Page 30 - ทฤษฎีและการวิจารณ์ภาพยนตร์
P. 30
2-20 ทฤษฎีและการวิจารณภ์ าพยนตร์
ความรู้สึกพึงพอใจจะลดลง ดังเช่นภาพยนตร์ท่ีเสนอเร่ืองราวทางประวัติศาสตร์ย่อมไม่มีลักษณะของ
ภาพยนตร์เพราะผู้ชมรู้สึกอยู่เสมอว่าเป็นเรื่องที่แต่งข้ึนใหม่ (reconstruction) ไม่ได้เกิดขึ้นจริง โลกใน
ภาพยนตร์มีขอบเขต เพราะเลยจากจอภาพไปนั้นไม่ใช่เหตุการณ์จริงที่ต่อเน่ืองกับภาพบนจอ แต่เป็น
เหตกุ ารณ์ของโรงถ่ายท�ำภาพยนตร์เรือ่ งนตี้ า่ งหาก ภาพยนตร์ประเภทแฟนตาซกี ็เช่นกันผชู้ มกจ็ ะยิง่ ร้สู ึก
วา่ เป็นเร่ืองสร้างเสรมิ มากขึน้ และแทนที่จะสนใจดูเรื่องราวก็กลับไปสงสัยวา่ เทคนคิ พิเศษตา่ งๆ ทเ่ี หน็ นั้น
ท�ำขึน้ ไดอ้ ย่างไรเพราะไมเ่ คยเหน็ เลยในชีวติ จรงิ
ตามทฤษฎีของคราเคาเออร์ ภาพยนตร์แนวสัจนิยมไม่ได้หมายถึงภาพยนตร์ที่เลียนแบบ
(imitation) หรือบันทึก (recording) ความเป็นจริงทางกายภาพ แต่หมายถึงการถ่ายทอดเอากลับคืนมา
(redemption) ซ่ึงก็เหมือนกับไปค้นพบใหม่หรือช่วยรักษาไว้ไม่ให้ลบเลือนหายไป ภาพยนตร์แนว
สัจนิยมฉายให้เราเห็นสิ่งท่ีเราอาจมองข้ามหรือไม่ทันสังเกตเห็นในชีวิตประจ�ำวันได้เป็นอย่างดี นัก
ทฤษฎีภาพยนตร์คนอ่ืนในแนวนี้ท่ีส�ำคัญ เช่น อังเดร บาแซง (Andre Bazin) ชาวฝร่ังเศสก็มีความคิด
สอดคล้องกับคราเคาเออร์
อย่างไรก็ตาม โดยท่ีส่ือภาพยนตร์น้ันมีคุณลักษณะหลายประการทั้งในความสมจริงและการ
ปรุงแต่งรวม ๆ กันอยู่ จึงยากท่ีจะควานหาภาพยนตร์ท่ีมีลักษณะเฉพาะของทฤษฎีใดทฤษฎีหน่ึงล้วน ๆ
ได้ ตัวอย่างเช่น ภาพยนตร์เรื่อง Citizen Kane (1941) ก็ยังถูกนักทฤษฎีท้ังสองแนวกล่าวอ้างว่าเป็น
ภาพยนตร์ในแนวทฤษฎีของตน (Giannetti, 1978, pp. 416-437)
กิจกรรม 2.2.2
1. ความคิดพื้นฐานทางศิลปะของทฤษฎภี าพยนตรแ์ นวสจั นยิ มคอื อะไร
2. วธิ ีใชส้ ่ือภาพยนตร์ใหด้ ีท่สี ุดนั้นท�ำอย่างไร
3. การดัดแปลงวรรณกรรมและละครมาสร้างภาพยนตร์เป็นการสมควรหรือไม่ ตามแนวทัศนะ
ของนกั ทฤษฎีแนวสัจนยิ ม
แนวตอบกิจกรรม 2.2.2
1. ศิลปะคอื การเลยี นแบบธรรมชาติ
2. เสนอเรอ่ื งตามทเ่ี กดิ ขน้ึ เองตามธรรมชาติ ใหก้ ลอ้ งจบั ภาพชวี ติ จรงิ ทดี่ ำ� เนนิ อยอู่ ยา่ งไมใ่ หร้ ตู้ วั
เพ่ือใหไ้ ดค้ วามจริงทีส่ ุด
3. ไมส่ มควรเพราะจะกลายเปน็ ละครบนแผน่ ฟลิ ม์ มากกวา่ นอกเสยี จากวา่ เรอ่ื งราวนน้ั ดเู ปน็ จรงิ
และไม่ตอ้ งแต่งเตมิ ขนึ้ มาก