Page 36 - ทฤษฎีและการวิจารณ์ภาพยนตร์
P. 36

2-26 ทฤษฎีและการวจิ ารณ์ภาพยนตร์
       โดยแท้จริงแล้วภาพยนตร์อาวองการ์ดผลิตโดยคนกลุ่มน้อยและเพ่ือคนดูกลุ่มน้อย มิใช่ผลิตเพื่อ

การค้าหากำ� ไร ทัง้ ไมไ่ ด้สังกัดอยู่ในอุตสาหกรรมบันเทงิ เชน่ ภาพยนตร์บนั เทงิ ทงั้ หลาย แต่เป็นภาพยนตร์
ที่ดูหลกั แหลม ตนื่ เต้น ก้าวรา้ วเป็นส่วนมาก ไม่คอ่ ยมที ี่จะดูผ่อนคลายหรือสภุ าพเรยี บง่าย แทบทงั้ เรื่อง
จะสับสนไปด้วยเทคนิคต่างๆ จนยากที่จะเข้าใจโดยเฉพาะในการชมครั้งแรก เพราะฉะนั้นการท่ีจะเข้าถึง
ภาพยนตรแ์ นวนไี้ ดค้ นดจู ะตอ้ งมวี นิ ยั มคี วามเหน็ อกเหน็ ใจ และมคี วามอดทน ผสู้ รา้ งภาพยนตรจ์ ะไมค่ ำ� นงึ
วา่ คนดจู ะรบั ไดแ้ ละยอมรบั หรอื ไม่ หากขน้ึ อยทู่ ต่ี วั เขาเทา่ นน้ั พวกเขาปฏวิ ตั วิ ฒั นธรรมการสรา้ งภาพยนตร์
แบบเดมิ แตก่ ลบั ใชเ้ ทคนคิ อยา่ งรนุ แรงสะเทอื นใจเพอื่ กระแทกใหค้ นดเู กดิ ความไมพ่ อใจ คนดมู กั ถกู กลา่ ว
ร้าย ถูกดูถูก โดนหัวเราะเยาะ เฉพาะอย่างยิ่งพวกที่ติดอยู่กับค่านิยมของชนช้ันกลางเก่าๆ ซึ่งผู้สร้าง
ภาพยนตรเ์ หน็ ว่าเป็นพวกไรป้ ระโยชน์

       เนื่องจากเป็นภาพยนตร์ท่ีไม่หวังผลก�ำไรจึงสร้างด้วยเงินทุนไม่มากนัก ถ่ายท�ำด้วยฟิล์ม 16
มลิ ลเิ มตรหรอื ไมก่ เ็ ปน็ ซปุ เปอร์ 8 มลิ ลเิ มตร และผ้สู รา้ งภาพยนตร์ท�ำงานคนเดยี วนับแต่ถ่ายท�ำจนถงึ ตัด
ตอ่ มผี ชู้ ว่ ยไมก่ คี่ น ผแู้ สดงกอ็ าจเปน็ เพอ่ื นหรอื ญาตขิ องตน ทง้ั นเ้ี พอ่ื ประหยดั คา่ ใชจ้ า่ ย จงึ เทา่ กบั เปน็ งาน
ส่วนตัวมากกว่าจะเป็นงานธุรกิจ สุนทรียภาพทั้งหมดของภาพยนตร์มาจากการตัดสินใจของผู้สร้าง
ภาพยนตรแ์ ตเ่ พยี งผเู้ ดยี ว เรอ่ื งราวทส่ี รา้ งกม็ กั เปน็ ประเภทตอ้ งหา้ มทภี่ าพยนตรอ์ นื่ ๆ ทำ� ไมไ่ ดเ้ พราะตอ้ ง
ถูกเซ็นเซอร์ เช่น เร่ืองทางการเมือง เรื่องวิตถารทางเพศ ภาพยนตร์ส่วนใหญ่จึงเป็นท่ีขุ่นเคืองใจ
สาธารณชน บางเรื่องถูกต�ำรวจยึด มีไม่ก่ีเรื่องท่ีก่อความอึกทึกครึกโครม ทว่าผู้ก�ำกับสไตล์อาวองการ์ด
กลับยนิ ดที ่ไี ด้สะทอ้ นความเลวร้ายทางศีลธรรมจรรยาออกมา

       โดยปกติภาพยนตร์อาวองการ์ดจะไม่ค่อยเล่าเร่ืองแต่พยายามแสดงความคิด อารมณ์ และ
ประสบการณ์อย่างไม่รอ้ ยเรยี งเหตกุ ารณ์ให้สมั พนั ธก์ ัน และบางทีเหตกุ ารณก์ ็ไม่เกี่ยวขอ้ งกันเลย ซึ่งเปน็
สาเหตุหนึ่งที่ท�ำให้คนดูไม่รู้เรื่อง ผู้สร้างภาพยนตร์มักให้เหตุผลว่าเป็นการสะท้อนลักษณะของสังคม
ซึ่งไม่เป็นระเบียบ ไม่สามัคคีกัน และไม่มั่นคง นอกจากน้ีในภาพยนตร์ยังเสนอภาพแบบพลิกแพลง
มากมาย สีของภาพยนตร์ก็ไม่เป็นธรรมชาติ ความยาวของเร่ืองมักไม่แน่นอน บางเร่ืองยาวเพียง 2-3
นาที บางเรอื่ งก็ยาวถึง 6-8 ชั่วโมง แตส่ ว่ นมากยาวไมเ่ กินคร่งึ ชวั่ โมง

       ถ้ามีการสร้างเป็นภาพยนตร์เสียง ภาพยนตร์อาวองการ์ดส่วนใหญ่ก็อาจท�ำเสียงไม่ประสานกับ
ภาพ นอกจากน้ีผู้สร้างภาพยนตร์บางคนก็อาจสร้างภาพยนตร์โดยไม่ใช้กล้องถ่ายท�ำแต่กลับน�ำฟิล์ม
ภาพยนตรม์ าทำ� เปน็ สอ่ื โปรง่ แสงดว้ ยการระบายสี วาดภาพ ขดู ขดี หรอื แกะสลกั แลว้ นำ� ไปฉาย ซงึ่ เทคนคิ
นเ้ี ปน็ ทนี่ ยิ มของบรรดาผสู้ รา้ งภาพยนตรท์ ม่ี พี น้ื เพมาจากการวาดภาพและการแกะสลกั ผสู้ รา้ งภาพยนตร์
บางคนใช้วิธีเจาะรูท่ีฟิล์มแล้วติดทรายติดก้อนดินลงไป ภาพยนตร์เร่ือง Mothlight (1963) ของสแตน
แบรกฮาจ (Stan Brakhage) น้ันใช้เศษปีกของตัวมอธ (moth) ดอกไม้ เมล็ดพืช และอื่นๆ ติดลงบน
ฟลิ ์ม เม่อื น�ำมาฉายจะมองเหน็ เปน็ จุดสกี ะพรบิ แวบๆ

       ภาพยนตร์อาวองการ์ดมีช่ือเรียกหลายช่ือในเวลาถัดมาคือราวทศวรรษ 1930-1940 รู้จักกันใน
ช่ือของภาพยนตร์ทดลอง (experimental film) ทศวรรษ 1950 ได้กลายเป็นส่วนหน่ึงของภาพยนตร์
อิสระ (independent cinema) ซึ่งในสหรัฐอเมริกาจะเรียกว่าภาพยนตร์ใต้ดิน (underground movie)
และราวต้นทศวรรษ 1960 ก็เป็นส่วนหนึ่งของ New American Cinema
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41