Page 88 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 88

3-78 การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา

การวิจัยเชิงคุณภาพเพียงอย่างเดียวไม่สามารถให้ข้อมูลท่ีชัดเจน และเพียงพอส�ำหรับค�ำถามวิจัย Cresswell
และ Plano Clark (2006) กล่าวว่า ค�ำถามวิจัยที่ต้องใช้วิธีการวิจัยผสม เป็นค�ำถามวิจัยที่มีลักษณะต่อไปน้ี

       3.1		ค�ำถามวิจัยมีความซับซ้อน จ�ำเป็นต้องใช้การวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อให้
ได้ข้อมูลท่ีเพียงพอต่อการตอบปัญหาวิจัย

       3.2		ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเพ่ือสรุปผลการวิจัยให้ชัดเจน ซึ่งอาจเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ หรือการ
วิจัยเชิงคุณภาพก็ได้

       3.3		ผลการวจิ ยั เชงิ ปรมิ าณ สามารถอธบิ ายไดด้ ว้ ยการวจิ ยั เชงิ คณุ ภาพ นนั่ คอื การทำ� วจิ ยั เชงิ ปรมิ าณ
ก่อน และต่อมาท�ำการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อหาข้อมูลไปช่วยอธิบายผลการวิจัยเชิงปริมาณ

       3.4		การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นฐานในการพัฒนางานวิจัยเชิงปริมาณ น่ันคือการที่จะออกแบบการวิจัย
เชิงปริมาณได้อย่างเหมาะสมจ�ำเป็นต้องมีการศึกษาโดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพก่อน เพื่อน�ำผลท่ีได้ไป
ช่วยออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณ

              หลังจากศึกษาเนื้อหาสาระเร่อื งท่ี 3.5.1 แล้ว โปรดปฏบิ ัติกจิ กรรม 3.5.1
                      ในแนวการศกึ ษาหนว่ ยท่ี 3 ตอนท่ี 3.5 เร่อื งที่ 3.5.1

เรอ่ื งท่ี 3.5.2	 การออกแบบการวิจัยแบบผสม

       การออกแบบการวิจัยแบบผสมท�ำได้สองแบบใหญ่ ๆ คือ การออกแบบท่ีสามารถก�ำหนดล่วงหน้า
ก่อนท�ำวิจัยว่าจะใช้ท้ังการวิจัยเชิงประมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ (fixed mixed method) และการ
ออกแบบทไี่ มไ่ ดก้ ำ� หนดลว่ งหนา้ วา่ จะใชท้ งั้ การวจิ ยั เชงิ ประมาณ และการวจิ ยั เชงิ คณุ ภาพ (emergent mixed
method) แต่นักวิจัยจะทราบว่าต้องใช้การวิจัยทั้งสองแบบในระหว่างการท�ำวิจัย เพราะการวิจัยด้วยวิธีการ
ใดวิธีการหน่ึงให้ผลการวิจัยที่ไม่ชัดเจน ดังน้ัน นักวิจัยต้องเปิดใจรับการวิจัยท้ังสองประเภท ไม่ยึดติดกับ
การวิจัยเชิงปริมาณ หรือการวิจัยเชิงคุณภาพ อย่างไรก็ตาม การออกแบบการวิจัยแบบผสมมีขั้นตอนหรือ
องค์ประกอบเหมือนกับการวิจัยประเภทอ่ืน ๆ กล่าวคือ การออกแบบการวิจัยต้องท�ำสิ่งต่อไปน้ี

       1.	 การระบจุ ดุ มงุ่ หมายและความสำ� คญั จดุ มงุ่ หมายและความสำ� คญั ของการวจิ ยั แบบผสมมที ง้ั หมด
7 ประการ (Tashakkori & Teddlie, 2009) ดังต่อไปน้ี

            1.1		เพ่ือเติมหรือเพ่ิมมุมมองเก่ียวกับปรากฏการณ์ที่ศึกษา
            1.2		เพื่อท�ำให้ผลการวิจัยสมบูรณ์
            1.3		เพื่อใช้ผลของการวิจัยพัฒนางานวิจัยในขั้นต่อไป
            1.4		เพื่อขยายความเข้าใจให้กว้างข้ึน
   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93