Page 53 - สารสนเทศศาสตร์เบื้องต้น
P. 53
กฎหมายและจรยิ ธรรมสารสนเทศ 15-43
อเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ จงึ จำ� เปน็ ตอ้ งมกี ารวางกรอบการกำ� กบั ตรวจสอบชดั เจน ตลอดจนเพอ่ื รองรบั นวตั กรรมใหม่
ทเี่ กย่ี วขอ้ งกบั การชำ� ระเงนิ พระราชบญั ญตั ฉิ บบั นมี้ ขี อบเขตบงั คบั ใชก้ บั ธรุ กจิ บรกิ ารการชำ� ระเงนิ ซงึ่ หมายถงึ
การใหบ้ รกิ ารสอ่ื การชาํ ระเงนิ หรอื ชอ่ งทางการชาํ ระเงนิ ใดๆ ไมว่ า่ จะมรี ปู รา่ งหรอื ไมม่ รี ปู รา่ ง เพอื่ ชาํ ระคา่
สินค้าหรือค่าบริการ หรือใช้เพื่อการโอนเงินหรือการทําธุรกรรมทางการเงินอื่นๆ โดยก�ำหนดให้ผู้ที่อยู่
ภายใต้การควบคุมดูแล ได้แก่ สมาชิกซ่ึงเป็นผู้ใช้บริการท่ียินยอมผูกพันตามหลักเกณฑ์ในการใช้บริการ
ระบบการชําระเงินที่มีความสําคัญ และผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับอนุญาตหรือขึ้นทะเบียน ส่วนผู้รับผิดชอบ
ในการควบคมุ ดูแล ได้แก่ ธนาคารแหง่ ประเทศไทย
5. กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
แมว้ า่ กฎหมายเกยี่ วกบั การคมุ้ ครองขอ้ มลู สว่ นบคุ คลของประเทศไทยมดี ว้ ยกนั หลายฉบบั แตไ่ มอ่ าจ
ครอบคลุมข้อมูลส่วนบุคคลได้ทุกประเภท เน่ืองจากกฎหมายเหล่านี้มีลักษณะเป็นการให้ความคุ้มครอง
แก่ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นการเฉพาะเรื่อง เช่น ข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในการครอบครองของสถาบันการเงิน
อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ. 2545 การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตาม
พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 หรือการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของลูกความตาม
พระราชบญั ญตั ทิ นายความ พ.ศ. 2528 นอกจากนก้ี ฎหมายกลางทคี่ มุ้ ครองขอ้ มลู สว่ นบคุ คล คอื พระราช-
บญั ญัตขิ ้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ก็ครอบคลมุ เฉพาะขอ้ มูลสว่ นบุคคลทีอ่ ยู่ในครอบครองของ
หน่วยงานของรัฐเทา่ นน้ั แตไ่ มค่ รอบคลมุ ถึงข้อมลู สว่ นบคุ คลทีอ่ ยู่ในมือของเอกชน
อกี ทงั้ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปจั จบุ ัน ท�ำใหม้ ีการละเมดิ ขอ้ มลู สว่ นบคุ คลไดง้ า่ ย สะดวก
และรวดเรว็ มากขน้ึ กวา่ เดมิ เปน็ อยา่ งมาก เนอ่ื งจากการจดั เกบ็ ขอ้ มลู สว่ นบคุ คลของภาครฐั และภาคเอกชน
ในปัจจุบันมักจัดเก็บในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เพราะสามารถท�ำได้ง่าย สะดวก และประหยัดค่าใช้จ่าย
มากกวา่ การจดั เกบ็ ในรปู เอกสาร ซง่ึ หากไมม่ กี ารรกั ษาความมน่ั คงปลอดภยั ของระบบคอมพวิ เตอรท์ ด่ี แี ลว้
ก็ย่อมน�ำไปสู่การละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลได้ จึงมีความจ�ำเป็นต้องมีการออกกฎหมายคุ้มครองข้อมูล
สว่ นบคุ คลขึ้นเป็นการเฉพาะ เพือ่ คมุ้ ครองขอ้ มูลส่วนบุคคลที่อยู่ในความครอบครองของหน่วยงานเอกชน
กฎหมายของกลุ่มประเทศสหภาพยโุ รป หรอื EU Directive 1995 ได้ให้ความหมายของข้อมลู
สว่ นบคุ คลไวเ้ ปน็ ประเทศแรกๆ โดยใหน้ ยิ ามความหมายของขอ้ มลู สว่ นบคุ คลวา่ “ขอ้ มลู สว่ นบคุ คล” หมายถงึ
ข้อมูลข่าวสารใดๆ อันท�ำให้ระบุตัวหรืออาจระบุตัวบุคคลของบุคคลธรรมดาได้ (เจ้าของข้อมูล) ผู้ซึ่ง
ถูกระบุตัวได้ หมายถึง บุคคลที่ถูกบ่งบอกตัวได้ท้ังทางตรงและทางอ้อม โดยการอ้างถึงเลขประจ�ำตัว
ประชาชน หรือโดยการใช้ข้อมูลเฉพาะอย่างหน่ึงอย่างใดหรือหลายอย่าง เกี่ยวกับสรีระ การท�ำงานของ
รา่ งกาย จิตใจ สภาพทางเศรษฐกจิ วฒั นธรรมหรือสังคมของผนู้ น้ั
ส่วนแนวปฏิบัติขององค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาว่าด้วยการคุ้มครองความ
เป็นอยู่ส่วนตัวและการส่งโอนข้อมูลส่วนบุคคลข้ามประเทศ ค.ศ. 1980 (OECD Guidelines on the
Protection of Privacy and Transborder Flows of Personal Data, 1980) ได้ให้นิยามไว้ว่า
“ข้อมูลส่วนบุคคล” หมายถึง ข้อมูลข่าวสารใดๆ ที่เก่ียวข้องกับตัวบุคคลธรรมดาท่ีระบุตัวหรืออาจระบุ
ตัวบุคคลได้