในการสัมภาษณ์
ผู้สัมภาษณ์อาจด�ำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งสองแบบท่ีผู้ถูกสัมภาษณ์ตอบในระหว่างการสัมภาษณ์ ซึ่งเป็น
การประมวลผลโดยใช้ดุลยพินิจของผู้สัมภาษณ์ ซึ่งการที่จะสรุปผลการสัมภาษณ์ได้ถูกต้อง ต้องอาศัย
ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของผู้สัมภาษณ์มาก
            6.2	การวเิ คราะหข์ อ้ มลู เชงิ คณุ ภาพดว้ ยวธิ กี ารเชงิ ปรมิ าณ วิธีการเช่นนี้ท�ำได้โดยเปลี่ยนข้อมูล
เชิงคุณภาพให้เป็นข้อมูลเชิงปริมาณ เช่น ในการสังเกต ผู้วิจัยอาจนับความถี่ของการตอบ เหตุการณ์ท่ีเกิด
ขึ้น หรือพฤติกรรมที่แสดงออกในระหว่างการสังเกต ในขณะเดียวกันก็ประเมินความหนัก-เบา หรือความ
รุนแรงของพฤติกรรมที่สังเกตด้วย
   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94