Page 35 - ทฤษฎีและการวิจารณ์ภาพยนตร์
P. 35
ทฤษฎภี าพยนตร์พื้นฐาน 2-25
ภาพยนตร์อาวองการ์ดของฝร่ังเศส
ภาพยนตรอ์ าวองการด์ หรอื อาจเรยี กวา่ ภาพยนตรก์ า้ วหนา้ ของฝรง่ั เศส (The French Avant-
Garde) เกิดขนึ้ ครัง้ แรกในทศวรรษ 1920 เมอื่ กลมุ่ นกั ทฤษฎภี าพยนตรข์ องฝรั่งเศส อาทิ หลุยส์ เดลลุค
(Louis Delluc) แชแมง ดูแลค (Germain Dulac) และฌอง เอิบสแตง (Jean Epstein) ได้หนั มาสร้าง
ภาพยนตรใ์ นลักษณะ “แถวหนา้ ” (avant-garde) (Hayward, 1996, p. 20) ตามอยา่ งงานศิลปะอ่นื ที่
ใช้ศัพท์ค�ำนี้ของทางการทหาร โดยนัยที่หมายถึง การเป็นแถวหน้าของภาพยนตร์บันเทิงเชิงพาณิชย์ทั้ง
หลาย
ภาพยนตร์อาวองการ์ดปฏิเสธโครงสร้างและเทคนิคการเล่าเร่ืองตามแบบฉบับของภาพยนตร์
ท่ัวไป แต่ใช้ภาษาภาพยนตร์ในรูปแบบนามธรรมมาท�ำให้เกิดความรู้สึกใหม่ในด้านจิตวิทยาต่อผู้ชมและ
เพ่ือสร้างความแปลกใหม่ข้ึนในศิลปะภาพยนตร์ ผู้ก�ำกับภาพยนตร์ใช้ภาพยนตร์เป็นเคร่ืองมือในการ
ส�ำรวจตรวจค้นลึกลงไปกว่าโลกที่พบเห็น ไม่สนใจท่ีจะบันทึกชีวิตตามความเป็นจริงแต่กลับสนใจโลก
แห่งจินตนาการอันไม่มีที่สิ้นสุด ชอบที่จะสร้างขึ้นเองมากกว่าที่จะเป็นผู้ค้นพบและเป็นผู้แนะน�ำสิ่งใหม่
มิใช่เป็นเพียงผู้แทนน�ำเสนอส่ิงต่างๆ ที่มีอยู่แล้ว เน้นการแสดงออกของอารมณ์มากกว่าการเสนออย่าง
ตรงไปตรงมา พวกเขาหลงใหลในเร่ืองท่ีเก่ียวกับสภาพแท้จริงในจิตที่ล้ีลับซับซ้อน หรือเรื่องของจิต
วญิ ญาณทมี่ องไมเ่ หน็ และมกั ใสค่ วามรสู้ กึ สว่ นตวั ทมี่ ตี อ่ ผคู้ น แนวคดิ และประสบการณต์ า่ ง ๆ แมก้ ระทงั่
ชีวประวัติของตัวเองลงในภาพยนตร์ ด้วยเหตุน้ีภาพยนตร์อาวองท์การ์ดจึงอาจคลุมเครือและดูไม่เข้าใจ
เนื่องจากความรับรู้และความรู้สึกของคนดูไม่ล�้ำลึกต้องตรงกับผู้ก�ำกับ ซ่ึงใช้ภาษาและสัญลักษณ์เฉพาะ
ของตนเอง (Giannetti, 1976, pp. 378-379)
สาเหตทุ ที่ ำ� ใหเ้ กดิ มภี าพยนตรแ์ นวนนี้ นั้ เนอื่ งมาจากความไมส่ งบและความเปลย่ี นแปลงของสภาพ
แวดล้อมทั่วไปในยุโรปหลังสงครามโลกคร้ังท่ี 1 ซ่ึงประสบปัญหาตึงเครียดทางด้านเศรษฐกิจ สังคม
การเมอื ง และวฒั นธรรม เกดิ การปฏวิ ตั แิ ละเศรษฐกจิ ตกตำ่� ไปทวั่ ยโุ รป ผคู้ นอยอู่ ยา่ งอกสนั่ ขวญั หาย ชวี ติ
ไม่แนน่ อน จารีตประเพณีต้องยอ่ หย่อนไป แต่กลบั ยอมรับความคดิ ใหมๆ่ และเปิดรบั ส่งิ ใหม่ๆ ดังนัน้ จึง
เกดิ การตอ่ ต้านภาพยนตรเ์ ชิงพาณิชย์แบบเกา่ ซำ้� ซาก เดลลุคและเอิบสแตง รวมท้ัง นักเขยี นชาวฝร่งั เศส
คนอ่ืนๆ ได้พยายามสร้างมาตรฐานความงามของภาพยนตร์โดยเห็นว่าภาพยนตร์นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับ
นักแสดง นวนิยาย และบทละคร แต่สามารถที่จะสร้างสรรค์ออกมาได้ด้วยตัวของภาพยนตร์เองซึ่ง
จ�ำเป็นท่ีศิลปินจะต้องเข้าใจธรรมชาตติของเลนส์ ฟิล์ม ความเร็ว จังหวะ ข้อจ�ำกัด และความเป็นไปได้
ของเครื่องมือต่าง ๆ ประกอบกับเป็นช่วงเวลาที่ศิลปะแนวเหนือจริงก�ำลังเฟื่องฟูในยุโรป รวมถึงมี
เครื่องมอื และเทคนิคต่างๆ ท่ีถูกมองวา่ ไมใ่ ชเ่ ป็นเพียงเคร่อื งอำ� นวยความสะดวกเทา่ นัน้ แตส่ ามารถนำ� มา
สร้างสรรค์ให้เกิดความงามรูปแบบใหม่ข้ึนได้ จึงได้เริ่มทดลองสร้างภาพยนตร์แนวแปลกไปจากเดิมข้ึน
เรียกว่า avant-garde และได้มีการก่อต้ังสมาคมและชมรมภาพยนตร์ ตลอดจนโรงภาพยนตร์ที่ฉาย
ภาพยนตรป์ ระเภทนีม้ ากมายท่ีฝรง่ั เศส ฮอลแลนด์ เยอรมนี อังกฤษ สวติ เซอรแ์ ลนด์ โปแลนด์ เบลเยย่ี ม
และทวั่ ทงั้ ทวปี ยโุ รป ซงึ่ เปน็ การพสิ จู นใ์ หเ้ หน็ วา่ มกี ลมุ่ คนดทู ใี่ หค้ วามสนใจภาพยนตรใ์ นรปู แบบทแี่ ตกตา่ ง
ไปจากเดิมอยา่ งส้ินเชิงนจ้ี ำ� นวนหน่ึง (Stauffacher, 1968, pp. 6-11)