Page 50 - ไทยศึกษา
P. 50

๑-40 ไทยศกึ ษา
พม่า หรือขอม ในสมัยของประวัติศาสตร์ท่คี นุ้ เคยกัน เพราะฉะน้ันเมื่อเอย่ ถงึ สังคมและวฒั นธรรมของคน
ชาตปิ กครองก็ไม่ตอ้ งรวมสังคมและวฒั นธรรมของคนชาติใตป้ กครองด้วย)

       สังคมไทยตั้งแต่สมัยปฏิรูปการปกครองของรัชกาลท่ี ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ รวมประเทศเป็น
“เอกรัฐชาติ” ยกเลิกระบบหัวเมืองประเทศราช มีการก�ำหนดปักปันเขตแดนของประเทศให้ชัดเจน และ
นบั เอาคนทง้ั หลายทอ่ี ยภู่ ายในเขตแดนทไี่ มใ่ ชค่ นตา่ งดา้ วทเี่ ขา้ มาอาศยั อยชู่ ว่ั คราว เปน็ พลเมอื งของประเทศ
เท่าเทียมกัน ข้ึนตรงต่อรัฐบาลกลางและอยู่ภายใต้กฎหมายฉบับเดียวกัน มีสิทธิและหน้าท่ีของพลเมือง
เสมอเหมือนกนั ไมว่ า่ จะมีเชอื้ สายเทอื กเขาเหล่ากอมาจากบรรพบุรุษชาตภิ าษาใด และภายหลังตอ่ มาก็มี
กฎหมายอนญุ าตใหม้ กี ารขอโอนหรอื แปลงสญั ชาตมิ าเปน็ พลเมอื งไทยได้ ถงึ แมบ้ คุ คลนนั้ เดมิ จะมเี ชอ้ื ชาติ
หรอื สญั ชาตอิ นื่ ความเปน็ พลเมอื งของประเทศชาตเิ ดยี วกนั เชน่ น้ี ทำ� ใหท้ กุ คนมฐี านะเปน็ สมาชกิ ของสงั คม
เดยี วกนั คือ สังคมระดบั ประเทศชาติ

       แตพ่ ลเมืองของประเทศชาติเดยี วกันท่ีมาจากชาติภาษา (หรอื กลุม่ ชาตพิ ันธุ์) ท่ีต่างกันนี้ถงึ จะได้
ชือ่ วา่ เปน็ “พลเมืองไทย” ไม่ต่างกันกอ็ าจรกั ษาลกั ษณะวฒั นธรรมของกลมุ่ เดมิ ไว้ ไม่เปลีย่ นแปลงมารบั
เอาลักษณะของวฒั นธรรมของกลุ่มไทยไปใชแ้ ทน เชน่ อาจรกั ษาภาษา ศาสนา และธรรมเนียมประเพณี
ของบรรพบรุ ษุ ไปใชส้ บื ตอ่ กนั มา โดยเฉพาะอยา่ งยงิ่ ในสมยั ทก่ี ลมุ่ เรานอ้ี ยหู่ า่ งไกลการสอื่ สารคมนาคม กบั
วฒั นธรรมของกลมุ่ ชาตพิ นั ธท์ุ ม่ี อี ำ� นาจบรหิ ารปกครองประเทศ พลเมอื งไทยทตี่ า่ งกลมุ่ ชาตพิ นั ธเ์ุ หลา่ นม้ี กั
อยตู่ ามจงั หวัดรอบนอก และชายแดนทกุ ภาคของประเทศ กลุ่มเหลา่ นมี้ หี ลักฐานทางประวตั ศิ าสตรแ์ สดง
ความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับวัฒนธรรมของคนชาติภาษาในประเทศเพ่ือนบ้านโดยรอบ เช่นกับกลุ่มชาติพันธุ์
มอญ กะเหรยี่ ง พมา่ เงย้ี ว (ไทยใหญ)่ ทางดา้ นตะวนั ตก ชาวเขาเผา่ ตา่ งๆ ขา่ ขมุ และลาวทางดา้ นเหนอื
กลมุ่ ลาวและเขมรทางดา้ นตะวนั ออก และกลมุ่ มลายทู างดา้ นใต้ พลเมอื งไทยตามชายแดนเหลา่ นมี้ กั รกั ษา
เอกลักษณ์วัฒนธรรมตามกลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิมของตนไว้ได้มากในสมัยท่ีการศึกษาการคมนาคมและการ
พฒั นาเศรษฐกจิ จากสว่ นกลางยงั แพร่ไปไมท่ ัว่ ถึง

       ตง้ั แตห่ ลงั สงครามโลกครงั้ ที่ ๒ (พ.ศ. ๒๔๘๒-๒๔๘๘) เปน็ ตน้ มา และในยคุ ของการพฒั นาประเทศ
ตามแผนพฒั นาเศรษฐกจิ และสงั คมแหง่ ชาติ ฉบบั ที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๐๔-๒๕๐๙) จนถงึ ปจั จบุ นั วฒั นธรรมของ
กลุ่มชาติพันธุ์ในบริเวณรอบนอกใกล้ชายแดนได้มีโอกาสสังสรรค์กับวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยใน
ภาคกลางและศูนย์กลางการบริหารปกครองของเมืองหลวงมากขึ้น แต่ก็มิได้เกิดการกลืนกลายตาม
วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยไปเสียท้ังหมด ยังมีการรักษาลักษณะวัฒนธรรมเดิมในท้องถ่ินของ
บรรพบรุ ษุ อยู่ดว้ ยตามความพอใจของเจา้ ของวัฒนธรรมน้ันๆ เอง
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55