Page 40 - ทฤษฎีและการวิจารณ์ภาพยนตร์
P. 40

2-30 ทฤษฎแี ละการวจิ ารณ์ภาพยนตร์

ภาพยนตร์สัจนิยมใหม่ของอิตาลี

       ค�ำว่า Neorealism (สัจนิยมใหม่) ปรากฏขึ้นครั้งแรกในข้อเขียนของนักวิจารณ์ชาวอิตาเลียน
ในราวต้นทศวรรษ 1940 ซึ่งแสดงความต้องการของกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่จะหยุดยั้งภาพยนตร์แบบเดิม ๆ
ของอิตาลีที่สร้างกันแต่เรื่องราวทางประวัติศาสตร์และเร่ืองประโลมโลกของพวกคนชั้นสูงซ่ึงล้วนแต่ดู
เสแสร้งไม่เป็นจริง รังแตจ่ ะทำ� ให้ภาพยนตร์อติ าเลียนเส่อื มลง จงึ ถงึ เวลาท่ีจะต้องสร้าง “ความจรงิ ใหม่”
(new realism) ข้ึนในภาพยนตร์เสียทีเพื่อน�ำเสนอชีวิตของคนสามัญในสังคม ความเคล่ือนไหวในการ
สร้างภาพยนตร์แนวสัจนิยมใหม่จึงได้เริ่มขึ้นเป็นปฏิกริยาต่อการท่ีอุตสาหกรรมภาพยนตร์ถูกควบคุมโดย
รฐั บาลเผดจ็ การฟาสซสิ ต์ (Fascist) โดยผสู้ รา้ งภาพยนตรข์ องกลมุ่ นมี้ คี วามรเู้ รอ่ื งศลิ ปะการสรา้ งภาพยนตร์
เปน็ อยา่ งดแี ตไ่ มม่ โี อกาสไดใ้ ชศ้ กั ยภาพอยา่ งเตม็ ที่ หลายคนไดร้ บั การฝกึ ฝนจากโรงเรยี นภาพยนตรใ์ นกรงุ
โรม หลายคนทำ� งานในโรงถา่ ยภาพยนตร์ บางคนก็ทำ� งานดา้ นละครและภาพยนตร์มาก่อนแล้ว

       ภาพยนตรแ์ นวสัจนิยมใหม่เรม่ิ สร้างขึ้นคร้ังแรกในชว่ งเวลาของสงครามโลกคร้ังท่ี 2 ในปี 1942
จากเร่ือง Ossessione โดย ลูชิโน วิสคอนติ (Luchino Visconti) และ The Chrildren Are Watching
โดย วิตโตริโอ เดอ ซิกา (Vittorio de Sica) ท่ีใช้วิธีการถ่ายท�ำจากการเฝ้าสังเกตโดยไม่มีการเสริมแต่ง
แต่ช่ือเสียงของภาพยนตร์แนวน้ีเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายในนานาประเทศเม่ือโรเบอร์โต รอสเซลลินี
(Roberto Rossellini) สร้างเรื่อง Rome Open City ขึ้นในปี 1945 ซง่ึ สรา้ งจากฟลิ ม์ ทถี่ า่ ยเกบ็ ไวแ้ ละภาพ
ท่ีถ่ายจากฉากจริงในอพาร์ตเม้นต์และท้องถนนระหว่างการยึดครองของพวกนาซี ภาพยนตร์แสดงความ
รว่ มมอื ของประชาชนในการตอ่ สกู้ บั พวกนาซี ทา้ ยทส่ี ดุ ถกู พวกนาซสี งั หารตอ่ หนา้ ตอ่ ตาเดก็ ๆ รอสเซลลนิ ี
ถ่ายท�ำจากสถานทจี่ ริง ไม่เพ่มิ ไฟถ่าย ไม่ใช้นกั แสดงอาชพี ใชก้ ารตดั ต่อนอ้ ยทส่ี ุด มกี ารใชภ้ าพขา่ วท่คี น
อ่ืนๆ ถ่ายไว้แล้วร่วมด้วย คุณภาพของภาพจึงมีความแตกต่างกัน แต่แม้ว่ารอสเซลลินีจะประสบปัญหา
จากฟิล์มที่ถ่ายเก็บไว้ ขาดอุปกรณ์ในการถ่ายท�ำ  ไม่มีงบประมาณเพียงพอ มีอุปสรรคระหว่างการสร้าง
แต่เมื่อ Rome Open City ออกฉายกลับกลายเป็นภาพยนตร์ท่ีทรงคุณค่าที่ตีแผ่ให้เห็นชีวิตของคน
อิตาเลียนตามความเป็นจริงได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นแรงบันดาลใจให้มีการสร้างภาพยนตร์ในลักษณะนี้ข้ึน
ตามมา

       เร่อื งราวของภาพยนตรแ์ นวนี้มักจะเกีย่ วข้องกับชวี ติ ของประชาชนคนเดินถนน สงคราม การต่อ
ตา้ น และภาวะหลงั สงครามทผี่ คู้ นตอ้ งประสบกบั ความยากจน การวา่ งงาน ตอ้ งประกอบอาชพี เปน็ โสเภณี
การขดู รดี ในตลาดมดื ดงั นนั้ ตวั ละครในเรอ่ื งแมก้ ระทง่ั ตวั เอกจงึ มกั เปน็ คนระดบั ลา่ ง เชน่ กรรมกร คนงาน
ในโรงงาน ชาวนา ชาวประมง เป็นต้น ท่ใี ชช้ วี ิตอยา่ งอา้ งวา้ ง โดดเดี่ยว ถูกทอดท้ิง ภาพยนตรแ์ นวนมี้ ี
อาทิ Shoeshine (1946) เกย่ี วกบั เดก็ เรร่ อ่ น 2 คนในตลาดมดื ของกรงุ โรมทตี่ อ้ งเขา้ ไปพวั พนั คดฆี าตกรรม
The Bicycle Thief (1948) เร่ืองของสองพ่อลูกท่ีตามหาจักรยานซ่ึงถูกขโมยไปแต่ไม่พบ จนพ่อต้อง
กลายเป็นขโมยไปเสียเองและถกู ประณาม และ Umberto D (1952) เร่อื งของชายชราท่ีตอ้ งตอ่ สูก้ บั ชีวิต
ตามล�ำพังไม่มีใครสนใจ ภาพยนตร์ท้ัง 3 เร่ืองเป็นผลงานของวิตโตริโอ เดอ ซิกา นอกจากนี้ก็มีเรื่อง
La Strada (1954) ของเฟเดอริโก เฟลลินี (Federico Fellini) ท่ีสะท้อนชีวิตของนักกายกรรมร่อนเร่
หาเช้ากนิ ค�่ำ เป็นต้น
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45