Page 97 - ภาษาถิ่นและวรรณกรรมท้องถิ่นไทย
P. 97

วรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ 10-87
  แล้วกลายเปน็ หนิ เรยี กวา่ “เขาตงั กวน” สว่ นดวงแกว้ เมอ่ื หลน่ จากปากหนกู แ็ หลกละเอยี ดกลายเปน็
  หาดทรายแกว้ อยู่ทางทิศเหนือของแหลมสนยื่นออกไปในอ่าวสงขลาจนทุกวันนี้

           ภาพที่ 10.20 เกาะหนูและเกาะแมว หน้าแหลมสมิหลา อำ�เภอเมือง จังหวัดสงขลา

ที่มา: 	http://www.paiduaykan.com/province/south/songkhla/samila.htmlสืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2561

       ถํ้าพระขยางค์ (ขะ-หยาง) หรือพระขาหย่ัง ตั้งอยู่ที่วัดสุวรรณรัตนาราม ต�ำบลล�ำเลียง อ�ำเภอ
กระบุรี จงั หวัดระนอง มตี �ำนานเลา่ วา่ (http://www.komchadluek.net/news/lifestyle/161083)

         เม่ือปลายสมัยแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา ในขณะน้ันท้องที่อ�ำเภอกระบุรีเป็นหมู่บ้าน
  กระจัดกระจาย อยู่ในความปกครองของเมืองชุมพร มีนายแก้วธนบัตรเป็นนายบ้านดูแลปกครอง
  อยู่ นายแก้วผู้น้ีเป็นเชื้อสายของเจ้าพระยานคร ได้อพยพมาจากเมืองนครศรีธรรมราชมาตั้งบ้าน
  เรือนอยู่ท่ีดอนนาน้อย หมู่ที่ 2 ต�ำบลปากจั่น ณ ปัจจุบัน นายแก้วได้กระทองตัวหนึ่งซ่ึงสวยงาม
  มากจึงน�ำไปมอบให้เจ้าเมืองชุมพร เจ้าเมืองจึงน�ำไปถวายพระเจ้าอยู่หัว ด้วยความชอบอันนี้จึงทรง
  พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกหมู่บ้านที่นายแก้วปกครองอยู่ข้ึนเป็นหัวเมืองจัตวา เป็นเมืองหน้าด่าน
  สำ� หรบั รับศึกพม่าคกู่ บั เมอื งมลวิ ัลย์ให้ขน้ึ ต่อเมืองชมุ พรซึ่งเป็นเมอื งช้นั ตรี แล้วต้ังนายแกว้ ธนบตั ร
  เป็นท่ีพระแก้วโกรพ ให้ด�ำรงต�ำแหน่งเป็นเจ้าเมืองกระบุรีคนแรก พระแก้วโกรพมีบุตรชาย 2 คน
  ช่ือนายทองกับนายเทพ เนื่องจากพระแก้วโกรพส่งนายทองบุตรชายคนโตไปศึกษาเล่าเรียน
  ศิลปวิทยาที่ส�ำนักเมืองนครศรีธรรมราช ในระหว่างน้ีพระแก้วโกรพได้มาสร้างเมืองส�ำหรับอยู่
  อาศัย ณ บ้านค่าย หมู่บ้านท่ี 4 ต�ำบลปากจ่ัน พระแก้วโกรพได้นางจ่ันสาวรุ่นเป็นภรรยาอีกคนหนึ่ง
  คร้ันนายทองเรียนวิชาได้ส�ำเร็จแล้วก็โตเป็นหนุ่มฉกรรจ์ กลับมาช่วยบิดาดูแลการบ้านเมือง
  เพราะพระแก้วโกรพชรามากแล้ว

         ในระหว่างน้ีนายทองกับนางจ่ันแม่เลี้ยงสาวเกิดลักลอบเป็นชู้กัน ด้วยความรักลุ่มหลง
  นายทองไม่มีทางท่ีจะพรากจากรักได้ จนมีข่าวซุบซิบข้ึน นายทองเกรงว่าข่าวจะเข้าถึงหูบิดาตน
   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102