Page 37 - ทฤษฎีและการวิจารณ์ภาพยนตร์
P. 37

ทฤษฎีภาพยนตรพ์ นื้ ฐาน 2-27

ภาพยนตร์แนวรูปแบบนิยมของโซเวียต

       ระหว่างปี 1914-1930 กลุ่มนักวิจารณ์วรรณกรรมรัสเซียที่อิงลัทธิศิลปะคอนสตรัคติวิสม์
(constructivisn) ได้สร้างสรรค์แนวศิลปะรูปแบบนิยมข้ึนเรียกว่า รัสเซียนฟอร์มอลิสต์ (Russian
Formalist) นักทฤษฎีของศิลปะรูปแบบนิยมรัสเซีย (Russian Formalism) มีความเช่ือว่างานศิลปะ
ตอ้ งยอมรบั หลกั การทแี่ ตกตา่ งหลากหลายมากกวา่ งานชนดิ อน่ื  ๆ และหนา้ ทขี่ องนกั ทฤษฎกี ค็ อื การศกึ ษา
ว่าจะสร้างงานศิลปะเพื่อให้บังเกิดผลบางอย่างได้อย่างไร นักวิจารณ์กลุ่มน้ีท�ำงานอยู่ท่ีเมืองเลนินกราด
(Leningrad) และมอสโคว์ (Moscow) ซง่ึ เปน็ ศนู ยก์ ลางการผลติ ภาพยนตรโ์ ซเวยี ตทงั้ สองเมอื ง พวกเขา
ได้เขียนวิจารณ์ภาพยนตร์ เขียนบทความเก่ียวกับทฤษฎีภาพยนตร์ และแม้กระท่ังเขียนบทภาพยนตร์
ผ้สู ร้างภาพยนตร์โซเวยี ตหลายคน รวมท้ังไอเซนสไตน์ (Eisenstein) และคูเลชอฟ (Kuleshov) ก็ได้รับ
อิทธิพลจากทฤษฎีนี้ด้วย (Thompson & Bordwell, 1994, p. 154)

       กอ่ นหนา้ นศ้ี ลิ ปะของรสั เซยี ไดร้ บั อทิ ธพิ ลจากลทั ธศิ ลิ ปะสญั ลกั ษณน์ ยิ ม (symbolism) จากตะวนั ตก
ซึ่งมีหลักส�ำคัญท่ีการแสดงความจริงภายใน ไม่ลอกเลียนแบบธรรมชาติ ไม่ใช้หลักเกณฑ์ทางทัศนีวิทยา
ยึดถือจินตนาการของความฝัน อารมณ์สะเทือนใจ และเรื่องราวล้ีลับต่างๆ เป็นจุดส�ำคัญในการท�ำงาน
(กำ� จร สนุ พงษศ์ ร,ี 2523, น. 84) นกั สญั ลกั ษณน์ ยิ มของรสั เซยี (Russian symbolist) กเ็ หน็ พอ้ งดว้ ยวา่
ศิลปะนัน้ ยืนยงไม่มีทสี่ น้ิ สุด และมอี ิสรภาพเพราะถกู สรา้ งขึ้นด้วยแรงผลักดันอนั เสรี

       ประเทศรสั เซยี เปน็ แหลง่ กำ� เนดิ ศลิ ปะนามธรรม (Abstract Art) หลายรปู แบบ อาทิ ซพุ รมี าตสิ ม์
(suprematism) คอนสตรคั ตวิ ิสม์ (constructivism) รายองนสิ ม์ (rayonism) ฯลฯ ซึ่งมีหลักสนุ ทรีภาพ
ใกล้เคียงกันท่ีเน้นการน�ำเสนอผลงานที่ไม่เลียนแบบธรรมชาติ ศิลปะควรมุ่งค้นหารูปทรงใหม่ๆ และไม่
จ�ำเป็นต้องเสนอเรื่องราวให้ดูรู้เรื่อง (อ่านเพ่ิมเติมใน ก�ำจร สุนพงษ์ศรี, 2523, น. 216-236) หลักการ
เช่นน้ียอ่ มมบี ทบาทตอ่ แนวคดิ ของศลิ ปะรสั เซียนฟอร์มอลสิ ม์ด้วยอยา่ งมิต้องสงสัย

       ศิลปินรัสเซียนฟอร์มอลิสม์ เช่น วิกตอร์ ชักโลฟสกี้ (Viktor Shklovsky) น้ันเห็นว่าศิลปะ
ไม่ควรดูคุ้นเคยกับความจริง แต่ต้องท�ำให้มันแปลก มีรูปทรงยุ่งเหยิง เพ่ิมความยากในการรับรู้และ
ยืดเวลาการรับรู้ออกไปเพ่ือให้กระบวนการหยั่งรู้ส้ินสุดในตัวของมันเอง การตัดสินความงามข้ึนอยู่กับ
ความมีอิสรภาพและการเห็นแจ้งด้วยตัวเอง ประสานความเข้าใจและจินตนาการเข้าเป็นอันหน่ึง
อนั เดียวกนั ศิลปินกลุ่มน้จี ึงเห็นวา่ งานศิลปะเกย่ี วขอ้ งกับประสบการณ์ของผูส้ งั เกตดว้ ย (Aitken, 2001,
pp. 5-9)
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42