Page 37 - ไทยศึกษา
P. 37
วรรณกรรมไทย ๙-27
ผเู้ ชย่ี วชาญเรอ่ื งชา้ งหรอื คชกรรมเปน็ พราหมณซ์ งึ่ มคี วามรอู้ ยา่ งลกึ ซงึ้ เกยี่ วกบั ชา้ งตระกลู ตา่ งๆ วา่ มลี กั ษณะ
ให้คณุ ใหโ้ ทษอย่างไร
คําฉันทก์ ลอ่ มชา้ งแบง่ เป็น ๔ ตอน แตล่ ะตอนเรยี กวา่ “ลา” ลาที่ ๑ ขอพร ขอพรจากเทพเจ้าคือ
พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ลาท่ี ๒ เป็นการชักชวนให้ช้างออกจากป่า ลาที่ ๓ ชมเมือง
บรรยายให้ฟังว่าบ้านเมืองน่าอยู่กว่าป่า ลาท่ี ๔ เป็นลาท่ีปลอบประโลมช้างว่าอย่าดุร้าย ให้ว่าง่าย เชื่อ
และรักหมอควาญ
คําฉันท์กล่อมช้างมีหลายฉบับ ส่วนใหญ่ประพันธ์ตามแนวที่ขุนเทพกวีวางรูปแบบไว้ มีเปล่ียน
บ้างเลก็ น้อย ในสมัยหลงั ๆ เม่ือไดช้ ้างมาสู่พระบารมีก็มกี ารประพนั ธฉ์ ันทก์ ล่อมช้างนน้ั ๆ เป็นการเฉพาะ
เชน่ ฉนั ทก์ ลอ่ มชา้ งพงั ของสมเดจ็ พระสมณเจา้ กรมพระปรมานชุ ติ นโิ นรส และใน พ.ศ. ๒๕๑๑ ทา่ นผหู้ ญงิ
สมโรจน์ สวสั ดิกลุ ณ อยุธยา ได้แตง่ ฉันท์ดษุ ฎีสงั เวยกล่อมชา้ ง และใน พ.ศ. ๒๕๒๐ สมเดจ็ พระเทพรตั น
ราชสุดาฯ สยามบรมราชกมุ ารี ไดท้ รงพระราชนิพนธ์ ฉันทด์ ษุ ฎีสงั เวยเพอ่ื กลอ่ มชา้ งพงั ช่ือพระศรีนรารฐั
ราชกิริณี
กาพย์เห่เรือ กาพย์เห่เรือฉบับท่ีไพเราะอย่างย่ิงเป็นกาพย์เห่เรือพระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศ
สันนิษฐานกันว่าบทนิพนธ์ดังกล่าวใช้สําหรับเห่เรือพระท่ีนั่งส่วนพระองค์ แบ่งเป็นบทเห่ชมเรือกระบวน
พยหุ ยาตรา เห่ชมธรรมชาติ คอื ชมปลา ชมนก ชมไม้ บทชมธรรมชาติน้ีใช้สาํ นวนนิราศคอื เม่ือพบเห็น
สง่ิ ใดกค็ ร�่ำครวญ แสดงความรกั อาลยั ถงึ นางอันเป็นท่รี กั นอกจากนีย้ ังมี เห่เร่ืองกากี บทเห่สงั วาส และ
สุดท้ายเป็นเห่ครวญ ในสมัยรัตนโกสินทร์ได้นําบทเห่ชมเรือกระบวนพยุหยาตรามาใช้ในพิธีเสด็จทาง
ชลมารค
ภาพที่ ๙.๗ กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค