Page 44 - การวิจัยเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
P. 44
12-34 การวิจัยเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
ตัวอย่างที่ 12.5 จากการสอบถามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง พบว่ามีความพึงพอใจต่อชุดการ
เรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย ดังน้ี
ระดบั ความพงึ พอใจ คา่ คะแนน (X) จำ�นวนคน (n) fx
มากท่ีสุด 5 60 300
มาก 4 100 400
ปานกลาง 3 30 90
น้อย 2 40 80
น้อยท่ีสุด 1 20 20
n = Sf = 250 Sfx = 890
แทนค่า X = Sfx
N
890
= 250 = 3.56
สรุปได้ว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจระดับมาก (เพราะค่าเฉล่ียมีค่ามากกว่า 3.00 ค่อนไปทาง
4.00) ข้อสงั เกต
1) การแปลค่าเฉล่ีย นักวิจัยต้องก�ำหนดเกณฑ์การแปลความหมายค่าเฉล่ีย เช่น
ค่าเฉล่ียระหว่าง 4.51-5.00 หมายถึง พึงพอใจมากที่สุด
ค่าเฉล่ียระหว่าง 3.51-4.50 หมายถึง พึงพอใจมาก
ค่าเฉลี่ยระหว่าง 2.51-3.50 หมายถึง พึงพอใจปานกลาง
ค่าเฉลี่ยระหว่าง 1.51-2.50 หมายถึง พึงพอใจน้อย
ค่าเฉลี่ยระหว่าง 1.00-1.50 หมายถึง พึงพอใจน้อยท่ีสุด
2) การแปลค่าเฉล่ียจะไม่ใช้ค�ำว่า “ส่วนใหญ่” เพราะเป็นการค�ำนวณทุกค่า นิยมแปล
ภาพรวมและแปลรายละเอียดในข้อย่อย
1.2 มัธยฐาน (Median) คือ ค่าท่ีอยู่ตรงกลางของข้อมูลเม่ือจัดเรียงข้อมูลจากน้อยไปหามาก หรือ
จากมากไปหาน้อย
ตัวอย่างเช่น ข้อมูลรายได้ของกลุ่มตัวอย่าง 5 คน ได้แก่ 30,000 20,000 15,000 10,000 8,000
บาท มัธยฐานจึงเท่ากับ 15,000 บาท (เพราะเป็นค่าท่ีอยู่ตรงกลางของข้อมูลเม่ือเรียงล�ำดับแล้ว)
กรณีที่ข้อมูลมีจ�ำนวนเป็นเลขคู่ เช่น 6 จ�ำนวน เม่ือเรียงล�ำดับข้อมูลแล้ว ค่าเฉล่ียของคู่ท่ีอยู่ตรง
กลาง คือ มัธยฐาน เช่น 1 2 3 4 5 + 4
3 2
มัธยฐานในที่น้ีจึงเท่ากับ = 3.5