Page 42 - การวิจัยเบื้องต้นทางสารสนเทศศาสตร์
P. 42
2-32 การวิจยั เบอื้ งต้นทางสารสนเทศศาสตร์
3.2 การสร้างข้อมูลเท็จหรือการเสกสรรปั้นแต่ง (fabrication) คอื การสรา้ งแตง่ เตมิ ขอ้ มลู หรอื
ขอ้ สงั เกตทไ่ี มเ่ คยมหี รอื เกดิ ขนึ้ ในกระบวนการวจิ ยั หรอื การหลกี เลยี่ งทจี่ ะนำ� เสนอเรอื่ งตา่ งๆ ตามความเปน็ จรงิ
การปลอมแปลงข้อมูลและการสร้างข้อมูลเท็จส่งผลอย่างมากเมื่อมีการน�ำผลการวิจัยไปใช้
ส�ำนักงานคณะกรรมการวจิ ยั แห่งชาตไิ ด้ระบแุ นวทางปฏบิ ัตใิ นการเผยแพรผ่ ลงานวจิ ยั และผลงานวชิ าการ
ดังนี้ (ส�ำนักงานคณะกรรมการวจิ ัยแห่งชาต,ิ 2559, น. 8-9)
1) ในการเก็บข้อมูล ผู้วิจัยในทุกระดับต้องม่ันใจว่ากระบวนการเก็บข้อมูลท่ีใช้ในการวิจัย
จะทำ� ใหไ้ ดข้ อ้ มลู ทมี่ คี วามนา่ เชอ่ื ถอื (reliable) และถกู ตอ้ งเหมาะสม (valid) ตามมาตรฐานและจรยิ ธรรม
ในแต่ละสาขา
2) หวั หนา้ หรอื ผปู้ ระสานงานโครงการวจิ ยั จะตอ้ งใหค้ วามรเู้ กยี่ วกบั ความถกู ตอ้ งของขอ้ มลู
แก่ผู้วจิ ยั โดยพึงทำ� ตนให้เป็นแบบอย่าง และไม่เพกิ เฉยต่อการปฏบิ ัตทิ ีส่ ง่ ผลกระทบต่อความถกู ต้องหรอื
ความน่าเช่อื ถือของขอ้ มลู
3) ในกรณที ก่ี ารวจิ ยั นน้ั ทำ� ในหอ้ งทดลอง ผวู้ จิ ยั จะตอ้ งเกบ็ หลกั ฐานการไดม้ าซงึ่ ขอ้ มลู หลกั ฐาน
เหลา่ นี้ควรเกบ็ ไวใ้ นทปี่ ลอดภยั และสามารถเรยี กหาเพื่อตรวจสอบยืนยันไดเ้ มื่อจ�ำเป็น
4) การตกแต่งรูปภาพเพอื่ การน�ำเสนอผลงานวิจยั อาจท�ำได้ในขอบเขตท่ีเหมาะสม
5) ข้อมูลวิจัยทุกชนิดและเอกสารที่เก่ียวข้องควรเก็บไว้อย่างปลอดภัย ไม่ควรท�ำลายท้ิง
ถงึ แมว้ า่ งานนน้ั จะเสรจ็ และไดร้ บั การตพี มิ พไ์ ปแลว้ กต็ าม สามารถตรวจสอบไดเ้ มอื่ ตอ้ งการ ถา้ เปน็ ขอ้ มลู
อเิ ลก็ ทรอนกิ ส์กใ็ หท้ �ำขอ้ มลู ส�ำรอง (backup data) เอาไว้ดว้ ย
6) ถ้าพบเห็นพฤติกรรมที่สงสัยผู้ร่วมวิจัยอาจมีการสร้างข้อมูลหรือปลอมแปลงข้อมูล
ไมค่ วรเกบ็ ไวแ้ ต่เพียงผูเ้ ดียว ควรแจ้งผูบ้ งั คบั บญั ชาในล�ำดับช้ันตอ่ ไป
การปลอมแปลงข้อมูลและการสร้างข้อมูลเท็จเกิดข้ึนบ่อยครั้งในวงวิชาการ สาเหตุส�ำคัญท่ีท�ำให้
เกดิ การประพฤตผิ ิดดังกลา่ ว มกั จะเกดิ จากความกดดันในเรอ่ื งการมผี ลงานตีพมิ พ์ ในระยะเวลาประมาณ
2 ทศวรรษท่ีผา่ นมา ได้มีกรณีของการประพฤติผิดทางการวจิ ัยทร่ี ุนแรงมากหลายกรณี
การสร้างข้อมูลเท็จทนี่ บั เป็นคดปี ระวัตศิ าสตร์ คอื คดีดาร์ซี (Darsee) จอหน์ อาร์ ดาร์ซี (John
R. Darsee) เปน็ แพทยช์ าวอเมรกิ นั ทมี่ ผี ลงานตพี มิ พเ์ ปน็ จำ� นวนมากในวารสารวชิ าการ ในปี 1981 สถาบนั
สขุ ภาพแห่งชาติ (National Institute for Health) ประเทศสหรฐั อเมริกา ไดพ้ บหลกั ฐานว่า ข้อมลู ของ
ดาร์ซีคลาดเคลื่อนจากข้อมูลของศูนย์วิจัยอื่นๆ จึงท�ำการสอบสวน พบว่า ดาร์ซีสร้างข้อมูลที่ตนไม่เคย
ได้ท�ำการทดลอง ดารซ์ ถี กู ลงโทษไม่ใหไ้ ดร้ บั ทนุ วจิ ัยจากรฐั บาลเป็นเวลา 10 ปี และโรงพยาบาลบริกแฮม
แอนด์วีเม็น (Brigham and Women’s Hospital) ในสังกัดมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดท่ีดาร์ซีท�ำงาน
ทางมหาวิทยาลัยต้องชดใช้เงินจ�ำนวน 122,371 ดอลลาร์สหรัฐ คืนให้สถาบันสุขภาพแห่งชาติ นับเป็น
หน่วยงานแรกในประเทศสหรัฐอเมริกาที่ต้องรับผิดชอบในการชดใช้ทุนวิจัยท่ีมีการประพฤติผิดการวิจัย
(Netherlands Research Integrity Network, 2018)
การกระท�ำผิดที่กล่าวถึงกันมากอีกเรื่อง คือ กรณีของ วู ซุก หวาง (Woo Suk Hwang)
นักวิจัยด้านเซลล์ต้นก�ำเนิดหรือสเต็มเซลล์ (stem cell) ชาวเกาหลีใต้ ท่ีได้ตีพิมพ์บทความที่เป็น
ขอ้ คน้ พบใหมแ่ หวกแนวในเรอื่ งทสี่ ามารถรกั ษาโรคพารก์ นิ สนั และโรคเสอ่ื มสภาพตา่ งๆ ไดใ้ นวารสาร Science