Page 43 - ทฤษฎีและการวิจารณ์ภาพยนตร์
P. 43
ทฤษฎภี าพยนตร์พ้นื ฐาน 2-33
นักประพันธ์ ผู้สร้างภาพยนตร์เช่นนี้สมควรได้รับการยกย่องเป็นดังนักประพันธ์ของภาพยนตร์ (film
auteur) ทีเดียว
ในปี 1954 ฟรังซัวส์ ทรุฟโฟต์ ได้เขียนบทความเร่ือง Politique des Auteurs (Policy of the
Authors) เสนอความคิดว่า ผู้สร้างภาพยนตร์ควรสร้างภาพยนตร์จากมโนภาพของตัวเองมากกว่าที่จะ
สร้างตามท่ีก�ำหนดไว้ในบทภาพยนตร์ตายตัว คนสรา้ งภาพยนตรค์ วรเปน็ คนคนเดยี วกบั คนวางแนวเรอ่ื ง
ดงั นั้นผกู้ �ำกบั ภาพยนตร์กค็ ือผปู้ ระพนั ธภ์ าพยนตรเ์ ร่อื งน้นั ๆ ของเขานั่นเอง บทความน้ีได้พัฒนามาเป็น
ทฤษฎีประพันธกร (Auteur Theory) ซึ่งถือว่าผู้ก�ำกับเป็นศิลปินผู้รับผิดชอบงานสร้างภาพยนตร์แต่ละ
เร่ืองแต่เพียงผู้เดียว ผู้ก�ำกับควรแสดงทัศนะของตัวเองต่อโลก และมีวิธีการน�ำเสนอในแบบเฉพาะตัว
ใช่ว่าพวกเขาจะพึงพอใจอยู่แค่เขียนวิจารณ์เท่าน้ัน แต่หากได้ลุกขึ้นสร้างภาพยนตร์สั้นข้ึนบ้าง
โดยชว่ ยเหลอื กันทัง้ ในดา้ นเงินทนุ และการถา่ ยท�ำ เพยี งการสรา้ งภาพยนตรเ์ ร่ืองแรกๆ ระหว่างปี 1959-
1960 ทฤษฎีของพวกเขากไ็ ด้รับการพสิ จู น์วา่ เปน็ ที่นา่ เชื่อถอื และเป็นทีย่ อมรับ กล่าวคอื ภาพยนตร์เร่ือง
Les Cousins ของชาโบร์ล ทเ่ี สนอความไมเ่ ท่าเทยี มกันระหวา่ งชีวิตในเมืองกบั ชีวิตในชนบทของฝร่ังเศส
ไดร้ บั รางวัลในเทศกาลภาพยนตรท์ เ่ี บอรล์ ิน ภาพยนตรเ์ รอ่ื ง Les Quarte cent coups (The 400 Blows)
ของทรุฟโฟต์เกี่ยวกับเด็กชายหนีออกจากบ้านจนต้องกลายเป็นขโมยและเข้าโรงเรียนดัดสันดาน ได้รับ
รางวลั ยอดเยย่ี มทเ่ี มอื งคานส์ จงึ ทำ� ใหช้ อื่ เสยี งของภาพยนตรข์ องกลมุ่ มชี อื่ เสยี งโดง่ ดงั ไปในนานาประเทศ
นอกจากนภี้ าพยนตรเ์ รอ่ื ง Hiroshima mon amour (Hiroshima my love) อนั กลา่ วถึงบาดแผลของ
สงครามในใจของสองหนุ่มสาวต่างเชื้อชาติของแรสเนส์ และ Black Orpheus ของ มาแซล กามูส์
(Marcel Camus) กไ็ ดร้ บั รางวลั ในงานนด้ี ว้ ย รวมไปถงึ ภาพยนตรเ์ รอ่ื งราวของแกง๊ ขโมยรถ A Bout de
souffle (Breathless) ของโกดาร์ด กเ็ ป็นทกี่ ลา่ วขวญั ถงึ ไปทั่ว
การที่ภาพยนตร์ของนักวิจารณ์กลุ่มนี้ได้รับรางวัลทั้งท่ีเป็นผู้ก�ำกับหน้าใหม่ที่ยังไม่เคยมีใครรู้จัก
มาก่อนนนั้ ทำ� ให้หนังสือพิมพต์ งั้ ฉายาให้พวกเขาวา่ La nouvelle vague หรือ the New Wave และเปน็
แรงกระตนุ้ ใหเ้ กดิ มผี กู้ ำ� กบั หนา้ ใหมท่ เ่ี รมิ่ สรา้ งภาพยนตรข์ น้ึ เปน็ ครง้ั แรกอกี กวา่ 150 คนในชว่ ง 5 ปตี อ่ มา
แต่สว่ นใหญไ่ ม่อาจมชี ือ่ เสยี งขนึ้ มาได้ และเลือนหายไปในท่ีสดุ ผู้ก�ำกับท่คี งอยเู่ พราะมีฝีมือกวา่ และกลาย
เปน็ จุดสนใจไปทั่วโลกก็คือผู้ก�ำกับร่นุ บุกเบิกจากวารสารการเ์ ยรส์ ดู ซีเนมา นนั่ เอง
ผู้ก�ำกับคลื่นลูกใหม่ช่ืนชมในภาพยนตร์สัจนิยมใหม่ของอิตาลี โดยเฉพาะผลงานของรอสเซลลินี
พวกเขาจงึ น�ำกล้องออกบันทึกภาพไปท่ัวนครปารสี โดยการถือกลอ้ งถา่ ย (hand-held camera) ตดิ ตาม
ตวั ละครไปยังสถานท่ีต่างๆ ตวั ละครก็ใชผ้ ้แู สดงทไ่ี มเ่ ปน็ ทร่ี ้จู ัก ทีมงานมีไม่ก่ีคน ถ่ายเปน็ ภาพยนตรเ์ งียบ
แล้วน�ำมาใสเ่ สียงทหี ลัง จงึ ทำ� งานกันไดร้ วดเร็วและใชง้ บประมาณไม่มากนัก
ความเดน่ ประการหนงึ่ ของภาพยนตรข์ องกลมุ่ คลนื่ ลกู ใหมก่ ค็ อื มอี ารมณข์ นั แปลกๆ เชน่ ในเรอ่ื ง
Shoot the Piano Player (1960) ของทรฟุ โฟต์ ตวั ละครสบถว่า ถ้าเขาโกหกขอใหแ้ ม่ของเขาตาย ชอ็ ต
ตอ่ มากจ็ ะเหน็ แมข่ องเขาลม้ พบั ลงไปจรงิ ๆ พลอ็ ตเรอ่ื งของภาพยนตรโ์ ดยทวั่ ไปมกั เกยี่ วพนั กนั โดยบงั เอญิ
ไม่เป็นไปตามกฎเกณฑ์เหตุผล เช่น ในภาพยนตร์เร่ืองเดียวกันน้ีในตอนแรกของเร่ืองเป็นการสนทนา
ระหว่างนอ้ งชายของพระเอกกับชายผหู้ น่ึงซ่งึ พบกนั โดยบังเอญิ ที่ขา้ งถนน ชายผูน้ ีเ้ ล่าถงึ ชีวิตคทู่ ม่ี ปี ัญหา
ของตนอยู่นานพอควรโดยทไี่ ม่เก่ียวกบั เรื่องราวของภาพยนตร์