Page 44 - ไทยศึกษา
P. 44
๙-34 ไทยศกึ ษา
ตอนที่ ๙.๓
วรรณกรรมแนวจรรโลงใจ
โปรดอา่ นหัวเร่อื ง แนวคิด และวัตถปุ ระสงคข์ องตอนท่ี ๙.๓ แล้วจึงศกึ ษารายละเอียดตอ่ ไป
หัวเร่ือง
๙.๓.๑ วรรณกรรมนทิ านรอ้ ยกรอง
๙.๓.๒ วรรณกรรมบทละคร
๙.๓.๓ วรรณกรรมนริ าศ
แนวคิด
๑. ว รรณกรรมแนวจรรโลงใจเป็นวรรณกรรมท่ีมุ่งให้ความบันเทิงแก่ผู้อ่าน ผู้อ่านจะได้รับ
ความเพลิดเพลินส�ำเริงอารมณ์ไปกับเรื่องราวที่สนุกสนานเร้าใจ ไม่ว่าจะเป็นเร่ืองเล่า
แบบนิทาน เร่ืองที่แต่งเพื่อแสดงละคร หรือเร่ืองบรรยายอารมณ์และความรู้สึกส่วนตัว
ของผูเ้ ขียน
๒. นิทานร้อยกรอง มีท้ังเรื่องราวในพื้นถ่ินของไทย เร่ืองนิทานชาดก นิทานต่างประเทศ
และเรื่องเล่าที่น�ำมาเล่าใหม่โดยการผสมผสานเรื่องต่างๆ เข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน
นอกจากให้ความสนุกรื่นเรงิ ใจแลว้ ผอู้ า่ นยงั ได้คตขิ ้อคดิ จากเรอ่ื ง รวมท้งั ความซาบซ้ึง
ในอรรถรสของลลี าภาษาในรอ้ ยกรองอกี ดว้ ย
๓. บ ทละครไทยมีหลายประเภท แม้จะเป็นวรรณกรรมที่สร้างข้ึนเพ่ือการแสดงละครร�ำ
ของไทยโดยเฉพาะบทละครในและบทละครนอกก็เป็นวรรณกรรมร้อยกรองที่ใช้อ่านได้
ความเพลดิ เพลนิ และไดข้ อ้ คิดต่างๆ ไดเ้ ช่นเดียวกับนิทาน
๔. น ิราศเป็นวรรณกรรมที่แสดงอารมณ์และความรู้สึกส่วนตัวของผู้ประพันธ์ นิราศสมัย
แรกๆ เต็มไปด้วยความไพเราะของโวหารท่ีร�ำพันถึงความอาลัยรัก ต่อมานิราศพัฒนา
เนื้อหาเป็นบันทึกประสบการณ์ท่ีผู้ประพันธ์ได้ผ่านพบ นิราศจึงเพ่ิมคุณค่าจากความ
สำ� เรจ็ อารมณ์เป็นแหล่งความรทู้ ่ชี วนศกึ ษาเพ่ิมขน้ึ
วัตถุประสงค์
เมือ่ ศึกษาตอนที่ ๙.๓ จบแล้ว นกั ศกึ ษาสามารถ
๑. อธบิ ายลกั ษณะ ความส�ำคญั และยกตวั อยา่ งวรรณกรรมนิทานร้อยกรองของไทยได้
๒. อธิบายและยกตัวอยา่ งวรรณกรรมบทละครประเภทต่างๆ ได้
๓. อธิบายและสรุปคุณค่าของวรรณกรรมนิราศ พร้อมทั้งยกตัวอย่างวรรณกรรมนิราศ
ของไทยได้