Page 39 - ไทยศึกษา
P. 39
วรรณกรรมไทย ๙-29
วรรณกรรมเกยี่ วกบั ประเพณีและพธิ กี รรมเปน็ วรรณกรรมทมี่ ีจุดมุ่งหมายเฉพาะเพ่ือการประกอบ
พิธีต่างๆ (ยกเว้นพระราชพิธีสิบสองเดือนซ่ึงเป็นเร่ืองของการอธิบายที่มาและการประกอบพระราชพิธี
ตา่ งๆ) ดงั นน้ั จงึ ไมใ่ ชว่ รรณกรรมทจี่ ะอา่ นเพอ่ื ความเพลดิ เพลนิ แตเ่ ปน็ วรรณกรรมทเี่ หมาะแกก่ ารเรยี นรใู้ น
ดา้ นวฒั นธรรม
กิจกรรม ๙.๒.๒
ใหน้ กั ศกึ ษาสรปุ เรอื่ งวรรณกรรมทเี่ กย่ี วกบั ประเพณแี ละพธิ กี รรมตา่ งๆ จากเนอื้ หาในเรอื่ งท่ี ๙.๒.๒
แนวตอบกิจกรรม ๙.๒.๒
วรรณกรรมทเ่ี กยี่ วกบั ประเพณแี ละพธิ กี รรม เปน็ วรรณกรรมทส่ี ะทอ้ นใหเ้ หน็ ความเชอ่ื การปฏบิ ตั ิ
ตา่ งๆ ทก่ี ระทำ� เพอ่ื ความมนั่ ใจ เพอ่ื ความมสี ริ มิ งคล หรอื เพอ่ื ปอ้ งกนั ปดั เปา่ ภยนั ตราย วรรณกรรมประเภทน้ี
จงึ สรา้ งขน้ึ เพอื่ สนองความประสงคด์ งั กลา่ ว เชน่ ลลิ ติ โองการแชง่ นำ้� เปน็ วรรณกรรมทใ่ี ชใ้ นพธิ ดี ม่ื นำ้� สาบาน
ตนว่าจะซ่ือสัตย์ต่อพระมหากษัตริย์ ค�ำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างประพันธ์ขึ้นใช้ในพิธีสมโภชช้างส�ำคัญ
ตามความเชื่อที่ว่าช้างเผือกเกิดข้ึนเพราะบุญบารมีของกษัตริย์ วรรณกรรมที่ใช้กล่อมช้างน้ียังใช้อยู่ใน
ปจั จุบัน โดยแตง่ ขึ้นใหมเ่ พือ่ ช้างเชือกนนั้ ๆ โดยเฉพาะ แตใ่ ช้วิธีการประพันธ์แบบเดิม
นอกจากวรรณกรรมทแ่ี ตง่ ขน้ึ ใชใ้ นการประกอบพธิ แี ลว้ ยงั มวี รรณกรรมทอ่ี ธบิ ายความเปน็ มาและ
ใหร้ ายละเอยี ดเกยี่ วกบั พธิ กี รรม เชน่ พระราชพธิ สี บิ สองเดอื นเปน็ วรรณกรรมทใี่ หค้ วามรเู้ กยี่ วกบั พระราชพธิ ี
หรือพธิ หี ลวงทั้งสิบสองเดอื น
เร่ืองท่ี ๙.๒.๓
วรรณกรรมเชิงประวัติ
วรรณกรรมเชงิ ประวตั เิ ปน็ วรรณกรรมทมี่ สี าระเรอ่ื งราวเกยี่ วกบั เหตกุ ารณใ์ นสมยั ตา่ งๆ เปน็ แหลง่
ความรู้ทางวัฒนธรรมและสงั คมไทย วรรณกรรมประเภทนท้ี ้งั รอ้ ยแก้วและรอ้ ยกรอง วรรณกรรมบางเร่ือง
ที่แต่งด้วยคําประพันธ์ร้อยกรองมีความไพเราะอย่างย่ิง ประกอบด้วยคุณลักษณะแห่งวรรณศิลป์จัดเป็น
วรรณคดแี บบฉบับดังเชน่ ลลิ ติ ตะเลงพา่ ย เป็นต้น วรรณกรรมเชงิ ประวัตอิ าจแบ่งออกไดเ้ ป็น ๒ ประเภท
คอื ประเภทบนั ทึกและประเภทสดดุ เี กียรตคิ ณุ