Page 16 - การอ่านภาษาไทย
P. 16
๖-6 การอ่านภาษาไทย
ตัวอย่าง ข้อความในจารึกสุโขทัยหลักท่ี ๑ ที่มีลักษณะใกล้เคียงงานร้อยกรองแบบร่ายสั้น
“ในนํ้ามีปลา ในนามีข้าว เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ลู่ทาง เพื่อนจูงวัวไปค้า
ขี่ม้าไปขาย ใครใคร่ค้าช้างค้า ใครใคร่ค้าม้าค้า ใครใคร่ค้าเงินค้าทองค้า......”
ตลอดสมยั สโุ ขทยั มกี ารจารกึ ศลิ าอกี หลายหลกั และมกี ารรจนาวรรณกรรมสำ� คญั เชน่ ไตรภมู กิ ถา
พระราชนิพนธ์ของพระยาลิไท ซึ่งแต่งเป็นร้อยแก้ว แต่ก็มีลีลาท่วงท�ำนองของร้อยกรองปรากฏให้เห็น
เช่นกัน นอกจากนั้น ยังมีงานร้อยกรองช่ือ สุภาษิตพระร่วง ซ่ึงเช่ือกันว่า เป็นค�ำสอนส่วนหน่ึงท่ีพ่อขุน
รามคำ� แหงมหาราช ทรงส่ังสอนราษฎรของพระองค์
ประวัติวรรณคดีของไทย กล่าวถงึ ท่ีมาของรอ้ ยกรองไทยวา่ มมี ลู เหตเุ ดิมเริ่มแต่มลี กั ษณะฉันท์
ในภาษาสนั สกฤต ซงึ่ เปน็ ภาษาทใี่ ชก้ นั มากในวงการศาสนาและวรรณกรรมของไทยในสมยั โบราณ ตอ่ มา
มีการแปลค�ำฉันท์จากภาษาสันสกฤตเป็นภาษามคธ (บาลี) ดังท่ีพบในบทสวดมนต์ มีต�ำราร้อยกรอง
เกิดขนึ้ คือ คัมภีร์วุตโตทัย และคัมภรี ์อ่ืนๆ แล้วจึงมกี ารแปลตำ� ราดงั กลา่ วจากภาษาบาลีเปน็ ภาษาไทย
ในสมัยต่อมา กวีไทยได้คิดประดิษฐ์รูปแบบร้อยกรองต่างๆ ข้ึนโดยไม่ใช้ภาษามคธ (บาลี) จัด
เป็นประเภทต่างๆ ซงึ่ กำ� หนดขอ้ บังคับ จำ� นวนค�ำ ครุ ลหุ วรรณยกุ ต์ วรรค บาท บท สัมผสั ได้แก่ โคลง
ฉนั ท์ กาพย์ กลอน รา่ ย บทพากย์ บทเพลงต่างๆ ส�ำหรบั อ่าน สวด ขับร้อง เป็นทำ� นองตา่ งๆ กัน เพื่อ
ใชต้ ามความต้องการในการด�ำเนินชวี ติ เช่น ใช้สวดในพธิ ีกรรมตา่ งๆ และใช้สรา้ งสรรคผ์ ลงานอันเปน็ คติ
ในการด�ำรงชีวิต โดยอาศัยค�ำสอนทางศาสนา เป็นต้นว่า น�ำพุทธประวัติมาแต่งเป็นบทร้อยกรอง เช่น
มหาชาติค�ำหลวง กาพย์มหาชาติ เทศน์มหาชาติเวสสันดรชาดก ใช้เทศน์ในประเพณีเทศน์มหาชาติ ซ่ึง
เป็นประเพณีส�ำคัญในวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของไทย หรือน�ำนิทานชาดกมาแต่งเป็นบทร้อยกรอง เช่น
เสือโคค�ำฉันท์ เป็นการน�ำรูปแบบฉันท์มาแต่งด้วยภาษาไทยเป็นเรื่องแรกในสมัยสมเด็จพระนารายณ์
มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา ในระยะแรกๆ น้ัน ไม่เคร่งครัดในกฎเกณฑ์ข้อบังคับมากนัก คงต้องการแต่
อรรถรสและเนอ้ื ความ รอ้ ยกรองเรือ่ งเสือโคคำ� ฉันท์ จึงมคี รลุ หุผิดคณะฉนั ทอ์ ยู่มาก ท้ังน้ี อาจเป็นเพราะ
ภาษาไทยแท้ๆ เป็นค�ำโดด ไม่มีค�ำทเี่ ปน็ ครุลหุมากพอ ต่อมา เม่ือมีการนำ� รปู แบบร้อยกรองท่ีมีท่ีมาจาก
ภาษามคธมาใช้แพร่หลายขึ้น จึงมีการน�ำรูปศัพท์ในภาษาบาลีสันสกฤตเข้ามาใช้เป็นค�ำไทยมากขึ้น เช่น
ค�ำบาลีสนั สกฤต นยน คำ� ไทย นัยนา นัยน์ตา เปน็ ตน้
๔. ต�ำราร้อยกรอง
นักปราชญ์หรือนักวรรณคดีในอดีต ได้รวบรวมเรียบเรียงต�ำราไว้เป็นแบบแผนในการร้อยกรอง
ทสี่ �ำคญั ไดแ้ ก่
๔.๑ จินดามณี เปน็ ตำ� รารอ้ ยกรองอธบิ ายวธิ แี ตง่ กาพย์ กลอน ทเ่ี กา่ ท่ีสดุ ซง่ึ พระโหราธิบดี
แตง่ ถวายสมเด็จพระนารายณ์มหาราชในสมัยอยธุ ยา
๔.๒ ต�ำราฉันท์วรรณพฤติ มาตราพฤติ และกาพย์สารวิลาสินี พระบาทสมเด็จพระน่ังเกล้า
เจา้ อยหู่ วั รชั กาลที่ ๓ แหง่ กรงุ รตั นโกสนิ ทร์ อาราธนาสมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระปรมานชุ ติ ชโิ นรส