Page 31 - สารสนเทศศาสตร์เบื้องต้น
P. 31
กฎหมายและจริยธรรมสารสนเทศ 15-21
ตัวอย่างแรก เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ เช่น การน�ำชื่อตัว ชื่อสกุล
ช่ือในทางการค้า ชื่อนิติบุคคลของผู้อื่นไปใช้ ถ้าเป็นชื่อที่บ่งเฉพาะถึงตัวบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนบริษัท
ย่อมเป็นการละเมิดเครื่องหมายการค้า
ตัวอย่างท่ีสอง คำ� หรือขอ้ ความ เชน่ คำ� ว่า “อร่อย” เปน็ คำ� ที่ไมไ่ ดม้ คี วามหมายใหม่
แตอ่ ยา่ งใด แตอ่ าจน�ำมาเปน็ เครอ่ื งหมายการคา้ ทมี่ ลี กั ษณะบง่ เฉพาะกบั สนิ คา้ ได้ ดังนน้ั หากบคุ คลอน่ื ได้
น�ำคำ� ดังกลา่ วไปใช้ ย่อมถอื ว่าบคุ คลน้ันละเมิดเคร่ืองหมายการคา้
2) เป็นเครื่องหมายการค้าทไ่ี ม่มลี ักษณะต้องหา้ มตามกฎหมาย
ตัวอย่าง เคร่ืองหมายการค้าที่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย เช่น แผ่นดิน
เครอ่ื งหมายราชการ ธงพระอสิ รยิ ยศ ธงราชการ หรือธงชาติของประเทศไทย
3) ไม่เป็นเครื่องเหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าท่ีบุคคลอื่นได้
จดทะเบียนไว้แล้ว
ผู้ท่ีเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้ามีสิทธิในการใช้เคร่ืองหมายการค้า กล่าวคือ มีสิทธิแต่เพียง
ผเู้ ดยี วในอนั ทจี่ ะใชเ้ ครอ่ื งหมายการคา้ นนั้ กบั สนิ คา้ หรอื บรกิ ารทไ่ี ดจ้ ดทะเบยี นไว้ เวน้ แตจ่ ะมกี ารจดทะเบยี น
เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้านั้นให้แก่บุคคลอื่น ซ่ึงเจ้าของ
ท่ีแท้จรงิ จะตอ้ งด�ำเนนิ การตามทก่ี ฎหมายก�ำหนด เพื่อพิสูจนค์ วามเป็นเจ้าของสทิ ธิท่ีดีกว่าตอ่ ไป แตห่ าก
ในขณะนั้นไม่มีการจดทะเบียนเคร่ืองหมายการค้าน้ันให้แก่ผู้ใด เจ้าของเคร่ืองหมายการค้าสามารถแสดง
ความเป็นเจ้าของและใช้เครื่องหมายการค้าของตนได้โดยชอบธรรม และสิทธิในการขอจดทะเบียน
เครอื่ งหมายการคา้ ทต่ี นไดใ้ ชม้ าโดยสจุ รติ ไมว่ า่ จะบคุ คลอนื่ ไดจ้ ดทะเบยี นเครอ่ื งหมายการคา้ ทเ่ี หมอื นหรอื
คลา้ ยกับเครอ่ื งหมายการค้าดังกล่าวไวแ้ ลว้ รวมทั้งสิทธคิ ดั คา้ นการขอจดทะเบยี นเครอ่ื งหมายการคา้ ของ
ผู้อื่น หรือหากบุคคลอ่ืนได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้น ก็มีสิทธิขอให้เพิกถอนการจดทะเบียน
เคร่อื งหมายการค้าของผู้อ่ืน เปน็ ตน้ (มนต์ชยั วชั รบตุ ร, 2559)
ต่อมา พระราชบัญญัติเคร่ืองหมายการค้า พ.ศ. 2534 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ
เครอื่ งหมายการค้า (ฉบบั ท่ี 2) พ.ศ. 2543 ซ่งึ มีผลบงั คับใชเ้ ม่ือวันท่ี 1 มิถุนายน พ.ศ. 2543 โดยไดแ้ กไ้ ข
เพิ่มเติมบทบัญญัติเดิมหลายส่วนด้วยกัน ที่ส�ำคัญคือมีการแก้ไขบทนิยามค�ำว่า “เคร่ืองหมาย” เพื่อให้
ครอบคลุมถึงกลุ่มของสี (combination of colors) รูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุ (figurative element)
และปรับปรุงลักษณะอันเป็นสาระส�ำคัญของเครื่องหมายท่ีจะถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะ ให้ชัดเจนขึ้นว่า
หมายความรวมถึงช่อื เต็มของนติ บิ คุ คลตามกฎหมายวา่ ด้วยการน้นั นอกจากน้ี ยงั ไดป้ รบั ปรุงบทบัญญัติ
เก่ียวกับคุณสมบัติของเครื่องหมายการค้าที่ต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียน โดยให้ขยายรวมถึงเครื่องหมาย
และธงขององคก์ ารระหวา่ งประเทศทกุ องคก์ าร เครอ่ื งหมายราชการ เครอื่ งหมายควบคมุ และรบั รองคณุ ภาพ
ของสินค้าของรัฐต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ ช่ือและชื่อย่อของรัฐต่างประเทศหรือองค์การ
ระหว่างประเทศ ตราประจ�ำประมุขของรัฐต่างประเทศ ชื่อ ค�ำ ข้อความ หรือเครื่องหมายใดอันแสดงถึง
พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรอื พระราชวงศ์ สิ่งบง่ ชที้ างภูมิศาสตร์ท่ไี ดร้ บั ความค้มุ ครองตาม
กฎหมายว่าด้วยการนั้น นอกจากน้ี ยังได้กล่าวถึงหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเครื่องหมายที่มีชื่อเสียง